16 มิ.ย. 2022 เวลา 00:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Starbucks เข้าตลาดหลักทรัพย์ ต้องรับมือกับอะไรบ้าง❓
ขอพาทุกท่านมาเยี่ยมชมธุรกิจของร้านกาแฟ Starbucks อีกเช่นเคย พวกเขาต้องรับมือกับอะไรบ้าง เมื่อนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เผื่อสักวันทุกท่านจะมีโอกาสได้นำธุรกิจของตนเองเข้าตลาด หรือแม้กระทั่งเรียนรู้มุมมองของธุรกิจ ในฐานะนักลงทุน กับสรุปหนังสือ รินหัวใจใส่ธุรกิจสตาร์บัคส์ (Pour Your Heart into It) บทที่ 13 Wall Street Measures a Company's Price, Not Its Value โดย Howard Schultz และ Dori Jones Yang
Pour Your Heart into It by Howard Schultz and Dori Jones Yang
ในการตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ Starbucks มีการคัดเลือกสถาบันทางการเงินที่จะทำหน้าที่นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดย Starbucks คัดเลือก สถาบันทางการเงิน ที่มีความสนใจและหลงใหลในธุรกิจเมล็ดกาแฟของ Starbucks อย่างแท้จริง ไม่ใช่มอง Starbucks เป็นเพียงธุรกิจทำกำไรให้พวกเขา
Starbucks สามารถระดมทุนขายหุ้น IPO ได้สุทธิ 29 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อถึงวันที่ Starbucks เข้าตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าในตลาดปิดขึ้นมาที่ 273 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียงแค่ 5 ปีหลังจากที่ Howard Schultz ได้เข้าซื้อหุ้นส่วนในราคาไม่เกิน 4 ล้านเหรียญสหรัฐ
📌 ข้อดีของการเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ
เมื่อมูลค่าในตลาดไม่เคยตกจากวันที่ IPO ทำให้ Starbucks มีความได้เปรียบในการระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อต่อยอดในการขยายธุรกิจ
📌 ปัญหาของการเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ
ไม่ว่าธุรกิจจะทำอะไร ก็มักเป็นที่จับตามองจากนักลงทุน เพียงแค่มีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็จะส่งผลสะท้อนอ่อนไหวไปถึงราคาในตลาด
นอกจากจะต้องเอาใจบอร์ดผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ต้องมาเอาใจนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
Starbucks ต้องเผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบจากนักวิเคราะห์ว่าราคาหุ้น Starbucks ในตลาด มีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น รวมไปถึงถูกวิจารณ์ว่า Starbucks เป็นธุรกิจฉาบฉวยที่คนจะเห่อเพียงประเดี๋ยวประด๋าวไม่นานก็เลิกสนใจ และข่าวในแง่ลบอื่นๆ ที่ส่งผลต่อราคาในตลาดหลักทรัพย์
Howard Schultz เลือกที่จะไม่สนใจคำวิจารณ์และไม่สนใจนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่โฟกัสที่แนวทางการบริหารธุรกิจในแบบที่ตนเองทำเสมอมา
สุดท้ายเมื่อความเป็นจริงไม่เป็นดังที่นักวิเคราะห์กล่าวมา ราคาหุ้นก็กลับขึ้นมาเหมือนเดิม
📍เขาได้บทเรียนว่า ราคาในตลาดหลักทรัพย์มันไม่ใช่คุณค่า มูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจนั้นๆ แต่เป็นมูลค่าจำลองจากการตัดสินของผู้อื่น(นักลงทุน) ที่อาจไม่ได้รู้ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจเลยด้วยซ้ำ
จน Howard Schultz เห็นสัจธรรมที่ว่า พอหุ้นกลับมาขึ้น ประสบความสำเร็จก็มีคนมาแสดงความยินดี รวมถึงคนที่เคยวิพากษ์วิจารณ์เสียๆหายๆ ก็มาร่วมยินดี
📍การนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เหมือนการนั่งลดไฟเหาะตีลังกาทางอารมณ์ เมื่อราคาขึ้นก็ยินดี เมื่อราคาตกก็รู้สึกว่าตนเองล้มเหลว
📍Howard Schultz ให้คำแนะนำว่า การเป็นผู้นำที่ดี จะต้องหนักแน่น เข้มแข็ง ควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือร้าย
สุดท้ายนี้ ตัวเขาเองรู้สึกเห็นอกเห็นใจเจ้าของธุรกิจที่อยากจะเติบโตเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างมาก คนที่ไม่รู้ก็คงไม่เข้าใจ เพราะขนาดเขามีธุรกิจขนาดใหญ่ยังต้องเจอปัญหาสารพัด
อ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ธุรกิจ Starbucks เป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนที่เติบโตมาจากในชุมชนแออัด ให้มีความหวังที่จะได้ลืมตาอ้าปาก ทำให้ได้รู้ว่าไม่ว่าคุณจะเติบโตมาจากสภาพแวดล้อมแบบไหน ถ้าคุณมุ่งมั่น ใฝ่ดี ไม่ย่อท้อกับคำสบประมาท ก็ประสบความสำเร็จได้
Another old saying rings true here: Be careful what you wish for. You might get it.
คำสอนที่มีมาแต่ช้านานยังคงถูกต้องชัดเจน : จงระวังในสิ่งที่ตัวคุณคาดหวัง เพราะคุณอาจจะได้ดังที่หวัง
Howard Schultz
🙏 หากสนใจความรู้ทางการเงิน การลงทุน และ การพัฒนาตนเอง อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดีๆที่ https://www.blockdit.com/wealthyreaders
#ตลาดหุ้น #IPO #หุ้นIPO #การเงิน #การลงทุน #การจัดการ #บริหาร #MBA
โฆษณา