17 มิ.ย. 2022 เวลา 15:06 • สุขภาพ
วันนี้อยากเขียนต่อในส่วนรากฟันเทียม มันยังมีต่อในส่วนวัสดุครอบฟันประกอบด้วย เพราะทั้ง 2 นี้ต้องมาพร้อมกัน มาขอลงรายละเอียดกันเลยล่ะกัน
ครอบฟัน (Crown) เป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย แตกหัก หรือได้ผ่านการรักษารากฟันมา โดยจะทำการครอบฟันซี่นั้นด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เช่น เซรามิก โลหะ ทอง หรืออาจใช้วัสดุทั้งเซเรามิกและโลหะผสมกัน และปรับสีให้มีความเป็นธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งกรณีที่ฟันหลุดไป และต้องมีการทำรากฟันเทียมด้วย การครอบฟันต้องมาแทนฟันจริง
การครอบฟันทำให้มีการใช้งานของฟันซี่นั้นมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เพื่อตกแต่งรูปร่าง และสีของฟันให้สวยงาม และยังช่วยปรับเรียงตัวของฟันได้เป็นระเบียบมากขึ้น ให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจ และมีความสุขมากขึ้น
ในส่วนนี้ขอพูดถึงปัญหาของการครอบฟันกันบ้าง ในบางรายอาจมีอาการเสียวฟันอาการนี้สามารถหายได้เอง โดยภายในเวลาไม่นาน หรืออาจรับประทานยาแก้ปวด สามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
ที่สำคัญในช่วงการจัดเตรียมครอบฟันอาจมีอาการอักเสบจากที่ครอบฟันหลวม ในบางครั้งสิ่งที่ใช้สำหรับยึดเกาะที่ครอบฟันอาจถูกล้างออกมา ทำให้ที่ครอบฟันหลวม ยังทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปและทำให้เกิด อักเสบและฟันผุได้ในที่สุด ตรงนี้ค่อนข้างน่ากลัวเลยที่เดียว
ตรงนี้เราเคยได้ยินว่ารากฟันเทียมเป็นสิ่งถาวร แต่ตรงครอบฟันที่อยู่เหนือรากฟันเทียมเนียะ อายุการใช้งาน 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ และการดูแลรักษาช่องปากร่วมด้วย หากมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง นอนกัดฟัน ชอบกัดเล็บ หรือหรือใช้ฟันเปิด ฉีกผลิตภัณฑ์อาหารอาจทำให้อายุการใช้งานลดลดได้
ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ไม่แนะนำในส่วนการทำครอบฟัน เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงแก่ทารกในครรภ์ ความเครียด มักมีผลต่อ ทารก แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถทำได้
ในส่วนของความเจ็บปวดในช่วงการทำครอบฟัน อาจมีอาการหลังครอบฟัน เช่น ปวดเหงือกรอบฟันซี่นั้น ๆ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทา อาการมักจะไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้โดยใช้เวลาไม่นาน
การดูแลรักษาครอบฟัน กรณีที่มีฟันผุและไม่ได้รื้อออกทั้งหมดของผู้ป่วย อาจจะเกิดการอักเสบขึ้นที่โพรงประสาทฟันได้ สำหรับเคสที่จัดการช่องปากไม่เรียบร้อยก่อนใส่ครอปฟัน ถ้าเคสที่ปกติ สรุปคือเรียบร้อยนั่นแหละ จะแค่มีการทำการนัดหมายเพื่อให้กลับมาตรวจเช็คทุก ๆ 6 เดือน
สามารถแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร ใช้ไหมขัดฟันได้ และควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณฟันที่ได้รับการครอบฟัน
ราคาของครอบฟัน อยู่ที่ 10,000 – 22,000 บาท อยู่ที่ความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์คลินิกหรือโรงพยาบาล
ข้อดีของการทำครอบฟัน
1.ใช้งานสะดวก ติดแน่น ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดระหว่างการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร
2.ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ฟัน ป้องกันการแตกหักของฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ รวมถึงฟันที่รักษารากฟันแล้วด้วย
3.คงทนถาวรกว่าการใช้วัสดุอุดฟันทั่วไป
4.ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ยกเว้นแต่ผู้ที่ทำสะพานฟันแบบ 3 ซี่
ข้อเสียของการทำครอบฟัน
1.จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกมากกว่าการอุดฟัน ในส่วนการกรอฟันตกแต่งเนื้อฟันมีโอกาสทำอันตรายต่อโพรงประสาทฟันได้
2.หลังจากทำครอบฟันใหม่ๆ บางรายอาจมีอาการเสียวฟันได้
3.เมื่อการเคี้ยวของแข็งมาก ครอบฟันสามารถเสียหาย หรือหลุดได้
4.ราคาสูงเมื่อเทียบกับการอุดฟัน
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำครอบฟัน
1.ครอบฟันบิ่น กรณีครอบฟันที่ทำจากวัสดุพอร์ซเลนหรือเซรามิก อาจเกิดการแตกหรือบิ่นได้ กรณีที่บิ่นเพียงเล็กน้อยอาจสามารถซ่อมแซมได้ กรณีที่เสียหายหนักทันตแพทย์อาจพิจารณานำครอบฟันออกและใส่ครอบฟันชิ้นใหม่แทน
2.ครอบฟันหลวมสำหรับตึวยึดครอบฟันอาจมีปริมาณน้อยเกินไป อาจเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ภายในได้
3.ครอบฟันหลุด อาจเกิดจากปริมาณตัวยึดติดนั้นน้อยเกินไป และเกี่ยวข้องกับการใช้งานของแต่ละคนด้วย
4.อาการแพ้ สามารถเกิดอาการแพ้โลหะหรือพอร์ซเลนได้ ในส่วนตรงนี้พบได้ค่อนข้างน้อยมาก
5.รอยดำบริเวณแนวเหงือก มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้ครอบฟันพอร์ซเลนผสมกับโลหะ
ขั้นตอนการทำครอบฟัน
1.พบทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษา ทำการเอกซเรย์ (X-rays) เพื่อตรวจดูสภาพช่องปาก ฟัน และกระดูก
2.กรอฟันซี่ที่ต้องการสวมครอบฟันทั้งด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้เหมาะสำหรับรับครอบฟัน
3.เตรียมฟันสำหรับพิมพ์ปากทำครอบฟันเพื่อส่งให้แลปทันตกรรมผลิตครอบฟันตัวจริง และเช็กสีฟันรอบข้างเพื่อนำไปผลิตครอบฟันที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยระหว่างที่รอครอบฟันตัวจริงทันตแพทย์จะใส่ครอบฟันชั่วคราวเพื่อให้สามารถใช้งานบดเคี้ยวได้ก่อน
4.เมื่อได้ครอบฟันตัวจริง ทันตแพทย์จะเอาครอบฟันชั่วคราวออก อาจให้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthetic) และทำการใส่ครอบฟันในที่สุด
5.หลังจากใช้งานประมาณ 5-7 วัน กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อ recheck
สุดท้ายชนิดของครอบฟัน
1. ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown: FMC) เช่น ทองคำ ทองคำขาว นิเกิล-โครเมียม หรือ พัลเลเดียม ฯลฯ
จุดเด่นของครอบฟันโลหะ คือความคงทนและแข็งแรงที่สุดหากเทียบกับครอบฟันชนิดอื่นๆ โอกาสแตกหรือบิ่นน้อยมาก เหมาะสำหรับใช้กับฟันกรามที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวสูง แต่ข้อเสียคือสีไม่เหมือนกันฟันธรรมชาติจึงสังเกตเห็นได้ง่ายว่ากำลังใส่ครอบฟันอยู่ และต้องกรอเนื้อฟันออกมาก
2.ครอบฟันเซรามิกล้วน(All-ceramic crown: ACC) เป็นครอบฟันที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด สามารถเลียนแบบลักษณะและสีของฟันได้หลากหลาย กรอเนื้อฟันออกน้อยกว่าครอบฟันแบบโลหะ นิยมใช้กับฟันหน้า หรือในผู้ที่แพ้โลหะ ไม่เหมาะกับผู้ที่นอนกัดฟัน หรือผู้ที่มีฟันหน้าคร่อมสบกันลึก เพราะอาจเกิดการสึกหรอ หรือบิ่นแตกได้
ครอบฟันเซรามิกล้วนสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 รูปแบบ ดังนี้
ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบแก้วเซรามิก (All-resin crown) เป็นครอบฟันที่เหมือนฟันธรรมชาติที่สุด ความแข็งแรงระดับปานกลาง เหมาะกับฟันหน้าและฟันกรามน้อย
ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบเซอร์โคเนีย (Zirconia) เป็นครอบฟันที่ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบและขึ้นรูปทั้งหมด มีความแข็งแรงและคงทนกว่าแบบแก้วเซรามิก แต่ความสวยงามน้อยกว่า ใช้ได้ทั้งฟันกรามและฟันหน้า
3. ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก (Porcelain-fused-to-metal crown: PFM) คือครอบที่ใช้โลหะเป็นโครงเพื่อสร้างความแข็งแรง จากนั้นเคลือบด้วยเซรามิก ดูคล้ายฟันธรรมชาติน้อยกว่าแบบเซรามิกล้วน เหมาะกับฟันกราม วิธีนี้จะกรอเนื้อฟันออกปานกลาง แต่มีโอกาสที่เซรามิกที่เคลือบผิวจะแตกหรือกะเทาะได้
4. ครอบฟันเรซินล้วน (All-resin crown) เหมาะกับการเป็นครอบฟันชั่วคราวระหว่างการรักษา หรือรอครอบฟันตัวจริง ทำจากวัสดุเรซินล้วนที่คล้ายกับพลาสติก มักมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับครอบฟันชนิดอื่น มีความแข็งแรงปานกลาง แต่มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าครอบฟันชนิดอื่น จึงมักใช้เป็น
5. ครอบฟันเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel Crown: SSC) เหมาะสำหรับสวมฟันน้ำนมเด็ก เพราะเมื่อฟันแท้ขึ้นมาตามธรรมชาติ ฟันน้ำนมที่สวมครอบฟันนี้ก็จะหลุดออกไปได้เอง ทำจากสแตนเลสล้วนในรูปแบบครอบฟันสำเร็จรูป ทำให้สีอาจไม่สวยงามนัก สังเกตเห็นได้ง่ายว่าสวมครอบฟันอยู่ แต่ข้อดีคือไม่ต้องไปพบทันตแพทย์หลายครั้ง
โฆษณา