19 มิ.ย. 2022 เวลา 02:12 • ความคิดเห็น
Mindset (อีกแล้ว) ศัพท์เจ้าปัญหามาจาก Carol S. Dweck นางนี่แหละเป็นผู้เริ่มต้นสร้างทฤษฎีนี้ขึ้นมา นางเป็นผู้เขียน Mindset : The New Psychology of Success ไว้ตั้งแต่ปี 1970 (ขอประทานโทษเราเองยังไม่ถือกำเนิดบนโลกใบนี้เลยค่ะ)
4
มันเกิดจากการที่นางไป Observe เด็กๆ เมื่อให้ทำงานที่ยากและท้าทาย นางพบว่า เด็กกลุ่มหนึ่งกระโดดเข้าใส่ทันทีโดยไม่ลังเล ทำได้ไม่ได้ไม่รู้ เน้นเอามันส์! ขณะที่เด็กอีกกลุ่มหนึ่ง พยายามหาแนวทางหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่ามันยาก ทำไม่ได้หรอก ไม่เห็นหนุกเลอ!
3
จากนั้น นางก็มาสรุปว่า คนเรามีความเชื่อและมุมมองต่อปัญหา 2 แบบ คือ มองแบบเติบโต กระโดดเข้าใส่ (Growth) และตายตัว หลีกเลี่ยง มันยาก ทำไม่ได้ (Fixed) แต่...คุณควรต้องไปหาอ่านให้ดีว่าทฤษฎีนี้ของนางนั้น แม้จะได้รับการกล่าวขานไปทั่ว แต่ก็ถูกนักวิจัยหลายคนตีโต้ มองต่างไปจากนางด้วยนะคะ บางคนวิจารณ์แรงว่า ทฤษฎีนี้ poor scientific integrity !! มันสุดโต่งเกินไป! มนุษย์เรามีปัจจัยซับซ้อนมากมายในชีวิต!
ไม่แปลกที่คนไทยจะเห่อเอาศัพท์แสงมาใช้กับเขา แต่ที่เรารู้สึกขุ่นเคืองใจมากคือการใช้คำนี้ เพื่อชี้ไปที่คนอื่นว่า คุณ Mindset ไม่ดีนะ! ต้องเปลี่ยน! แต่ Mindset คือชุดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเท่านั้นเอง มันไม่ใช่จะเปลี่ยนกันง่ายๆนะคะ เอาที่ไหนมาบอกว่าต้องเปลี่ยน มีวิธีเปลี่ยนด้วยหรือ??
Mindset แค่บอกว่า คนๆนี้เขามีชุดความคิดความเชื่อแบบนี้นะ มันจึงเป็นหน้าที่คุณนั่นแหละ ที่จะต้องดูว่า แล้วจะเอาเขาไปทำงานอะไร จะใช้ชีวิตร่วมกับเขาอย่างไร หรือใช้ให้ทำงานแบบไหนจึงจะเหมาะกับเขา หรือควรต้องสร้างสภาพแวดล้อมอย่างไร เพื่อให้เขาสามารถทำงานร่วมกันกับกลุ่มหรือทีมงานได้อย่างราบรื่นต่างหาก
1
จบค่ะ ขอบคุณคำถาม
โฆษณา