30 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • หนังสือ
คุณจะคิดอย่างไร ถ้ามีคนบอกคุณว่า ประสบการณ์ทำงานหลายสิบปีของคุณในฐานะผู้เชี่ยวชาญ (สาขาอะไรก็ตาม) บวกอีกหลายสิบปีก่อนในการเล่าเรียน ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้คุณมีดุลพินิจในการตัดสินที่แม่นยำ...
แล้วคุณจะคิดอย่างไรถ้าหลักฐานทางสถิติยืนยันว่า อากาศร้อน และความพ่ายแพ้ของทีมกีฬาประจำถิ่น มีผลกระทบต่อดุลพินิจผู้พิพากษาในการตัดสินโทษจำคุก และถ้าคุณเป็นหัวหน้าฝ่ายบุคคล คุณจะเชื่อไหมว่าการสัมภาษณ์งานแบบเห็นหน้ากัน คุยกันลึกซึ้งยาวนาน ไม่ทำให้คุณตัดสินใจรับคนเข้าทำงานได้แม่นยำกว่าระบบอัลกอริทึม (พูดให้ถูกต้องกว่า คือ ไม่แม่นยำเท่าอัลกอริทึม)
มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ระบบอัลกอรึทึมกคัดเลือกแม่นยำ และมีคุณภาพกว่าการคัดเลือกของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลมากประสบการณ์ พนักงานที่ถูกคัดเลือกโดยอัลกอริทึมทำผลงานเข้าตากว่า และอยู่ในตำแหน่งนานกว่าพนักงานที่คัดเลือกโดยมนุษย์ แถมอัลกอริทึมยังเลือกคนที่หลากหลายกว่าด้วย เพราะมันไม่ลำเอียงไปกับชื่อมหาวิทยาลัยดัง มันไม่ไขว้เขวไปกับผิวพรรณสะอาดสะอ้าน
จุดอ่อนสำคัญในการตัดสินของมนุษย์ จริง ๆ แล้วคือความเอนเอียงและคลื่นรบกวน คนทั่วไปมักเคยได้ยินแต่คำว่าอคติหรือความเอนเอียง ทั้งสองอย่างนี้มีความรุนแรงไม่ต่างกัน มากน้อยแล้วแต่บริบท แต่ความ “เนียน” ของมันที่ทำให้ผู้คนมักมองข้ามมันไป และนี่แหละคือจุดที่เราพลาด
ดังนั้น เราต้องผ่านด่านแรกให้ได้ ด่านแรกคือเราต้องทำใจ “ยอมรับ” ก่อนว่าดุลพินิจของเรามีคลื่นรบกวนอยู่จริง และมีมากกว่าที่เราคาดคิด ‼
ชวนอ่านเรื่องราวขอคลื่นรบกวนที่มีผลต่อการตัดสินใจโดยมนุษย์ต่อได้ที่
"Noise จุดด้อยของการตัดสินโดยมนุษย์"
แดเนียล คาห์เนมาน, โอลิวิเยร์ ซิโบนี, แคส อาร์. ซันสไตน์ เขียน
มันตา คลังบุญครอง แปล
สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO
โฆษณา