21 มิ.ย. 2022 เวลา 05:31 • การตลาด
ร้านดารูมะซูชิไม่ใช่ร้านที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์
ก่อนหน้านี้ “ยุคใหม่ฯ” ได้ลงบทความเรื่องนี้ไว้ ซึ่งก็ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าของจะหนีไปหรือปิดร้านจริงๆ ณ วันนี้คงยืนยันจากหลายสื่อได้แล้วว่าปิดจริงหนีจริง
มาดูกันว่าการที่จะเข้าไปทำธุรกิจกับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เราต้องรู้อะไรและต้องมีข้อมูลอะไรก่อนแบบง่ายๆ
โดยพิจารณาจาก
1. ชื่อเสียงและประวัติในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา
2. ระบบในการบริหารจัดการธุรกิจที่รวมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ (Franchise system)
3. มีระบบการสนับสนุนการทำการตลาดและมีการเรียกเก็บเงินส่วนนี้ด้วย (Marketing Fee)
4. มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ (Franchise Fee)
5. มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประการธุรกิจแฟรนไชส์และเป็นสมาชิกในสมาคมแฟรนไชส์ไทย
ที่มา themonkiii
1. ชื่อเสียงและประวัติในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา
เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการพิจารณา การที่ทางร้านหรือธุรกิจต่างๆเปิดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor-แฟรนไชส์ซอ) ต้องมีผลประกอบการมีชื่อเสียงและตราสินค้าที่น่าเชื่อถือก่อน เพราะผู้ที่ซื้อธุรกิจมาดำเนินการ (Franchisee-แฟรนไชส์ซี)จะทำธุรกิจให้เกิดผลกำไรได้หรือไม่ได้ก็มาจากส่วนนี้ โดยเฉพาะชื่อเสียงของเจ้าของแบรนด์ที่ต้องเป็นคนที่มีประวัติที่เป็นคนซื่อสัตย์ด้วย
2. ระบบในการบริหารจัดการธุรกิจที่รวมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ (Franchise system)
สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อแรก ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือไม่เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์กับการทำธุรกิจของตนเอง วิธีการต่างกันเยอะมากเนื่องจากมีบุคคลภายนอกที่เข้ามาเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ระบบที่ดีต้องมีตั้งแต่ระบบการอบรม ระบบการบริหารร้าน ระบบการบริหารคน ระบบการจัดการการเงินและบัญชี และอื่นๆ
ระบบของดารุมะ ซูชิ เป็นระบบที่เรียกว่าฉีกกฎเกณฑ์การทำแฟรนไชส์ไปเลย ข้อมูลจากข่าวที่เผยแพร่ออกมาพบว่าผู้ที่ซื้อธุรกิจไป ทำแค่เพียงรอรับเงินปันผล 10% จากยอดขายทั้งหมด โดยทางร้านต้องโอนเงินเข้าบัญชีเจ้าของทุกวัน ทุกอย่างเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้จัดหาให้ ทั้งวัตถุดิบทั้งพนักงาน ทุกอย่างรวมศูนย์กลางที่เจ้าของ
ระบุไปเลยว่าไม่ผ่าน เพราะมีความไม่โปร่งใสหลายส่วนในเงื่อนไขการเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ (Franchisee)
ที่มา data.creden.co
3. มีระบบการสนับสนุนการทำการตลาดและมีการเรียกเก็บเงินส่วนนี้ด้วย (Marketing Fee)
ข้อนี้ไม่มีระบุไว้เช่นกันในเงื่อนไขการเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ หากธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor) ไม่มี ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าไม่มีระบบในการทำการตลาด ที่จะทำให้เกิดการขายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน
4. มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ (Franchise Fee)
สำหรับดารุมะ ซูชิ แต่สิ่งที่ต้องฉุกคิดคือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ (Franchise Fee) ต้องไม่เกี่ยวกับค่าลงทุน เพราะเป็นรายได้ที่ต้องมาใช้ในการบริหารจัดการระบบภายในของร้าน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง ข้อนี้ไม่ชัดเจนกับการดำเนินการของดารุมะ ซูชิ
ที่มา https://www.facebook.com/Krittharawee
5. มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประการธุรกิจแฟรนไชส์และเป็นสมาชิกในสมาคมแฟรนไชส์ไทย
จากการตรวจสอบกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ thaifranchisecenter.com ไม่พบว่า ดารูมะชูชิ ได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งยังไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมแฟรนไชส์ไทยด้วย
หากธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสสูงที่ธุรกิจจะดำเนินการต่อไปได้ยาก เพราะเป็นการขายสิทธิในการนำไปเปิดร้านเท่านั้น ไม่มีระบบและหลักประกันที่ทำให้ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปมั่นใจได้เลย
ที่มา www.thaifranchisecenter.com
ถึงแม้ว่าดารุมะ ซูชิจะปิดไปแล้ว พร้อมกับมีการหอบเงินไปด้วย ผู้ที่ซื้อคูปองและผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์นี้คงทำอะไรได้ไม่มาก นอกจากจะรอผลการดำเนินการทางกฎหมาย แต่มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้เงินกลับมาไม่เต็มจำนวนหรืออาจจะไม่ได้เลย
แต่ข้อมูลข้างต้นนี้ สามารถนำไปใช้พิจารณาในการเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์รายอื่นๆได้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำ
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Modernization Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา