22 มิ.ย. 2022 เวลา 06:51 • คริปโทเคอร์เรนซี
อ่านปรากฎการณ์ > ฤดูหนาว "คริปโต" ให้บทเรียนอะไร? <
ฤดูหนาวคริปโต มาเยือน คือคำกล่าวเรียกช่วงที่บิทคอยท์กำลังผันผวน
บิทคอยน์ขาลง ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนจำนวนมาก โดยปรากฎเป็นข่าวให้เห็นทั้งในและต่างประเทศ เช่นกรณีของไทย เกิดเหตุวันรุ่น สูญเงินจากบิทคอยน์ร่วง ตัดสินใจจี้ร้านทอง
จากสถานการณ์คริปโตและปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น น่าสนใจทบทวนคำพูดและความเชื่อเกี่ยวกับคริปโต...
คำพูด/ความเชื่อ "ลงทุนคริปโตจะป้องกันเงินเฟ้อได้" สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเกิดเงินเฟ้อในตอนนี้ ธนาคารกลางหลายที่ขึ้นดอกเบี้ย คริปโตก็ไม่ได้ทำหน้าที่ดังคำกล่าว และคริปโตยังมีสภาพขาลง
คำพูด/ความเชื่อที่ว่า "คนเล่นมากขึ้นจะผันผวนน้อยลง" ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจลงทุนคริปโตมากขึ้น แต่ตอนนี้ยังผันผวนดังสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
คำพูด/ความเชื่อ "เงินคริปโตเปิดโอกาสให้คนตัวเล็กตัวน้อย เป็นเศรษฐีได้" เห็นได้ว่าคนที่ได้รับความเสียหายมาก มีโอกาสที่จะเป็นคนกลุ่มดังกล่าว ที่ลงทุนแล้วเสี่ยงหมดเนื้อหมดตัว แต่สำหรับคนมีฐานะยังสามารถไปต่อได้
และคำพูดว่า ตอนนี้แค่เป็นช่วงของฤดูหนาวคริปโต จึงอยู่ในช่วงขาลง ดังนั้นควรซื้อเก็บไว้ รอขาขึ้นใหม่ก็อาจรวยได้
ซึ่งในความเป็นจริง ราคาของคริปโตขึ้นกับความคาดหวังหมู่ ขึ้นกับความเชื่อ จึงเป็นไปได้หมด ว่าราคาจะกลับมาขึ้น หรือไม่กลับมาขึ้น หรือจะหมดฤดูหนาว และกลับมาใหม่หรือไม่
นอกจากอ่านปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังมีหนังสือทางการเงิน การลงทุนที่มีแนวคิดที่น่าสนใจ
The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน โดย Morgan Housel
หนังสือ The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน เขียน โดย Morgan Housel
ที่บอกว่า คนจะเลือกลงทุนอย่างไรและลงทุนกับอะไรนั้น ขึ้นกับประสบการณ์ของตัวเอง ดังนั้นในสถานการณ์ตอนนี้ ใครที่ติดอยู่ในฤดูหนาวคริปโตก็จะได้ประสบการณ์ และตอบได้ว่า สามารถรับผลจากความเสี่ยงนี้ได้หรือไม่
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสามารถตอบได้ด้วยตัวเองว่า ลงทุนแบบไหน แล้วนอนหลับได้สนิท
โดยหนังสือยังบอกอีกว่า ให้ระมัดระวัง คำแนะนำของกูรูดัง เพราะเขาอาจอยู่คนละสถานะกับเราทั้งทุนและความพร้อมในการรับความเสี่ยง หมายความว่า ฟังกูรูได้แต่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง เพราะรู้อะไรไม่สู้ รู้ใจตัวเอง ว่ารับความเสี่ยงได้แค่ไหน
1
Phishing for Phools: The Economics of Manipulation and Deception โดย George Akerlof and Robert J. Shiller
หนังสือเล่มที่สอง Phishing for Phools: The Economics of Manipulation and Deception โดย George Akerlof and Robert J. Shiller
พูดเรื่องการต้มตุ๋นในตลาดการเงิน ที่มีมาโดยตลอด เช่น การปกปิดข้อมูล การกระตุ้นความอยากรวยของคน และกูรูอาจมีวาระแอบแฝง เช่น ได้ปรโยชน์จากการลงทุนซื้อขาย หรือถือคริปโตไว้มาก
หนังสือ Rich Dad Poor Dad พ่อรวยสอนลูก โดย yosaki and Sharon Lechter ที่มีมา กว่า 20 ปี ชูแนวคิดให้ "เงินทำงาน" ซึ่งอาจจริงในบางแง่มุมที่ช่วยให้คนมีอิสรภาพทางการเงิน
แต่สิ่งที่จะสร้างอิสรภาพทางการเงินแท้จริง คือ ทักษะที่ติดตัวคน ที่ต้องสร้าง สะสมไว้ตลอด
ดังนั้น ควรเน้นทำงานหาเงินเป็นหลัก...นอนพักให้เงินทำงานเป็นรอง
1
และหากงานที่ทำอยู่เป็นงานไม่มั่นคง อย่าลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงมาก
นอกจากหนังสือแล้ว เรื่องคริปโตจากมุมมองความเห็นของผู้นำองค์กรระดับโลก ที่มีความเห็นแตกต่างต่อคริปโต ก็น่าสนใจ
ซึ่งคนที่ลงทุนในคริปโต มักจะบอกว่า คนที่ฉลาดอย่าง อีลอน มัสก์ ยังลงทุนในคริปโต แสดงว่าคริปโตต้องดี
แต่ในขณะเดียวกัน บิล เกตส์ กลับมองตรงข้าม คิดว่าคริปโตไม่ได้มีมูลค่าที่แท้จริง
ดังนั้น ผู้สนใจลงทุนต้องตัดสินใจเอง โดยฟังข้อมูลครบทุกด้าน
= = = = = = = = =
สรุปบทเรียนที่ได้ เมื่อฤดูหนาว "คริปโต" มาเยือน เพื่อมองไปข้างหน้า คือ
1. รู้อะไรไม่สู้...รู้ใจตน เพราะ ตัวเองจะตอบได้ดีที่สุดว่าควรลงทุนกับอะไร รับความเสี่ยงได้แค่ไหน
1
2. รู้อะไรไม่สู้...รู้ทันคน เพราะคนอื่นอาจมีวาระซ่อนเร้น
1
3. รู้อะไรไม่สู้...รู้พัฒนาตัวเอง ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้ชีวิตของตัวเอง
เพราะทักษะที่ตัวเองสร้างต่อเนื่องเท่านั้นที่จะเป็นการสร้างงาน สร้างอิสรภาพทางการเงิน ได้
1
= = = = = = = = ==
ที่มาจาก คิดยกกำลังสอง บทเรียนควรรู้...ฤดูหนาวคริปโต https://youtu.be/IEG6MJkzrAU
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
= = = = = = = = =
ติดตามผลงานล่าสุดจาก ทีดีอาร์ไอ
โฆษณา