22 มิ.ย. 2022 เวลา 17:45 • ธุรกิจ
สรุปจาก 📝WIM EP.74: “Conference” จัดงานสัมมนาอย่างไรให้โดนใจผู้ฟัง 🎪 (รับชมวิดีโอตัวเต็มได้ที่: https://bit.ly/3xOcpgv)
ซื้อบัตรงาน Creative Talk Conference 2022 ได้ที่ https://bit.ly/3OCvMQt (พิเศษ ใส่โค้ด todayinoteto เพื่อรับส่วนลด 10%)
======================
1. Conference คืออะไร
======================
[คุณโจ้]
- จริงๆ แล้ว conference เป็นหนึ่งในธุรกิจของสิ่งที่เรียกว่า MICE ซึ่งความหมายของมันคือ M - Meeting เป็นคนที่รู้จักหรือองค์กรเดียวกันนัดกันไปที่ไหนสักที, I - Incentive เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดจากการเราทำอะไรสักอย่างสำเร็จ แล้วก็เลยไปจัดทริปขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการฉลอง,
C - Convention (หรือ Conference) ไม่ได้อยู่ในองค์กรเดียวกัน แต่อาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น ประชุมสัมมนาธุรกิจเกี่ยวกับ ITและ E- Exhibition เป็นโชว์เคส ทุกคนมาขายของเต็มที่ ซึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนเรื่องนี้ก็คือ TCEB (Thailand Convention and Exhibition Bureau)
[คุณเก่ง]
- บางงานก็เรียก conference, seminar, summit แต่ละชื่อก็จะบ่งบอกถึงขนาด ไซส์ และประเภท สมมุติถ้าเป็น seminar ก็จะชัดเจนว่ามันจะเป็นงานเล็กๆ หน่อย จัดในห้องประชุม ห้อง meeting room ถ้าเริ่มเป็นลักษณะงานของงาน conference หรือ summit จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ชื่อจะเป็นตัวบ่งบอกถึงไซส์งาน บางทีพอเราจะไปงาน แล้วเราได้ยินชื่ออาจจะพอเดาได้ว่างานนี้มันเป็นยังไงและเราจะเจออะไร
[คุณโจ้]
- สมมุติบอกว่าไปงาน Mobile Expo รู้เลยว่าเขาจะไปขายของ โชว์เคส เป็นงานกว้างๆ
[คุณเก่ง]
- งาน conference จะมีหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ หนึ่ง เวทีที่ให้คนมาพูด เป็นลักษณะของแบบ keynote หนึ่งคนพูดยาวๆ แบบ panel discussion มีหลายๆ คนมาคุยกัน แล้วก็จะมีหนึ่งคนเป็นโฮส หรือเป็นแบบ fireside คล้ายๆ กับ panel discussion แต่จะเหมือนจับกลุ่มคุยกันสบายๆ อาจจะไม่มีโฮสก็ได้
สองคือส่วนของบูธและกิจกรรมต่างๆ ที่ให้คนได้ไปเดิน ดังนั้นคนที่มางาน conference ก็จะมีหลากหลายเป้าหมาย บางคนก็มาเพื่อฟังอย่างเดียว บางคนมาทำสองอย่าง แต่บางคนก็มีที่มาแล้วเน้นเดินบูธอย่างเดียว ได้รู้จักคนออกบูธ ผู้คน อันนี้ก็คือคุ้มสำหรับเขาแล้ว
[คุณโจ้]
- มีอีกรูปแบบคือ round table เป็นโต๊ะกลม ล้อมวงแล้วหาคำตอบอะไรบางอย่าง เป็นการ brainstorm มีทั้งแบบ invite มาก่อนล่วงหน้าโดนที่คนจัดงานตั้งใจเลยว่า round table จะมีใครที่มาเกี่ยวข้องบ้าง พอคุยเสร็จอาจจะเป็นการระดมสมองอะไรบางอย่าง หลังจากนั้นอาจจะมีการไปทำดำเนินการต่อ
หรือบางทีก็อาจจะเป็น debate โต้วาที เป็นบางเรื่องที่ไม่มีคำตอบ เอาคนมาลองโยนไอเดียซึ่งกันและกัน หรือ interview เป็นคนเดียวแล้วมีคนคอยป้อนคำถาม เพราะบางคนอาจจะไม่ถนัดในการพูดคนเดียว
- มีทั้งฝั่งคนเตรียมเนื้อหาและคนที่มาฟัง
- เสน่ห์ของการมาฟังงาน conference คือการมาเจอผู้คน
======================
2. คำแนะนำสำหรับการจัดงาน Conference
======================
[คุณโจ้]
- ต้องถามก่อนว่าเราสนใจเรื่องอะไร ทำไมเราถึงอยากจัด
[คุณเก่ง]
- ดูจากความสนใจของเรา เหมือนการทำธุรกิจทั่วไป เราดูในสิ่งที่เราสนใจ ดูในสิ่งที่เราถนัด แล้วก็ดูด้วยว่าสิ่งนี้มีคนที่อยากได้ พร้อมที่จะจ่ายเงินไหม การจัดงาน conference มีหลายปัจจัย แต่หลักๆ ก็จะอยู่ที่คอนเทนต์ ในงานจะมีพูดถึงเรื่องอะไร คอนเทนต์นั้นเรามีความถนัดไหม ถ้าเรารู้จักและมีความถนัด รวมถึงรู้ว่ามันมีตลาด ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แล้วก็ค่อยๆ มาขัดเกลาคอนเทนต์
- หนึ่งในคำถามที่เราถามอยู่ตลอดเวลาคือ คนที่มางาน มาแล้วได้อะไร เหมือนการทำธุรกิจ เวลาเราทำธุรกิจหรือโปรดักตัวนึงออกมา เราทำหนังสือออกมาเล่มนึง เราก็ต้องถามว่าคนซื้อ ซื้อแล้วได้อะไร เพราะเวลาคนที่ยอมที่จะจ่ายเงินให้ หรือยอมที่จะเสียเวลามางาน เขาก็ต้องถามตัวเขาเองว่าเขามาแล้วเขาได้อะไร เราก็ต้องหาคำตอบตรงนั้นให้ได้ก่อน
[คุณโจ้]
- คนที่มาก็น่าสนใจ เพราะจะไม่ได้มีแต่คนที่มาฟัง เวลาเราจัดงานที่ใหญ่ขึ้นก็จะเป็นในลักษณะของธุรกิจ ก็จะต้องมีที่มาของรายได้ทั้งสองด้านคือ ทั้งที่มาจาก audience และมาจาก brand ในรูปของสปอนเซอร์ เราก็ต้องดูสัดส่วนของแต่ละฝ่ายว่าเขาจะได้อะไรจากงานนี้
- เพราะถ้าเราทำด้วยแรง ด้วยความสนใจ แต่ว่าไม่ได้เป็นธุรกิจ ก็จะอยู่ยาวๆ ได้ยากเหมือนกัน พอถึงจุดนึงที่เราเหนื่อย เราล้า เราสามารถที่จะหยุดทำก็ได้ เพราะมันไม่ได้มี commitment ว่าเราจะต้องทำต่อไป แต่การที่มี partner ในรูปแบบที่ทำให้เราโต sustain เป็นธุรกิจ จะช่วยให้เรายืนระยะได้นาน
======================
3. วิธีการเลือกหัวข้อและผู้พูด
======================
[คุณโจ้]
- เราจะมีการ scout กันก่อน จะเปิดหูเปิดตาตลอดเวลา ผ่านสื่อต่างๆ เราก็จะคอย catch up ใน area ที่เราสนใจ จริงๆ Creative Talk จะอยู่ 3 เรื่องคือ Creative Business, Creative Living, Creative Mindset ในสามแกนนี้ คนกำลังพูดถึงสามแกนนี้ในมุมไหนอยู่บ้าง ใครเป็นคนที่พูดใน area นี้อยู่บ้าง เราก็จะ scout ทั้ง topic และ speaker อยู่เรื่อยๆ
- ขั้นตอนต่อมาก็จะเป็นการกำหนดธีมในแต่ละปี พี่เก่งก็จะเป็นกำหนดธีมในแต่ละปีว่าควรจะเป็นอะไร ซึ่งก็เกิดมาจากการที่เรา scout มาทั้งปีนี่แหละ หนังสือมีอะไรนู่นนั่นนี่ที่น่าสนใจ แล้วค่อยเข้ามาถึงขบวนการ curate เราจะ curate อะไรไม่ได้เลย ถ้าเราไม่เคย input อะไรมาเยอะมากพอ เราถึงจะรู้ว่าอะไรคือดีที่สุด
[คุณเก่ง]
- การ scout คน ต้องดูหลายอย่างด้วย สมมุติว่าปีนี้มีเรื่องเกี่ยวกับรถยนต์ EV มาแรง ถ้ามาร์เก็ตติ้งก็สาย Data มาแรง พอเรารู้เรื่องพวกนี้แล้วเราก็จะไปหาคนมา คนที่เราเชิญมาแน่นอนว่าจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ สายตรงทางด้านนั้นๆ แต่แค่นั้นมันไม่พอ เราก็ต้องดูอีกว่าเขาสามารถที่จะถ่ายทอดได้ไหม
คุยรู้เรื่องหรือเปล่า เนื้อหาอะไรต่างๆ ก็ดูจากตรงนั้น จากนั้นการ curate ก็คือการที่เรามาคุยกับเขาว่าดูซิปีนี้ มีอะไรที่เขาคิดว่ามันน่าสนใจและเขาอยากจะพูด เพราะบางทีเราเองคิดว่าเรารู้ แต่พอเราไปคุยกับเขา ในมิติของเขามันลึก เขาก็จะมีอีกหลายเรื่องที่คิดว่ามันน่าสนใจ เราก็จะรู้เพิ่มขึ้น ตลอดเวลาที่เรา curate เราก็จะได้รู้จากการนั่งฟังเขาก่อนเบื้องต้น
- หน้าที่ของเรานอกจากจะฟังเขาแล้วบางทีเราต้อง challenge เขาด้วย เราเห็นว่าเขาดูท่าทางจะเก่งในด้านนี้ เราก็ลองเอาหัวข้อที่ไป push ให้เขามองขึ้นไปอีกหรือหาคอนเทนต์ในอีกมิติหนึ่ง
- หลายๆ คอนเทนต์ในงาน Creative Talk ส่วนใหญ่เป็นคอนเทนต์ใหม่ เช่น พี่ตูน (คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์) จะมาพูดเรื่องอนาคตของ CMO เป็นเรื่องที่มีคนไม่ค่อยพูดถึง เพราะส่วนใหญ่คนจะพูดถึงเรื่องการตลาด แต่อันนี้พูดถึงเรื่องตำแหน่ง ซี่งเขามองว่ากำลังจะเป็นอาชีพที่กำลังจะหายไปแล้ว
หรืออย่างคุณนิรันดร์ (CEO of Ava Advisory) ก็จะมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจโลกในภาพรวม และสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะมาถึง มันมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของเราอย่างไร ซึ่งเรื่องพวกนี้บางทีเขาก็ต้องไปทำ curate ไปทำสไลด์มาใหม่
อย่างคุณแท๊ป (คุณรวิศ หาญอุตสาหะ Mission to the Moon) ก็เห็นโพสต์ว่าทำสไลด์ให้อยู่ ปวดหัวมาก ซึ่งเขาจะพูดเรื่อง World Economic Outlook ดูภาพรวมๆ ของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังและยาวไปเลย ซึ่งเขาบอกว่ามารวมๆ แล้วเจอแต่ข่าวร้ายกับข่าวร้ายมากๆ
[คุณโจ้]
- คุณเอิ้น (หมอเอิ้น พิยะดา Unlocking Hapiness) จะมาพูดเรื่อง มาหาสารความสุข ก็เป็นการเล่นคำ ส่วนใหญ่ speaker เวลา curate ปุ๊บ พอเขามี expertise ของเขา แล้วมาเจอธีมงานของเรา เขาก็จะ top up ขึ้นไป แล้วก็จะเจอ challenge ที่พี่เก่งชอบมอบไว้ให้ ด้วยคำว่า ให้คิดซะว่าเป็นงานของเราเอง เราอยากจะทำอะไรก็ทำ 45 นาทีนั่นมันเป็นของเขา
- Theme + Expertise + Challenge ก็เลยกลายเป็นเสน่ห์ว่างานนี้มันจะไม่ใช่แค่คอนเทนต์ที่ไป search เอาก็ได้ แต่มันจะเป็นเฉพาะของเราเท่านั้น
- Speaker ทุกคนจริงๆ จะถามว่า audience เป็นใครบ้าง ไม่มีใครเลยที่จะมาแล้วพูดว่าอยากพูดเรื่องนี้แล้วจบไป ไม่มีเลย
======================
4. พูดถึงที่มาของธีมงาน Creative Talk Conference ในปีนี้
======================
[คุณเก่ง]
- ธีมงานปีนี้คือ “Future of Everything” เรารู้สึกว่าโควิดมันผ่านไปแล้ว เราก็อยากให้ทุกคน move on แล้วก็มองไปข้างหน้า ชวนมองไปให้ถึงในอนาคต ทีนี้พอเรากำหนดธีมไป จริงๆ ธีมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่า speaker แต่ละคนเวลาที่มางานก็จะถามว่าธีมปีนี้มันคืออะไร แล้วเขาก็จะได้ทำคอนเทนต์ให้มันล้อไปกับธีมด้วย
- พอเขารู้ว่าธีมคือเรื่อง future เขาก็จะรู้แล้วว่าเขาจะพูดเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับอนาคต ก็จะเป็นการบังคับไปกลายๆ ว่าธีม คอนเซปต์มันเป็นอย่างนี้ เพราะเราไม่อยากให้มาคุยกันว่าโควิดที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้างแล้ว สูญเสียอะไรไปบ้าง
ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่จะต้องลุยต่อไปได้แล้ว ถึงแม้ว่าอนาคตที่บอกมันอาจจะเป็นข่าวร้ายก็ได้ แต่เราก็ต้องรู้ ผมก็เลยคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เราก็เลยคิดขึ้นมาเป็นธีมว่าอยากพาไปโลกอนาคต
======================
5. วิวัฒนาการของงาน Creative Talk Conference
======================
[คุณเก่ง]
- จริงๆ เราพูดถึงเรื่องอนาคตโดยตลอด เหมือนกับกลุ่มของ Creative Talk เพื่อนๆ ในกรุ๊ป Morning Call อย่างที่ผมบอกเลยว่าเอาอดีตเป็นบทเรียน แล้วทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ปัจจุบันจะดีได้ ถ้าเรามองเห็นในอนาคต
- อย่างธีมปีก่อนๆ ปีที่ผ่านมาก็จะมี เช่น Conversation of the New Decade ตอนนั้นมันเป็นปี 2020 หรือปีนึง The Future Belongs to Your Creativity ก็คืออนาคตขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ดังนั้นมันก็เลยเป็นธีมที่มองถึงอนาคตทั้งหมดเลย คิดว่าตัวธีมที่ค่อนข้างจะไดรฟ์อะไรบางอย่างได้เหมือนกัน
- ธีม Future ของ Creative Talk Conference ไม่ได้มาตั้งแต่แรก แรกๆ เราก็คิดแค่ว่าเราแค่อยากจัดงาน Talk เฉยๆ งานอะไรก็ได้ที่คนมาฟังแล้วได้ประโยชน์ เราก็เลยคิดว่างั้นเราก็มาจัดงานแบบนี้แหละ แล้วก็ทำให้คนที่มาร่วมงานได้สาระอะไรกลับไป ช่วงแรกๆ ก็จะเป็นหัวข้อที่หลากหลายแต่ก็จะออกเป็นเชิง inspiration เยอะ
เช่น Never Give up พูดถึงการทำธุรกิจหรือใช้ชีวิตมาแล้ว ชีวิตมันเร็วมากๆ แล้วเขาผ่านตรงนั้นมาได้ไง เป็นพี่เหว่ง เทพลีลา มาออกกับเรา สมัยก่อนเป็นแค่ 1 โชว์ มีเวทีเดียว แล้วก็มีแขกรับเชิญสามคนแค่นี้
[คุณโจ้]
- อีกเซสชั่นที่ชอบที่เคยจัดมาชื่อ The One Behind the Scene ตอนนั้นจะมีหมอแล็บแพนด้า, พี่โก้ Zurreal Studio, คุณเสก Toolmorrow แล้วก็ปีนั้นได้ชวนทีมงานเบื้องหลังของงาน Startup Thailand มาด้วย
[คุณเก่ง]
- รอบนั้นจะเป็นธีมของคนที่อยู่เบื้องหลัง หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสิ่งที่มันประสบความสำเร็จมาได้ มันมีคนเหล่านี้อยู่ด้านหลัง มีคุณมาร์วิน creative ของรายการปริศนาฟ้าแลบ ด้วย ซึ่งตัวจริงเป็นคนที่เฮฮามาก
- ตอนแรกก็เป็นเซสชั่นเดียว แล้วคนก็มากันเต็มห้องแน่นไปหมด คนมาประมาณ 200 กว่า ตอนแรกมันเป็นงานฟรี ตั้งคอนเซปต์ว่าฟรีและดี เพราะส่วนใหญ่งานฟรีจะเป็นงานขายของ ซึ่งเราก็เบื่อ พอตอนหลังๆ มันเริ่มขยายขึ้นมาเรื่อยๆ การที่เราไปหาสถานที่ฟรีๆ มันก็ยากขึ้น ยิ่งสถานที่ใหญ่ๆ จะให้ฟรี มันก็ยาก
ก็ประกอบกับการที่เราเชิญ speaker มาหลายคน มันก็มีค่าใช้จ่าย ค่าบูธ ค่าพื้นที่ ค่าเวที อะไรแบบนี้ เยอะแยะเต็มไปหมด พอตรงนี้มีค่าใช้จ่ายแล้วเราจะมาหาสปอนเซอร์อย่างเดียวก็ยากแล้ว เราก็เลยคิดว่าน่าจะต้องเก็บเงินบ้างแล้ว ทีนี้มันก็เลยค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจนเป็นงานใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
- ตอนนั้นจากเวทีเดียว สุดท้ายงอกออกมาเป็นอีกห้าเวทีเลย เพราะไปจัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตอนนั้นเราก็ทำงานให้กับตลาดหลักทรัพย์อยู่ในช่วงนั่น แล้วก็รู้จักกับคนที่ทำงานอยู่ที่นั้น พอคุยไปคุยมาเราบอกเขาว่ามีงานนี้
เขาก็เลยเสนอให้ไปใช้สถานที่ของเขาได้ พอได้ใช้เสร็จเราก็เลยขอห้องประชุมใหญ่ๆ สัก 2 - 3 ห้อง เราก็ใช้ห้องประชุมแบ่งออกมาเป็นห้องเล็ก เลยแยกออกมาได้เป็นประมาณ 5 ห้อง แล้วเราก็ค่อยๆ ขยายมา
======================
6. มีวิธีการจัดเซสชั่นที่ขึ้นพร้อมกันในแต่ละเวทีอย่างไร
======================
[คุณเก่ง]
- จะจัดให้หัวข้อที่มันเหมือนกันให้ไม่ชนกัน เช่น ถ้าเป็นหัวข้อการตลาดทั้งคู่จะไม่จัดชนกัน ถ้าคนสนใจเรื่องการตลาด เขาก็น่าจะได้ฟังเรื่องการตลาดได้ครบเกือบทุกเซสชั่น แต่แน่นอนว่าปกติคนเราก็จะไม่ได้สนใจแค่เรื่องเดียว อาจจะสนใจ innovation, entrepreneur เลยทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เซสชั่นมันชนกัน​
- สิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงจัดงานแบบมีหลายๆ เวที แทนที่จะให้ทุกคนนั่งอยู่เฉยๆ แล้วก็เปลี่ยน speaker แทนที่จะต้องวิ่งเปลี่ยนห้อง ส่วนนึงคือเราอยากให้คนที่มางานรู้สึก active พอได้ย้ายห้องก็จะ active แล้วจะได้ไม่ง่วงนอน ซึ่งมันเกิดขึ้นจาก pain ของเรา พอไปงานแล้วนั่งนานๆ ก็จะหลับ พอได้วิ่งไปวิ่งมาก็จะตื่นเต้น เลยเป็นที่มาที่ต้องมีหลายๆ ห้อง
======================
7. คำแนะนำในการเตรียมงาน Conference
======================
*1. Manage Expectation
[คุณเก่ง]
- งานอีเวนต์มันเป็นงานแบบ one shot ทุกอย่างที่เตรียมตัวมามันจะถูกจัดการ วัดกันภายในวันจัดงาน ไม่ว่าจะดีหรือร้าย พร้อมหรือไม่พร้อม มันก็จะต้องจบภายในวันนั้น ดังนั้นความ challenge ก็จะอยู่ตรงที่ว่า แม้ว่าจะวางแผนมาดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ มันจะเจอเซอร์ไพรส์ได้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าเราทำงานกับคน ซึ่งคนเหล่านั้น ทุก stakeholder ทั้ง speaker, sponsor เป็นคนหมดเลย
สิ่งที่เราต้องทำก็คือ manage expectation ก็คือว่าสปอนเซอร์คาดหวังอะไร แล้วเขาได้อย่างที่คาดหวังไหม speaker คาดหวังอะไร แล้วเขาได้อย่างที่คาดหวังไหม audience มาได้อย่างที่ที่คาดหวังไหม ทุกคนได้ตามนั้นหรือเปล่า ถ้าทุกคนได้ เขาก็จะ happy นั้นคืองานหลัก ทำยังไงให้ manage ตรงนั้นให้ได้
- ซึ่งการที่จะ manage ตรงนั้น แน่นอนว่าทุกคนกลายเป็นคนที่เราต้องคอยจัดการ คอยดูแลให้ได้ สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมมากๆ ก่อนงานคือ ทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจตรงกันกับเรา สมมุติเช่น speaker เขาได้รู้ว่าเขาได้พูด 1 ชั่วโมงเต็ม เป๊ะ ห้ามเกิน
ถ้าบางคนไม่รู้ คิดว่าบางทีก็เลทได้ แต่ปรากฏถึงเวลาพอหมดเวลา เราบอกว่าหมดเวลาแล้วครับ ลงได้ เขาก็จะหงุดหงิด เพราะเขารู้สึกว่ามันไม่ใช่อย่างที่เขาคิดไว้ ดังนั้น communication ก็เลยเป็นสิ่งที่สำคัญ
- หรืออย่างคนที่จะมางาน เขาก็รอ agenda กันหมดเลย เพราะแต่ละคนเขาก็จะคาดหวังว่าเขาจะได้ดูอะไร ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่เป็น expectation ของทุกๆ คนเลย
*2. การตัดสินใจเฉพาะหน้า
[คุณเก่ง]
- ในหน้างานมันก็จะเจอเซอร์ไพรส์ตลอดเวลา ถึงแม้เราจะจัดการดี จัดการหลายรอบแล้ว ถึงเวลาหน้างานก็จะวุ่นทุกครั้ง บางครั้งบางคนบอกว่ามางานอีเวนต์ เห็นคนในงานวิ่งกันวุ่นเลย จัดการไม่ดีหรือเปล่า คือต่อให้จัดการยังไง ที่เราทำได้ก็คือทำให้มันซอฟต์ลง ลดลงน้อยที่สุด
[คุณโจ้]
- ในโลกนี้มันจะมีเรื่องที่เราควบคุมได้ กับเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ ตัวเราคือสิ่งเดียวที่สามารถควบคุมได้ ส่วนที่เหลือทั้งงานเราควบคุมไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเรื่องการเซ็ต expectation และ communication เป็นสิ่งสำคัญ
- อีกเรื่องนึงคือเรื่อง การตัดสินใจเฉพาะหน้า เวลาจัดงาน conference เราจะไม่ได้คิดอยู่แต่ว่าเราจะพูดเรื่องอะไร สถานที่เป็นยังไง แต่เรามักจะคิดเสมอว่าเรากำลังจะต้อนรับคนที่จะมาใช้ชีวิตอยู่กับเราเต็มๆ ทั้งวัน ต้องคิดว่าตอนเช้าเขาจะมายังไง
กินข้าวที่ไหน เข้าห้องน้ำตรงไหน จะเดินทางอย่างไร อย่างปีนี้เรามีต้อนรับผู้พิการด้วย เราก็ไปหา insight emphaty ไปหาที่ปรึกษาว่าเขาอยู่กันยังไง มีอะไรที่จะทำให้เขารู้สึกสบายที่เขาจะอยู่ด้วย การจัดงานเหมือนเป็นการเปิดบ้านต้อนรับ
[คุณเก่ง]
- สิ่งที่ต้องทำคือ plan for unplanned ต้องวางแผนสำหรับสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อันนี้คือสำคัญ
======================
8. เทคนิคในการบริหารทีมงาน
======================
[คุณเก่ง]
- ทีมงานก็สำคัญมากๆ ที่ผ่านมาที่ทำได้เพราะว่ามีทีมดี เพราะถึงวันอีเวนต์ส่วนใหญ่ผมจะไม่ค่อยได้ทำอะไรแล้ว เพราะผมก็ต้องขึ้นไปอยู่บนเวที ไปสัมภาษณ์ แล้วก็วิ่งไปนู่นนี่นั่น เพราะฉะนั้นถ้าทีมงานไม่แกร่ง ตัดสินใจเองไม่ได้ หรือว่าการตัดสินใจไม่คมพอ มันก็จะป่วน ทุกคนต้องวิ่งมาถามเราว่าเอายังไงดี ถึงวันนั้นจะหาผมก็หาไม่เจอ ทุกปีผมจะต้องมีคนต้องคอยเดินตาม
บางทีสมมุติคนอยากตามตัวผม ขึ้นเวที ถ่ายรูป สปอนเซอร์มา บางทีเราอยู่บนเวที เขาต้องติดต่อเบอร์คนที่ตามเราได้ เขาก็จะค่อยประสานงานว่าตอนนี้เราอยู่บนเวที จบแล้วจะบอก คอยบอกคอยรับตรงนี้
- แต่ละคนก็จะมีตำแหน่ง role หลักๆ อยู่แล้ว เช่น ตำแหน่ง producer ก็จะดูเวที ดูงาน production ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในงาน ดังนั้นถ้าเกิดมีเรื่องของแสงสีเสียงอะไรพวกนี้เขาก็จะเป็นคนดู ไปตามกับ organizer ว่ายังไง ถ้ามีปัญหาหรืออะไร เราก็จะมอบอำนาจและความรับผิดชอบให้เขาสามารถตัดสินใจได้เลยว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เขาจะใช้วิจารณญาณของเขาในการเลือกที่จะไปซ้ายหรือขวา
ซึ่งหลายๆ สิ่งเราก็ต้องดู หลายๆ คนก็มีความสามารถและความชำนาญเฉพาะด้านของเขาอยู่แล้ว เพราะว่านั่นก็คือเหตุผลที่ทำไมเราถึงต้องมารวมตัวกัน ดังนั้นแต่ละคนพอเขามีแบบนี้ เราก็ไว้ใจเขา
- ถึงเวลาจริงๆ เห็นตอนงานยังไม่เริ่ม เราก็อาจจะเคี่ยวๆ หน่อยอันไหนเอา ไม่เอา ส่วนนึงมันก็คือเพื่อทำให้ความเข้าใจเรามันตรงกัน แล้วก็พอที่จะเดาได้ว่ามันเป็นแบบนี้ พอถึงเวลาหน้างาน ไม่ว่าใครจะตัดสินใจอะไรไปมันย้อนกลับไม่ได้แล้ว มันเหมือนวันที่เริ่มงานเหมือนกับการกดปุ่ม start แล้วไม่มีย้อนกลับ
เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเชื่อทีมแล้ว ทีมจัดการยังไงก็ต้องเอาตามนั้น ม่านเปิดแล้วทุกคนก็ต้องเล่นละคร ทุกคนต้องลุยเลย
[คุณโจ้]
- แต่กว่าจะถึงวันงาน เราก็จะฝึกการตัดสินใจ ฝึกการให้ feedback ทั้งแบบที่เป็น positive หรือ negative feedback ตลอด เพื่อให้แน่ใจว่าเขาเข้าใจนะว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คือพี่เก่งในฐานะ leader ก็จะเคลียร์เรื่องนี้แบบ crystal clear มาก แต่ว่าก็ต้องทำให้เขาเข้าใจด้วยว่าตรงที่เราคอมเมนต์เพื่อที่ทำให้เราเห็นภาพเดียวกัน
เพื่อให้เราได้รู้ เป็นการ manage expectation กับ internal ของเราข้างในกันเองเหมือนกัน
======================
9. สิ่งที่เราจะได้เห็นในงาน Creative Talk Conference ปีนี้
======================
- เป็นปีแรกที่จะมีงาน 2 วัน สามารถดูย้อนหลังได้ และก็มีซัพพอร์ตในเรื่องของคนพิการ
[คุณเก่ง]
- ปีนี้ตัวที่น่าสนใจน่าจะเป็นในส่วนของคอนเทนต์บางหัวข้อที่ผมคิดว่า speaker หลายคนมาพูดแบบไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน แล้วก็คิดว่าคงไม่ได้เอาคอนเทนต์นี้ไปพูดที่ไหนอีก บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่อินไซต์สำหรับเขาเหมือนกัน บางเซสชั่นอย่างเช่นของ พี่หนุ่ย พงศ์สุข แน่นอนหลายคนรู้จักเขาในนามของคนทำเรื่องไอที แบไต๋ ผมก็มาคิดว่าปีนี้พี่หนุ่ยมาไม่ต้องไอที ไม่ต้องมา innovation แล้ว
แต่ผมรู้สึกว่าเขาทำธุรกิจมา เท่าๆ กับ RGB72 อยู่ที่ประมาณ 20 กว่าปี พี่หนุ่ยก็ผ่านอะไรมาเยอะ ผ่านทั้งชีวิตที่รุ่งและที่ร่วง ผ่านอะไรหลายๆ อย่าง ผมก็เลยบอกว่าผมอยากได้อินไซต์ตรงนี้ว่าเกิดอะไรขึ้น เคล็ดลับหรือการเป็นเจ้าของกิจการจากคนที่เป็นคนทำงาน production เขาบอกว่าเคล็ดลับของเขาคือเขามีอาชีพเดียว ซึ่งอาชีพนั้นคืออะไร ก็ต้องไปติดตามกัน
- พี่สุรชัย (Illusion CGI Studio) เป็นคนที่ทำ CGI คอมพิวเตอร์กราฟฟิคให้ Game of Thrones หรือหนังของ hollywood ได้รางวัลระดับโลกเยอะแยะมากๆ ขนาด creative เก่งๆ ก็เรียกเขาเป็นอาจารย์
ผมเชิญเขามาสองปีแล้ว แต่เขาไม่มาบอกว่ายังไม่พร้อม วันก่อนไปนั่งคุย curate กับเขา แล้วก็ได้รู้ว่าทำไมเขาถึงไม่พร้อม เพราะว่าเนื้อหาที่เขาได้มา มันเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้าง wisdom มากๆ เป็นการวางแผนอนาคตของเขาจากการตั้งคำถามของสิ่งรอบตัวในชีวิต ยกตัวอย่างเช่น เขาตั้งคำถามว่าวันที่อะพอลโล 11 มันบินขึ้นไปแล้วมีมนุษยขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ เขาเคยตั้งคำถามตอนนั้นว่าถ้าพระเจ้ามีอยู่จริง พระเจ้าจะอุทานว่าอะไร
เพราะว่าในอินไซต์เขาคิดว่ามนุษย์คือสิ่งที่ถูกสิ่งแวดล้อมขังเอาไว้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการที่นกก็บินได้แค่นี้ อากาศก็มีแค่วงล้อมรอบ เราหลุดออกไปนอกชั้นบรรยากาศเราก็หายใจไม่ได้ เราก็ไม่ควรออกไป แต่มนุษย์มันดันออกได้ แล้วถ้าเป็นพระเจ้าจะอุทานว่าอะไร ก็เลยเป็นที่มาของอะไรหลายๆ อย่าง ก็ต้องฟังและไปติดตามกันดู
[คุณโจ้]
- โซนบูธก็ใหญ่ มีกิจกรรมต่างๆ ที่เราดีไซน์มา มีจุดถ่ายภาพ มีจุด opinion board มีพื้นที่ใหญ่ที่แบรนด์ต่างๆ มาโชว์เคสแล้วก็มาจัดบูธ แข่งกันน่าดู เขาก็พยายามถามว่า audience เราสนใจเรื่องอะไร ถ้าเขาจัดบูธแบบนี้คนจะชอบไหม เขาเอากาแฟมาแจกมีคนกินหรือเปล่า ถ้าเอาเกมยิงธนูมาจะมีคนเล่นไหม เอาจักรยานมาปั่นได้หรือเปล่า
- Office Syndrome Clinic หมั่นคอยดูและรักษาออฟฟิศซินโดรม หลายคนช่วงปีสองปีที่ผ่านมานั่งอยู่กับที่กลายเป็น office syndrome มา ก็เลยเชิญคุณหมอนักกายภาพมาพูด ปรากฏว่าคุณหมอก็ top up ความ creative เขาไปอีก ด้วยการจะเอาโต๊ะกับเตียงขึ้นเวทีว่าวิธีนั่งและนอนบนเวทีทำยังไง และยังสามารถตามไปเจอตรงบูธตรง acitivity zone ได้อีกด้วย
- หรืออย่างพวก PDPA ก็มีเป็นเวิร์กช๊อปให้เข้าร่วมกันได้
======================
10. ฝากส่งท้าย
======================
[คุณเก่ง]
- อยากให้ไปกันเยอะๆ เราตั้งใจจัดมากๆ ปีนึงก็จะจัดครั้งเดียว อยากให้ลองมาดูความตั้งใจ ไม่ใช่แค่ของเรา แต่คือความตั้งใจของ speaker ความตั้งใจของสปอนเซอร์จัดบูธ หรือแม้กระทั่งทีม volunteer ทุกๆ คนตั้งใจหมดเลย อยากให้มาดูความตั้งใจตรงนี้
[คุณโจ้]
- อยากฝากให้มาดูงานกันและก็ลองมาหาคำตอบกันว่า Future of Everything ของคุณเองนั้นเป็นยังไง ไหนๆ เราอยู่กับบ้านกันมาตั้งนาน กลับมารีเฟรชกันอีกครั้ง กลับมาเจอ community ของคนที่สนใจเหมือนๆ กัน บางทีมันก็จุดพลังอะไรหลายๆ อย่างได้ด้วยเหมือนกัน รอต้อนรับทุกคนเลย
โฆษณา