23 มิ.ย. 2022 เวลา 03:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จัดพอร์ตสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงควรทำ?
1
เมื่อลงทุนมาสักพัก สินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เราต้องการในวันนี้อาจไม่เหมือนตอนที่เริ่มลงทุน ดังนั้นสิ่งที่ต้องรู้เพิ่มเติม คือ การจัดพอร์ตลงทุน (Portfolio Diversification) ที่เหมาะสม เพื่อให้เงินลงทุนที่เรามี เติบโตตามเป้าหมายที่ต้องการต่อไป
การจัดพอร์ตลงทุน คือ วิธีการลงทุนที่มีการผสมผสานสินทรัพย์หลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน เช่น เงินฝาก ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ อนุพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยง และผลตอบแทนในการลงทุน ให้ตอบโจทย์เป้าหมายในการลงทุนของแต่ละคน
โดยการลงทุน ‘แบบกระจายสินทรัพย์’ อย่างนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาได้ เช่น หากเราเลือกลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ในวันที่หุ้นตกหนัก เราก็อาจจะเจ็บหนักเพราะเงินทั้งหมดอยู่ในนั้น
แต่ถ้าหากเรากระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท วันที่หุ้นตกหนัก ตราสารหนี้อาจจะขึ้นมาช่วยประคอง หรือสินทรัพย์อื่นอาจจะช่วยทำให้พอร์ตการลงทุนของเราไม่เจ็บหนักมาก ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้กำไรสูงสุด แต่ถ้าลงทุนถูกตัว ก็ไม่ต้องกลัวจะเจ็บหนักเวลาที่สินทรัพย์นั้น ๆ ซบเซา
1
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญในการจัดพอร์ตและกระจายสินทรัพย์ที่นักลงทุนทุกคนต้องรู้ คือ ‘วัตถุประสงค์’ ‘ความเสี่ยงที่รับได้’ และ ‘ระยะเวลา’ ในการลงทุนตามเป้าหมายของเรา เพื่อให้สามารถเลือกกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับผลตอบแทนที่ต้องการได้ โดยที่เราต้องมีวินัยในการลงทุนที่ดีควบคู่ไปกับการปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ
แต่จะรู้ได้ยังไงว่า เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หรือควรต้องกำหนดเป้าหมายการลงทุนเป็นอย่างไรดี ขั้นแรกอาจจะเริ่มได้จากการดูระยะเวลาของเป้าหมายเป็นตัวตั้ง เช่น หากต้องการลงทุนในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ควรให้น้ำหนักต่ำ ๆ ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ต้องการลงทุนเพื่อเป้าหมายในอีก 1 ปีข้างหน้า ก็อาจจะต้องลดน้ำหนักสินทรัพย์ที่เสี่ยงอย่างหุ้นลง
แต่ถ้าหากมีเป้าหมายระยะยาวที่ต้องการเงินใช้หลังเกษียณ ที่มีระยะเวลาการลงทุนค่อนข้างนานหรือเป็นหลัก 10 ปี ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้ในสัดส่วนที่มากขึ้น เพราะมีทั้งเวลาในการสะสม รวมถึงเวลาในการแก้ไขหากเกิดความผิดพลาดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
หรือเลือกใช้วิธีการง่าย ๆ อย่างลงทุนในกองทุนรวมที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ ซึ่งกองทุนรวมเหล่านี้จะมีการกำหนดความยืดหยุ่นในการลงทุนสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละคน
ซึ่งกองทุนกลุ่มนี้มักจะเป็นกองทุนผสม เช่น กลุ่มกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ หรือ BMAPS ที่มีให้เลือกลงทุนถึง 3 กองทุน 3 นโยบาย มีการกระจายการลงทุนอย่างหลากหลาย ให้นักลงทุนเลือกได้ว่าต้องการลงทุนในสัดส่วนที่รับความเสี่ยงจากหุ้นกี่ % ของพอร์ตการลงทุน ซึ่งได้แก่
  • BMAPS25 สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย เน้นลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก และลงทุนในหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 25%
  • BMAPS55 สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ต้องการเพิ่มผลตอบแทนขึ้นมาอีกนิด โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 55%
  • BMAPS100 เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงจากความผันผวนได้สูง เน้นการลงทุนในหุ้น และต้องการกระจายการลงทุนไปในตลาดที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี โดยกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในหุ้นได้ถึง 100%
โดยกองทุนกลุ่มนี้ เน้นลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้การบริหารจัดการของกองทุนบัวหลวง รวมถึงยังมีการกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลกอีกด้วย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามสถานการณ์ แต่ต้องการความยืดหยุ่นในการลงทุน เพราะมีผู้จัดการกองทุนดูแลปรับพอร์ตให้เสมอ ทำให้กองทุนนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเป้าหมายในระยะกลางถึงยาว
นอกจากกองทุนรวมทั่วไปแล้ว สำหรับคนที่สนใจกองทุนลดหย่อนภาษี ทาง BBLAM ได้เปิดโอกาสให้ลงทุนในกลุ่มกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPSRMF) ซึ่งมีครบทั้ง 3 กองทุนตามระดับความเสี่ยง นั่นคือ BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF โดยเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22-28 มิถุนายน 2565
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/asset/BBLAM24.jpg
หากนักลงทุนสนใจข้อมูลการลงทุนในกองทุนรวมกลุ่มนี้ สามารถ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BBLAM โทร 0 2674 6488 กด 8 หรือดูข้อมูลได้ที่ www.bblam.co.th
หรือหากสนใจลงทุนก็ง่าย สะดวก ลงทุนได้ทุกที่ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือ BF Fund Trading จาก BBLAM
และสำหรับผู้ที่ลงทุนกองทุน RMF ผ่านช่องทางธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระเงินลงทุนผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้ หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง
ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
บจ.หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ โทร. 0-2949-1999
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา