24 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ปรัชญา
“ตัวของเราในสระว่ายน้ำ”
ทำไมคนบางคนถึงทำเรื่องน่าเหลือเชื่อราวกับหลุดออกมาจากหนังซุปเปอร์ฮีโร่ได้ แน่นอนการฝึกฝนเป็นสิ่งทั่วไปที่เราเข้าใจ แต่ยังมีการทดลองมากมายที่บอกในสิ่งที่ตรงกันข้าม
ตัวอย่างเช่น การทดลองในต้นทศวรรษ90ของนพ.ทิม โนคส์ที่พิสูจน์ได้ว่าที่จริงแล้ว กล้ามเนื้อของเราไม่เคยหมดแรงแต่การที่เราหมดแรงนั้นเป็นกลไกของสมองที่ปกป้องการใช้ร่างกายจนถึงขีดสุด
แบรดและสตีฟเล่าถึงเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือ “คนเก่งพักเป็น”
โดยเรามักพบเหตุการณ์ที่น่าเหลือเชื่อที่คนเราทำอย่างการทำลายสถิติต่างๆอย่างน่าอัศจรรย์หรือถ้ามองให้ใกล้ตัวเข้ามาคือแฟนฟุตบอลที่ยังเชียร์ทีมรักแม้ไม่ได้แชมป์มาหลายสิบปี
สตีฟกับแบรดได้เล่าถึงความเห็นของนักวิ่งที่ทำลายสถิติของสหรัฐหรือคนธรรมดาที่ยกรถยนต์หนัก1700กิโลกรัม รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้สูญเสียลูกสาวผู้เป็นที่รักแล้วกลับมาสอนได้อย่างมีความสุขไว้ว่า ทุกคนที่กล่าวมานี้ก้าวผ่านอุปสรรคที่ยากลำบากด้วยการ “มองไปหาสิ่งสูงส่งกว่า”
หญิงนักวิ่งเทลมีอาการท้องเสียขณะวิ่งในวันที่เธอตั้งใจจะเลิกวิ่งเธอได้นึกถึงพระเจ้าที่มอบพรสวรรค์ในการอยู่ในป่าให้กับเธอและสามีผู้ทุ่มเทเพื่อให้เธอได้ทำตามเป้าหมาย
ชายผู้ยกรถยนต์มีกำลังขึ้นเพราะเค้ากำลังช่วยเด็กอายุ18ที่กำลังถูกรถคันนั้นทับอยู่ นี่เป็นวินาทีความเป็นตายที่เค้าด้วยช่วยชีวิตเด็กหนุ่มไว้
อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สูญเสียเป้าหมายในชีวิตคิดถึงการก้าวต่อไปเพื่ออุทิศน์ชีวิตของตนให้นักศึกษาและผู้คนได้ค้นพบเป้าหมายในชีวิต
สิ่งที่คนเหล่านี้ทำคือการลดอัตตาของตัวเองลงนั่นเอง
อัตตาคือตัวตนของเราคือศูนย์บัญชาการกลางของสมองที่คอยปกป้องเราไม่ให้ดึงประสิทธิภาพสูงสุดของเราออกมาใช้
การนึกถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่จะทำให้อัตตาของเรามีขนาดเล็กลงไปด้วย มันทำให้เรามองหาสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าและก้าวผ่านขีดจำกัดที่สมองของเราตั้งเป้าไว้ได้
วันหนึ่งที่สระว่ายน้ำ ผมมาว่ายน้ำเหมือนอย่างเคย วันนั้นผมไม่ได้ว่ายเพียงคนเดียว มีคุณตาอายุราวเลข7ลงมาว่ายด้วย คุณตาว่ายน้ำแซงหน้าผมในทุกรอบ ผมเองก็ไม่ใช่คนที่ว่ายน้ำช้าอะไร ในกลุ่มเพื่อนผมว่ายเร็วที่สุดเลยด้วยซ้ำ
ผมแอบประลองความเร็วกับคุณตาหลายครั้ง แต่คุณตาจะชนะผมทุกรอบ ขณะที่ร่างกายผมเริ่มเหนื่อยกับการว่ายตามคุณตานั้นเอง
ผมเริ่มถามกับตัวเองว่า “นายเมื่อที่นี่เพื่ออะไร” ผมเริ่มดึงตัวเองกลับมาด้วยการพูดกับตัวเอง และผมก็เริ่มสงบลง
อีธาน ครอสส์ได้เล่าเรื่องราวการเว้นระยะห่างกับตัวเองเอาไว้ในหนังสือ “Chatter คุมเสียงในหัวได้ ชีวิตง่ายทุกเรื่อง” ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดกันเพิ่มหลังจากนี้
อีธานเล่าถึงวิธีซึ่งเราจะสร้างระยะห่างกับตัวเองด้วยการพูดถึงตัวเองในสรรพนามแทนบุคคลที่สาม ซึ่งผมใช้ในเหตุการณ์นี้
อีธานนำการสร้างระยะห่างกับตัวเองมาเพื่อให้เราสามารถคุมเสียงในหัวของตัวเราเองได้และได้มองภาพรวมของตัวเองในมุมมองบุคคลที่3
ซึ่งการมองตัวเองครั้งนี้ของผมไม่เพียงเป็นการเข้าไปในห้วงความคิดในหัวของตัวเอง แต่ผมได้อัตตาของตัวเองด้วย ผมแทนตัวเองด้วยคำว่า “นาย” จากนั้นเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้ตัวเองฟัง
“นายกำลังเสียแรงเปล่าเพื่อแข่งกับคุณตาคนนั้น”
“นายกำลังเหนื่อยล้าและอยากขึ้นจากสระโดยพึ่งว่ายมาได้1ชม.”
การทำอย่างนี้ช่วยให้คุณได้ทำหน้าที่ “ที่ปรึกษา” ให้กับตัวเอง
ทันทีที่ผมรู้ตัวผมเริ่มมองเป้าหมายที่สูงขึ้นให้กับตัวเอง “นายต้องว่ายน้ำเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายสิ” “นายกำลังลดน้ำหนักเพื่อการเล่นกีฬาที่ดีขึ้น” และแอบกระซิบนิดหน่อยว่า “คิดถึงรูปอดัมตอนขึ้นคอนเสิร์ตนั่นสิ”
เป้าหมายและมุมมองใหม่ๆของผมเปลี่ยนความรู้สึก ณ ขณะนั้นได้ในชั่วพริบตา ผมเริ่มกลับมาโฟกัสกับท่าว่ายของตัวเอง คิดไอเดียการไหว้ใหม่ๆเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานหนักขึ้นและทำให้ไม่เบื่อกับรูปแบบการว่ายน้ำแบบเดิมๆ
ผมเงยหน้าขึ้นจากน้ำด้วยความรู้สึกชื่นชมคุณตาอย่างสุดหัวใจจนเผลอยืนมองแกว่ายอยู่พักใหญ่
“ว้าว ตอนว่ายแกไม่ได้หายใจด้วยซ้ำ”
คุณตากลายเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นของผมทันที ความแข็งแรงของคุณตาผลักดันให้สมองของผมเพิ่มขีดจำกัดของร่างกายขึ้น
สุดท้ายผมก็ได้ว่ายน้ำจนรู้สึกว่าร่างกายทำงานอย่างเต็มที่พร้อมกับอัตตามหาศาลที่ละลายหายไปกับน้ำนั่นเอง
Donate: SCB 431-055392-5
IG: thecuriousduck
Facebook page: เป็ดขี้สงสัย
Blockdit: เป็ดขี้สงสัย
#เป็ดขี้สงสัย #thefirstbook
#หนังสือดี
โฆษณา