23 มิ.ย. 2022 เวลา 15:09 • ธุรกิจ
ข้อมูลจากฝั่งผู้ขายวัตถุดิบ (Suppliers)ให้ดารูมะซูชิและสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวลง
ภาพจาก Eatigo
หนึ่งในหัวข้อข่าวที่โด่งดังในช่วงเวลานี้ มั่นใจได้ว่าต้องมีเรื่องของดารุมะซูชิอยู่ในนั้นแน่นอน เพราะเหตุการณ์นี้สร้างความเสียหายอย่างมากกับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและธุรกิจผู้จัดส่งวัตถุดิบอาหาร
เนื่องจาก “ยุคใหม่ฯ” เคยอยู่ในแวดวงธุรกิจการจัดจำหน่ายวัตถุดิบอาหาร ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการทั้งที่เป็นร้านสาขาหรือร้านค้าเดี่ยว ๆ ซึ่งก็มีธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นอยู่ด้วย จึงพอจะรู้ข้อมูลลึกกว่าที่ข่าวออกมาในระดับหนึ่ง
เบื้องต้นค่าเสียหายจากวัตถุดิบอย่างเดียว ไม่ใช่เพียงค่าปลาแซลมอนที่ออกข่าวว่าค้าอยู่ประมาณ 30 ล้านบาท แต่มูลค่าความเสียหายจริงมากกว่านี้มากกว่านี้หลายเท่า เพราะเท่าที่ได้รับข้อมูลแค่เพียงรายใหญ่รายเดียวก็เกิน 30 ล้านเข้าไปแล้ว
นอกจากปลาแซลมอน ดารุมะซูชิก็ยังต้องซื้อวัตถุดิบตัวอื่นๆเขาไปด้วย ทั้งกุ้งทั้งหอยทั้งปลาทั้งปู ที่มูลค่าบางตัวสูงกว่าแซลมอน 2-3 เท่าตัวก็มี รวมๆแล้วจากค่าเสียหายเรื่องของวัตถุดิบ ดูแล้วเกิน 100 ล้านบาทอยู่แล้ว
ที่มา Siam Discovery
ลองพิจารณาตัวเลขตัวคร่าวๆ จากสาขาที่เปิดทำการทั้งหมด 26 สาขา เฉพาะค่าปลาแซลมอน ก็ใช้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1 ล้านบาท วัตถุดิบอย่างอื่นรวมกันก็ประมาณ 5 แสนบาท/เดือน รวมแล้วเป็นเงินเท่ากับ 1.5 ล้านบาท X 26 สาขา X 4 เดือน (เริ่มมีปัญหาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 65) = 156 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆก็ประมาณ 160 ล้านบาท
เป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้รวมกับค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือน ค่าเช่า ค่าไฟ ค่าน้ำและค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวเลขยากที่จะประเมินได้
ผู้ประกอบการรายที่ “ยุคใหม่ฯ” รู้จัก ประมาณได้คร่าวๆว่าน่าจะมีหนี้รอชำระจากดารุมะซูชิอย่างน้อยก็ไม่น่าต่ำกว่า 40 ล้านบาทแล้ว เท่าที่ได้ข้อมูลมาก็ยังมีผู้ค้ารายกลางรายย่อยอีกจำนวนมาก ที่ต้องนำในเสร็จที่ขายของให้ดารุมะซูชิมามองแล้วทำใจ พร้อมกับตั้งคำถามว่าเราจะไปต่อกันอย่างไรดี?
ที่มา THAI.AC
หนี้ก้อนมหึมาขนาดนี้เป็นหนี้ที่ทยอยสั่งสินค้าเข้าไปหลายๆงวด บางท่านอาจจะสงสัยว่าปล่อยให้หลายงวดได้อย่างไร นั่นก็เพราะว่าดารุมะซูชิได้มีการชำระไปบางรายการแล้ว จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายคนตายใจ อนุญาตให้มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมายอดขายก็ไม่ได้ดีเท่าไหร่เลย เมื่อมีโอกาสขายก็ต้องรีบโกย แต่อนิจจา.....สุดท้ายก็บัวแล้งน้ำ
เงินที่ดารุมะนำมาจ่ายก็คือเงินที่ได้จากการขายคูปอง 199 บาทและเงินรายได้จากทางร้านส่งเข้ามาทุกวัน โดยทางร้านได้นำไปจ่ายให้คู่ค้าที่สามารถจะสั่งได้ต่อไปและเป็นรายใหญ่ที่มีอำนาจการต่อรองสูง
ดังนั้นอย่าแปลกใจที่ทำไมนายเมธี เจ้าของร้านดารุมะซูชิ จึงต้องกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งทั้งที่ได้หนีออกนอกประเทศ นั่นก็เพราะว่าเขาแทบไม่มีเงินเหลือแล้ว จากการหมุนเงินที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นๆเท่านั้น
ที่มา TOP NEWS
หากให้วิเคราะห์ตามตรง นายเมธี หรือบอนนี่ ไม่ได้มีเจตนาที่จะเชิดเงินหนีแต่แรก แต่ด้วยความรู้ความสามารถในการบริการเงินมีน้อยกว่าทักษะการนำเสนอมากๆ จึงทำให้มีวิธีคิดในทางการเงินแคบละสั้นมาก แก้ปัญหาให้ผ่านไปทีเท่านั้น (จากการบอกเล่าเห็นว่ามีการว่าจ้างให้คนไปรีวิวให้ดูน่าสนในมากกว่าที่เป็นอีกกด้วย)
อีกทั้งวิธีการทำแฟรนไชส์ก็ไม่โปร่งใส เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียนธุรกิจแฟรนไชส์และเป็นสมาชิกในสมาคมแฟรนไชส์ไทย เนื่องจากทั้ง 2 องค์กรจะช่วยดูแลผู้ที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ (Franchisee) และช่วยดูแลลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการด้วย หากมีเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น รวมทั้งมีกิจกรรมช่วยส่งเสริมการขายด้วย
หมายเหตุ: ปัจจุบันการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ กฎหมายยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องไปจดทะเบียนแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะทำสัญญาลงนามกันไว้ร่วมกัน ซึ่งหากจดทะเบียนก็สร้างความมั่นใจได้เมากขึ้น
Credit: VF Franchise Consulting
แต่บอนนี่ใช้วิธีระดมทุนมาบริหารร้านโดยให้แรงจูงใจจากการผู้ซื้อสิทธิ์ไม่ต้องทำอะไร นอกจากโอนเงินตามที่ขายได้แล้วรอรับส่วนแบ่ง 10% จากยอดขายทั้งหมด นอกนั้นบอนนี่จะจัดการให้ทั้งหมด
นี่คือข้อมูลบางส่วนจากฝั่งผู้ประกอบการ (Suppliers) ที่บอนนี่ใช้บริการ
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Modernization Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา