24 มิ.ย. 2022 เวลา 12:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“หรูเท่ห์” กับ “เจ๋งเป้ง” สิ่งใดแจ่มกว่ากัน ?
การเสพสื่อออนไลน์ ทำให้เราสัมผัสคุณค่าภายนอกได้ง่ายขึ้น เราเห็นของสวย ๆ งาม ๆ จนมีความสุขเพลิดเพลินกับภาพลักษณ์ที่ปรากฎบนหน้าจอมือถือ แต่ความจริงจะตระหนักได้ก็ต่อเมื่อไปสัมผัสคุณค่าภายในของสิ่งนั้น ๆ
ระหว่า "หรูเท่ห์" VS "เจ๋งเป้ง"
นิยามคำว่า “หรูเท่ห์” ถูกวัดค่า จากคุณลักษณะภายนอก ว่าดูดี ดูแพง ดูว้าว ดูสวย ดูงาม
ส่วนคำว่า “เจ๋งเป้ง” เป็นสิ่งที่วัดค่า จากคุณลักษณะภายใน ว่าเลิศ เลอค่า
ชีวิตทุกวันนี้ สังคมเราถูกชักนำด้วยคำว่า “หรูเท่ห์” เป็นส่วนใหญ่
เพราะคนเราไม่ชอบเห็นสิ่งที่ขาดความสุนทรี ไม่ชอบสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่น่าพึงพอใจ
การนำเสนอทางสื่อออนไลน์จึงให้ภาพลักษณ์ตามความชอบของผู้คน เพื่อคาดหวังจะได้รับสิ่งที่ต้องการกลับคืนมา
“หรูเท่ห์” และ “เจ๋งเป้ง” สองคำนี้มีความเหมือนและความต่าง ด้านคุณลักษณะ
หรูเท่ห์" ไม่สามารถบ่งบอก ถึงเบื้องหลังและสิ่งที่หลบซ่อนภายใน เนื่องจากถูกโชว์เบื้องหน้าด้วยภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและชวนหลงใหล
“เจ๋งเป้ง” คุณจะรู้ได้ต่อเมื่อเข้าไปสัมผัส ไปคลุกคลี ได้สัมผัสจนเกิดสำนึกรู้ !!
ได้แก่ รู้ว่าไม่โกง ไม่หลอกลวง มีความจริงใจ หรือ รสชาติดี อร่อย ไม่เน่า ไม่เละ ไม่ปลอมปน
เข้ากับคำกล่าวโบราณที่ว่า “รู้หน้า ไม่รู้ใจ” “ความเชื่อไว้บนหิ้ง ความจริง! ต้องพิสูจน์”
ในทางพระพุทธศาสนาเรียกเนื้อแท้ที่จริงใจ ไม่หลอกลวงนี้ว่า “ศีล”
1. “ศีล” พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน !! หรือการได้เข้าไปสัมผัส ได้คบหา (เป็นเพียงคนรู้จัก คบกันเพียงผิวเผิน)
2. ต่อเมื่อ “ศีล” เสมอกัน จึงจะอยู่ด้วยกันได้อย่างยืนยาว !! (เป็นคู่ของสามีภรรยา ที่คบหาและอยู่ด้วยกันตลอดไป)
ลักษณะ "หรูเท่ห์" VS "เจ๋งเป้ง"
ลักษณะของ “หรูเท่ห์” และ “เจ๋งเป้ง” ที่ปรากฏในสื่อโซเชียลกับ “ศีล”
ศีลข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์
ตัวอย่าง ร้านอาหารคิดเมนูออกใหม่ ชื่อ “หมึกช็อต” จนเป็นกระแสขายดิบขายดี แม้มีการถกเถียงว่า ทรมานสัตว์หรือไม่ แต่ลักษณะการกระทำโหดและทารุณมาก
ศีลข้อ 2 ห้ามลักทรัพย์
ตัวอย่าง โฆษณาภาพทุเรียนสวย ๆ (อาจขโมยภาพมาจากผู้อื่น) หลอกให้โอนเงิน จากนั้นก็ปิดบัญชีเฟชบุคหนี ไม่ให้ติดต่อตนเองได้
ศีลข้อ 3 ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น
ตัวอย่าง โฆษณาภาพสาว ๆ ใส่ชุดยั่วยวน แม้เป็นสิทธิเสรีภาพของการแสดงออก แต่อาจส่งเสริมอารมณ์ทางเพศที่เกินควบคุม จนก่อให้เกิดอาชญากรรมทางสังคมได้ มิหนำซ้ำยังก่อให้เกิดการผิดศีลข้ออื่น ๆ ตามมา อาทิ ศีลข้อดื่มสุรา ศีลข้อฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย ศีลข้อพูดเท็จ และศีลข้อลักทรัพย์
ศีลข้อ 4 ห้ามพูดเท็จ
ตัวอย่าง โฆษณาในแง่ล่อลวง จริง 7 เท็จ 8 ให้หลงเชื่อ ให้ตายใจว่า เป็นจริงตามที่โฆษณาไว้
ศีลข้อ 5 ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา
ตัวอย่างนี้ ได้รับการคุ้มครองโดยพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามโฆษณาเหล้า-เบียร์ในไทย แต่ได้ยกเว้นกรณี กัญชา กัญชง ว่าไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งมีข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่า ไม่เหมาะสมอยู่ดี เพราะถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้นของการติดยาเสพติดของเยาวชน ก่อนที่จะไปเสพ สิ่งเสพติดให้โทษอื่น ๆ ตามมาต่อไป
วัดค่า "หรูเท่ห์" VS "เจ๋งเป้ง"
การวัดค่า
ความสะอาด บริสุทธิ์ "หรูเท่ห์" มีน้อยกว่า "เจ๋งเป้ง"
เทียบเป็นจำนวน คนไม่สะอาด (ผิดศีล) มีจำนวนมากกว่า คนสะอาด (ไม่ผิดศีล)
ผลกระทบ
ความไม่สะอาด หรือคนไม่สะอาดจะส่งผลต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมได้หรือไม่ ??
ตอบได้ว่า สามารถกระทบได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
โดยตรงส่งผลกระทบ ทำให้เกิดความเสียหายได้ในทันที
โดยอ้อมส่งผลกระทบ ทำให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
โดยตรง คือ กระทบทางร่างกาย หรือทรัพย์สิน
โดยอ้อม คือ กระทบทางจิตใจ เช่น โกรธ และโมโห หากผู้คนสั่งสมและมีอารมณ์นี้เป็นจำนวนที่มาก ๆ สามารถส่งผลถึงบรรยากาศที่อึมครึม ราวกับบรรยากาศที่เป็นพิษได้
แม้นักวิทยาศาสตร์จะกล่าวว่า “สภาพอากาศที่แปรปรวน จะส่งผลต่อสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้คน”
หากความเป็นจริง อารมณ์และจิตใจของผู้คนบนโลกใบนี้ นั้นคือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลก
โลกป่วนปั่น !!
ภัยอันตรายในสังคม จากปัญหาความเสื่อมทางศีลธรรม เป็นจุดชนวนสู่ปัญหาใหญ่ตามมา ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลก เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุไซโคลน ดิน-โคลนถล่ม คลื่นใต้น้ำสึนามิ เป็นต้น จวบจนอีกภัยอันตรายที่กระทบไปทั้งโลกนั่นคือ โรคระบาด
ในรูปแบบที่สามารถใช้คำกล่าวที่ว่า “ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” หมายถึง เรื่องเดือดร้อนเก่ายังไม่ทันหมด ก็มีเรื่องเดือดร้อนใหม่เข้ามาอีก จากที่เดือดร้อนจากโควิด-19 เชื้อโรคกลายพันธุ์ เป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกไปแล้ว ยังมีปัญหาสงครามเข้ามาอีก จนเป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกซ้ำร้ายหนักขึ้นกว่าเดิม
เป็นคราวรับเคราะห์กรรมปัญหาเศรษฐกิจ สู่ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน โลกที่ป่วนปั่น ! จึงเพราะกิจกรรมที่ปั่นป่วน ! นั่นเอง
โลกป่วนปั่น
เครดิตภาพ
ภาพปก + ภาพประกอบ ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียน
รูปที่ใช้ประกอบ 1 จาก Unsplash โดย Larisa Birta
รูปที่ใช้ประกอบ 2 จาก Unsplash โดย Jakob Rosen
ภาพประกอบ ภาพที่ 3 โดยผู้เขียน
รูปที่ใช้ประกอบ 1 2 3 และ 4
จาก pixabay : Mohamed hassan / Mohamed hassan / Wyatt Ho
จาก pixels : Clker-Free-Vector-Images
รูปที่ใช้ประกอบ 5 6 และ 7
จาก : pexels : ArtHouse Studio / Adam Kontor / Everton Nobrega
รูปที่ใช้ประกอบ 8 จาก : unsplash โดย UX Gun
ภาพประกอบ ภาพที่ 4 โดยผู้เขียน
รูปที่ใช้ประกอบ 1 2 3 และ 4
จาก pixabay : cottonbro
จาก pixels : Pixabay / Anna Shvets
จาก Unsplash : visuals
โฆษณา