27 มิ.ย. 2022 เวลา 16:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วันนี้เรามาทำความรู้จักนวัตกรรมการฟื้นฟูที่เรียกว่า ESWT หรือที่ย่อมาจาก Extracorporeal Shockwave Therapy ที่เราคุ้นชื่อนั้นคือ เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก ; Radial ShockWave Therapy
ความสามารถของเจ้าเครื่องนี้คือการยิงคลื่นกระแทกไปในตำแหน่งที่ต้องการฟื้นฟู โดยการส่งผ่านคลื่นกระแทก (Shockwave) ไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา
จากนั้นร่างกายจะเกิดการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และจะช่วยลดปวดโดยลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดแทน จึงเห็นผลทันทีหลังรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ที่พบมากมักใช้ในกรณีของอาการปวดเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม เอ็นอักเสบ ไหล่ติด รองช้ำ นิ้วล็อคหากอาการไม่รุนแรง สามารถหายได้ ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ หรือระบมที่ผิว สะดวก ประหยัดเวลา แก้ปัญหาตรงจุด ที่สำคัญไม่ต้องผ่าตัด
Shockwave (คลื่นกระแทก) คืออะไร
ปกติแล้ว คลื่นกระแทก เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรค ซึ่งคลื่นที่ใช้จะความจำเพาะในการรักษา โดยไม่ต้องผ่าตัด มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากทะลุผ่านชั้นผิวหนังรวมถึงความลึกที่ต้องการได้ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะใช้ สลายนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ทำให้ก้อนนิ่วแตกสลาย และหลุดออกมาพร้อมกับการปัสสาวะ เป็นต้น
นอกจากจะช่วยรักษาโรคได้แล้ว ยังนำมารักษาได้อีกมากมาย เช่น ภาวะกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ เอ็น กระดูก (Musculoskeletal) ที่บาดเจ็บหรืออักเสบ, กล้ามเนื้อตึง (myofascial pain หรือ trigger point), สลายพังผืด, โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis), เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendonitis) ฯลฯ อีกทั้งถูกนำมาใช้รักษาเฉพาะทางในการฟื้นฟู กายภาพบำบัด หรือพบมากในปัจจุบันนี้นั่นคือ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)
ประเภทของ Shockwave โดยทั่วไปแล้ว คลื่นกระแทก มีด้วยกัน 2 ประเภท
คือ
  • 1.
    Radial shockwave (RSWT) เป็นคลื่นกระแทกเกิดจากการอัดอากาศปริมาณสูง (Pneumatic compression) ทำให้เกิดแรงกดอัดและแรงดึงแบบฉับพลัน ความแรงจะอยู่บริเวณผิวชั้น Dermis และ Epidermis ที่มีคอลลาเจนและอีลาสตินอยู่มาก จากนั้นกระจายลงไปยังเนื้อเยื่อ
  • 2.
    Focus shockwave (FSWT) เป็นคลื่นกระแทกเกิดจากแรงอัดที่ได้จากการ กระตุ้นไฟฟ้ากับผลึกคริสตัล ใช้ยิงลงลึกเฉพาะผิวด้านในเพื่อทำการรักษา เช่นบริเวณ กระดูก ไต ฯลฯ
ถึงแม้คลื่นทั้ง 2 ประเภทนี้จะเป็น คลื่นกระแทกเหมือนกัน แต่กลไกลการทำงานจะแตกต่างกันตาม ตำแหน่งและการลงลึกของชั้นผิว บริเวณที่ทำการรักษา
กลไกการทำงานของ Shockwave therapy
เป็นการปล่อยพลังงานคลื่นกระแทกผ่านชั้นผิวหนัง ลงไปยังเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง บริเวณที่เกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ และทำการกระตุ้น-เร่งให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดการซ่อมแซม ฟื้นฟู อาการบาดเจ็บหรืออักเสบ (Re-injury) ซึ่ง Shockwave จะมีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า high peak pressure เป็นแรงอัดอากาศที่มากพอในการ treatment ลงไปยังผิวหนังหรือเนื้อเยื่อชั้นลึกๆ ได้
เช่น ชั้นไขมัน (Fat) ชั้นกล้ามเนื้อ (Muscle) โดยไม่ทำลายผิวชั้นบน (Epidermis / Dermis) และไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บใดๆ บนผิวหนังชั้นบน (Comfortable of skin) ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกแสบผิว หรือเจ็บดีดๆ ที่ผิว เหมือนเครื่อง Shock wave ทั่วไป ขณะทำจะมีความรู้สึกแค่ตึงๆ ตื้อๆ บริเวณที่เป็นพังผืดใต้ผิวหนัง โดยขณะการรักษาจะค่อยๆ ปรับระดับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด
ประโยชน์ของเครื่อง Radial shock wave
Radial shock wave จะส่งพลังงานผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึงบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อได้ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อส่งผลให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อ (Biological effects) ได้แก่
• กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
• กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
• กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยับยั้งกระบวนการอักเสบ ส่งผลให้ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเกิดการผ่อนคลาย
• กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
• ช่วยสลายหินปูนในเส้นเอ็น
• เพิ่มและเร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยเกิดการกระตุ้นการอักเสบใหม่ในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรัง
อาการที่ควรได้รับการรักษาด้วยเครื่องช็อคเวฟ
1. เส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อศอกอักเสบ, เอ็นหัวไหล่อักเสบ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ, ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
2. กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เช่น ปวดบ่า ปวดหลังเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม-Office syndrome, อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด
3. อื่นๆ ได้แก่ พังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ, ข้อเสื่อม, นิ้วล็อค, ข้อไหล่ติดจากเยื่อหุ้มข้ออักเสบ
ข้อห้าม
1. บริเวณที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ-Pacemaker
2. ผิวหนังที่เป็นแผล
3. ผู้มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า-Hemophilia
4. บริเวณที่มีเนื้องอกมะเร็ง
5. ไม่ควรใช้ในเด็ก
6. สตรีมีครรภ์
7. ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้เทคนิคแบบจ่อบริเวณปอด
2. หลีกเลี่ยงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอและหลังใบหู เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหูอื้อได้
ผลข้างเคียง
อาจรู้สึกล้า หรือระบมในบริเวณที่ได้รับการรักษา ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการประคบเย็นหลังทำ
Reference
[2] Ueberle, F.; Rad, A. J.; “Ballistic Pain Therapy Devices: Measurement of Pressure Pulse Parameters”; Biomed Tech, 2012; 57 (Suppl. 1), 700-703
[3] Dietz-Laursonn, K.; Beckmann, R.; Ginter, S.; Radermacher, K. & de la Fuente, M.; “In-vitro cell treatment with focused shockwaves - influence of the experimental setup on the sound field and biological reaction”; Journal of Therapeutic Ultrasound, 2016; 4, 2-14;
[4] IEC 61846: 1998-04, “Ultrasonics - Pressure pulse lithotripters - Characteristics of fields”
[5] Molecular Mechanisms Underlying the Pain-Relieving Effects of Extracorporeal Shock Wave Therapy: A Focus on Fascia Nociceptors https://www.mdpi.com/2075-1729/12/5/743/htm
โฆษณา