30 มิ.ย. 2022 เวลา 09:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
⭐ Oppday FORTH Q1/2022 ⭐ : รายได้Q1โต 9% ส่วนกำไรโตถึง 28% จากการควบคุม SG&A ได้ดีตั้งเป้าการเติบโตปีนี้ 20% และตู้เต่าบินยังขายดีเทน้ำเทท่า
Published: 25 May 2022
สวัสดีตอนเย็นครับ วันนี้แอดมากับกลุ่ม #หุ้นโรงงาน อย่าง #FORTH กันบ้างนะครับ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน #ตู้เต่าบิน ที่กำลังเป็นกระแสมาสักพักแล้วครับ
ยังไงรบกวนคอยติดตามเพจ @ลงทุนลงดอย และกด See First เพื่อที่จะไม่พลาด Content ที่แอดตั้งใจทำกันนะครับ
วันนี้พบกับ บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือใช้ตัวย่อในตลาดว่า FORTH ซึ่งประกอบธุรกิจ EMS, Enterprise Solution และ Smart Services
🚩​1. ลักษณะธุรกิจ
✔ ธุรกิจ Forth แบ่งได้เป็น 3 ธุรกิจหลักๆ
1. EMS Business: รับจ้างผลิตประกอบแผงวงจรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (PCBA and Box-build) โดยมีลูกค้าที่อยู่ในอุตกสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
โดยรูปแบบแรกจะเป็นแบบ Consign Parts ซึ่งลูกค้าเป็นคนจัดเตรียทวัตถุดิบให้ทำให้บริษัทไม่มีความเสี่ยงเรื่องของวัตถุดิบ และรูปแบบที่สองจะเป็นแบบ Turnkey ซึ่งบริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องของวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Trading ซึ่งจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Electronic Component, Semiconductors, Industrial Automation และอื่นๆ
2. Enterprise Solutions Business: บริการจัดซื้อ จัดหา พัฒนา และวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารครบวงจรให้กับภาครัฐและเอกชน เช่น สายรัดข้อเท้านักโทษ (Electronic Moniotring หรือ EM), Electronic Meter, หลอดไฟ LED, อุปกรณ์ชุมสาย MSAN, ระบบติดตามรถด้วย GPS, ระบบเรียกรถพยาบาล, ระบบสัญญาณไฟจราจรและควบคุมไฟจราจร เป็นต้น
3. Smart Services Business: บริการระบบชำระเงิน ธุรกรรมการเงิน และตู้อัตโนมัติ เช่น ตู้บุญเติมของ FSMART ที่ FORTH ถือหุ้นอยู่ 49.5% หรือ ตู้เต่าบินคาเฟ่ของ FVD (Forth Vending) ที่ FORTH ถือหุ้น 45% หรือ ตู้EV Charger
✔ โครงสร้างราย Q1/2022 มาจากธุรกิจ EMS เป็นหลัก
▪ EMS Business 44%
▪ Enterprise Solution 22%
▪ Smart Services Business: 34%
✔ บริษัทให้ความสำคัญกับ R&D และมีสินค้าจาก R&D เช่น
▪ ตู้คาเฟ่อัตโนมัติแบรนด์ “เต่าบิน”
▪ ตู้ Mini ATM แบรนด์ “บุญเติม”
▪ ตู้ e-KYC ยืนยันตัวตนอัตโนมัติ แบรนด์ “บุญเติม”
▪ สายรัดข้อเท้านักโทษ (Electronic Monitoring Device หรือ EM)
▪ ตู้ชาร์จรถ EV (EV Charging Station)
✔ นอกจากนี้ยังเตรียมตัวสำหรับธุรกิจในอนาคตอย่าง Aircraft Distribution และ Aircraft Maintenance Repair and Operations Service (MROs)
🚩​2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวม Q1/2022◼️
✔ รายได้เพิ่มขึ้น 9% YoY เป็น 2,067 ลบ. โดยหลักๆมาจากรายได้ของ EMS เป็นหลักที่เพิ่มขึ้นถึง 81% จากคำสังซื้อของลูกค้ารายใหญ่ ส่วนธุรกิจ Enterprise Solution มีรายได้ลดลง 30% จากปีก่อนที่มีงานที่ไปประมูลได้มาน้อยทำให้ปีนี้การทยอยส่งมอบงานได้น้อยตาม และงานโครงการใหม่ๆยังไม่สามารถส่งมอบงานได้ และธุรกิจ Smart Service รายได้ลดลง 6% YoY จากภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกำลังซื้อระดับล่างและระดับกลางอย่างมาก
✔ GPM ภาพรวมยังรักษาได้เท่าเดิมที่ 24%
▪ EMS Business 23%
▪ Enterprise Solution 32% เพิ่มขึ้น 5ppt จากงานใน Q1/2022 มี GPM ที่ดีกว่าปกติ
▪ Smart Services Business: 21%
✔ SG&A เพิ่มขึ้น 13% ทั้งในส่วนของ SG และ A โดยหลักๆจะมาจาก A ที่เพิ่มขึ้น 27 ลบ.จากการเพิ่มขึ้นของพนักงานและ R&D
✔ SG&A to Sales ลดลง 3ppt เหลือ 11% จากยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9%
✔ NP เพิ่มขึ้น 28% เป็น 236 ลบ. คิดเป็น NPM 11% ซึ่งแตะ 2 Digit ได้แล้ว โดยหลักๆมาจากยอดขายของ EMS เป็นหลัก
✔ D/E 2.2 เท่า
🚩​3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️การเติบโต◼️
✔ EMS: ยังรับงานให้คู่ค้ารายใหญ่อยู่ และยอดการผลิตจากคู่ค้าสูงกว่าปีที่แล้ว และนอกจากมีมาจากการผลิตตู้เต่าบินประมาณ 5,000 ตู้ คาดว่าปีนี่รายได้ส่วนนี้น่าจะเติบโตดี
✔ Interprise Solution: มี Blacklog 764 ลบ. และมีงานใน Pipeline อยู่ที่ 9,700 ลบ. ซึ่งคาดการณ์ว่าจะได้งานประมาณ 60 - 70% โดยเริ่มตั้งแต่ Q3/2022 เป็นต้นไป
✔ Smart Service (Boonterm): การเติมเงินลดลง แต่การโอนเงินเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันได้มีการทำระบบหลังบ้านให้กับเจ้าอื่นๆ และเน้นการปล่อยกู้แบบ Conservative
✔ Smart Service (EV Charger): เน้นการขายเครื่องที่ถูกที่สุดในตลาด โดยจะเน้นการหารายได้จากระบบหลังบ้าน
✔ Smart Service (Tao Bin): มีแผนเพิ่มเมนูและเลือกเมล็ดกาแฟเองได้ โดยตอนนี้มีตู้ 1,500 ตู้ โดยเน้นที่ตั้งใรงพยาบาล (ขายได้ 100 แก้วต่อวัน) และตามที่สาธารณะต่างๆ และตอนนี้เห็นโอกาสในจังหวัดเมืองรองที่ยอดขายมากกว่า 200 แก้วต่อวัน โดยการทำการตลาดตอนนี้เป็นการทำตลาดที่ FORTH แทบไม่ได้จ่ายเงินเลย
◼️Tao Bin◼️
✔ ยอดขาย Apr’22 ได้ 89 ลบ. และกำไร 24 ลบ. (คิดเป็น NPM 27%)
✔ ถ้าจาก Slide จะเห็นว่ายอดของตู้เต่าบินล้วนๆจะอยู่ Mar’22
✔ มองภาพเดือน May’22 น่าจะยังเห็นกำไร 30 ลบ.ค่อนข้างแน่นอน
✔ ยอดตั้งตู้เต่าบินสิ้นเดือน Apr’22 อยู่ที่ 1,332 ตู้
✔ ตอนนี้มีปัญหาเรื่องการผลิตที่ได้วันละ 15 ตู้ โดยคาดว่าภายใน Jul’22 น่าจะทำได้ 20 - 25 ตู้ต่อวัน
✔ ยอดขายต่อวัน ณ 20 May’22 อยู่ที่ 3.7 ลบ. และจำนวนแก้ว 112,000 แก้ว คิดยอดขายเฉลี่ยต่อแก้วอยู่ที่ 76 แก้ว และยอดตั้งตู้ตอนนี้อยู่ที่ 1,476 ตู้
✔ ถ้ามองย้อนกลับไปดู ณ วันที่ 3 Mar’22 ยอดขายอยู่ที่ 1.7 ลบ. จำนวนแก้ว 49,440 แก้วต่อวัน คิดเป็น 64 แก้วต่อวัน โดยมีจำนวนตู้ที่ตั้งไว้ 777 ตู้
✔ อันนี้แอดจะพูดถึงความโหดหน่อยครับ คือ เต่าบินเพิ่มตู้เพิ่มเท่าตัวแต่จำนวนยอดขายเฉลี่ยจต่อแก้วไม่ลดลง แถมยังเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แสดงว่าตู้เต่าบินเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจริงๆครับ คือมี Demand มารออยู่อย่างเห็นได้ชัดมากๆ
✔ เน้นการหาสถานที่วางตู้ที่ขายได้ตลอด 24 ชม. เช่น ถ้าไปวางในโซนออฟฟิศหรือโรงงานยอดขายวันเสาร์-อาทิตย์จะแทบไม่มีเลย
◼️MROs◼️
✔ ยังล่าช้ากว่าแผนอยู่ แต่คาดว่าธุรกิจนี้จะเริ่มกลับมาน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี
🚩​4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
◼️การเติบโต◼️
✔ Q2/2022 ยังมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ ในส่วนของ EMS ดีขึ้นอย่างชัดเจน
✔ ปีนี้ตั้งงบลงทุนใน FVD ในการขยายตู้และลงทุนใน MROS และมีแผนการขยายโรงงานเพิ่มอีก 2 โรงในการผลิตตู้เต่าบินและเก็บวัตถุของตู้เต่าบิน
✔ ปีนี้ยังตั้งเป้าโต 20% โดยมาจากยอดคำสั่งซื้อคู่ค้ารายใหญ่ของ EMS และยอด EV Charger ที่โตจากปีที่แล้วจาก 1,200 ⇒ 2,000 ตู้ และยอดขายของเต่าบินจะโตขึ้นเรื่อยๆ
◼️Tao Bin◼️
✔ FORTH ขายตู้ให้ FVD ตู้ละประมาณ 300,000 บาท ส่วน NPM ตอนนี้เป็น 1 Digit แต่กำลังปรับปรุงให้เป็น 2 Digit แน่นอน
✔ งบเดี่ยวจะรับรู้กำไรทันที รับรู้ยอดขายทันที ส่วนงบรวมจะทยอยรับรู้ตามอายุตู้ที่ 8 ปี
✔ กำลังศึกษาการวางตู้เต่าบินตามหมู่บ้านและร้านค้าเหมือนกับตู้บุญเติมมีความเป็นไปได้สูงมาก
✔ มีจำนวนสมาชิกที่อยู่ระดับ “ผู้เฒ่าเต่า” สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมากกว่า 500 หมายเลข
◼️EMS◼️
✔ ไม่ได้รับการรับงานแผงวงจรรถ EV แต่รับแผงวงจรให้กับอุปกรณ์ Power Board ที่ใช้กับ Solar Cell ตามบ้าน
✔ แต่บริษัทมีศักยภาพในการรับงานชิ้นส่วนรถ EV ได้
◼️EV Charger◼️
✔ FSMART จะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่อง EV Chager
✔ เน้นการขายเครื่องให้ถูกที่สุด โดยกำไรจะมาจาก Transaction ระบบหลังบ้าน เรื่องการเก็บเงิน การดูแลระบบ การดูแลรักษาเครื่อง โดยรายได้ที่ได้มาจะแบ่งกับเจ้าของที่ดิน เจ้าของเครื่อง และคนดูแลตู้
✔ EV Charger ของบริษัทตั้งอยู่ตามหัวเมือง ตามรพ. โรงแรม
✔ EV Charger จะใช้กลยุทธ์เอา Volume เข้าสู้เพื่อให้สามารถกดราคาได้ถูกที่สุด
💡 Key Takeaways & Ideas
▪ รายได้หลักของบริษัทมาจากทั้ง 3 ขาเป็นหลักนะครับ ส่วนรายได้ที่ Growth มากๆในรอบนี้จะมาจากธุรกิจ EMS แต่ถ้าเรามองภาพอนาคตขาฝั่ง Smart Service แอดยังมองว่ายังมี Runway ให้วิ่งอีกยาวพอสมควร
▪ ความเสี่ยงของธุรกิจ EMS ที่ต้องระวังมากๆ คือ บริษัทพึ่งพาคู่ค้ารายใหญ่เจ้านึงที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย
▪ เรามาว่ากันที่ส่วนแบ่งกำไรของ FORTH ในตู้เต่าบินกันบ้างนะครับ โดยถ้าอิงจากจำนวนหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ถือ FVD จะอยู่ที่ 55% ครับ เพราะฉะนั้นคิดเร็วๆ กำไรทุกๆ 100 บาทที่ขายเต่าบินจะเป็นของ FORTH มากว่าครึ่งที่ 55 บาทครับ และขอบอกว่าเต่าบินนี่โตเก๊งเก่ง และจากแอดไปใช้บริการหลายครั้งขอบอกว่า Happy ครับ ซึ่งบริษัททำ Product ออกมาได้ดีมากๆ
▪ มองภาพอนาคตในการเติบโตเราจะเห็นภาพธุรกิจ Smart Servie ที่ผู้บริหารให้ภาพได้ชัดเจนที่สุด ทั้งตู้เต่าบิน และ EV Charger ส่วนธุรกิจ EMS ก็เป็นธุรกิจที่สนับสนุนตู้เต่าบินและ EV Charger ส่วน Enterprise Solution ก็ต้องติดตามเรื่อง Balcklog เรื่อยๆครับ
▪ ศักยภาพในการตั้งตู้เต่าบินและดูแลตู่แอดว่าไม่น่าใช่ปัญหา เพราะบริษัทมีประสบการณ์ในการตั้งตู้บุญเติมเป็นแสนจุดทั่วประเทศมาแล้ว และ Demand ของคนอยากได้ตู้และ End User ผู้ใช้บริการถือว่าช่วงนี้มากว่า Supply อย่างเห็นได้ชัดครับ ปัญหาที่บริษัทพูดมาตลอด คือ การผลิตตู้ให้เพียงพอนี่แหระครับ
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบคอนเทนต์ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
Reference:
▪ One Report ของบริษัทปี 2021
สามารถฟัง Oppday ตัวเต็มได้ที่ ▶️
#OpportunityDay #OppdayQ12022 #หุ้นโรงงาน #เต่าบิน #FORTH
โฆษณา