3 ก.ค. 2022 เวลา 03:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุด นับตั้งแต่เดือนม.ค. ปี 17 เราควรเอาเงินไปไว้ไหน
4
นับตั้งแต่ย่างเข้าปี 2021 มา ค่าเงินบาทเราก็อ่อนค่ามาเรื่อยๆ ตั้งแต่แถวๆ 30 บาท/ดอลล่าร์ มาอยู่ที่ 35.59 บาท/ดอลล่าร์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ปัจจัยการอ่อนค่า หลักๆมาจาก การจากไปของยุคดอกเบี้ยต่ำ กับการปรับตัวไม่ทันของนโยบายการเงินทั้งโลก
1
เดือนพ.ค. 2021 เงินเฟ้อไทย อยู่ที่ 2.44% YoY ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.0%
ต้นปี เดือน ม.ค. 2022 เงินเฟ้อไทย อยู่ที่ 3.23% YoY ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.5%
3
เงินเฟ้อสหรัฐฯ
เงินเฟ้อไทย
เหมือนสัญญาณเงินเฟ้อไทยเราเริ่มชะลอ แต่ฝั่งสหรัฐฯ ยังขยับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้กำหนดนโยบายการเงินในสหรัฐฯบอก เงินเฟ้อเรื่องขั่วคราว ยังเอาอยู่ ขณะที่ฝั่งไทย บอกไม่เห็นสัญญาณเงินเฟ้อมา จำเป็นต้องคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจต่อไป
1
มาดูกันต่อ
เดือนพ.ค. 2022 เงินเฟ้อไทย อยู่ที่ 7.10% YoY ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ อยู่ที่ 8.6%
ของสหรัฐฯ นี่คือ รายงานตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ของไทยเราเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 13 ปี
มาดูด้านการปรับตัวของนโยบายการเงินทั้ง 2 ประเทศกัน
เฟด เปิดรายงาน Dotplot ตอนเดือนม.ค. ต้นปี มองสิ้นปี 2022 Fed Fund Rate จะอยู่ที่ 0.75% ไม่มีเฟดคนไหนมองว่าจะทะลุเกิน 1.00% เลย ตอนนั้น Fed Fund Rate อยู่ที่ 0.25%
1
มาดู Dotplot ล่าสุดเดือนมิ.ย. คณะกรรมการทุกคน ปรับมุมมองดอกเบี้ยนโยบายขึ้นหมด มอง Fed Fund Rate เฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.40% ปลายปีนี้ และไม่มีคนไหนมองต่ำกว่า 3.00% เลย ล่าสุดเฟดขยับดอกเบี้ยขึ้นมาอยูที่ 1.75%
2
Fed dot plot June meeting
ฝั่งไทยเรา ต้นปี ดูจากรายงานการประชุมกนง. ที่เปิดเผยวันที่ 23 ก.พ. 2022 พบว่า ยังไม่กังวลเงินเฟ้อในไทยเรา มีนโยบายคงดอกเบี้ยและมองทั้งปีจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยสักครั้ง ถึงแม้จะเห็นสัญญาณเงินเฟ้อจากที่สหรัฐฯ และตลาดเกิดใหม่อย่างละตินอเมริกาแล้ว
3
แต่การประชุมล่าสุดวันที่ 8 มิ.ย. เริ่มต่างออกไป มองเงินเฟ้อมีโอกาสสูงเกินกรอบนโยบายทั้งปีนี้ และกนง. ที่มีทั้งหมด 7 ท่าน เริ่มเสียงแตก ถึงแม้มติออกมาจะคงดอกเบี้ย แต่มีกรรมการ 3 ท่าน เห็นว่า ควรขยับขึ้นดอกเบี้ยเลยอย่างน้อยๆ 0.25% แต่ตั้งแต่ต้นปี ดอกเบี้ยนโยบายของไทยเรา ก็ยังอยู่ที่เดิม 0.50%
2
เปรียบเทียบเงินเฟ้อสหรัฐฯ กับ เงินเฟ้อไทย เอาเข้าจริง ก็วิ่งขึ้นมาเรื่อยๆเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันก็คือ ตั้งแต่ต้นปี เฟด ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1.50% แต่ กนง. ไทยยังคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิมมาตั้งแต่ต้น และสิ่งนี้เองที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า
3
เพราะถ้าคุณเคยกู้ดอลล่าร์มาลงทุนตอนช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำๆ เห็นดอกเบี้ยขยับขึ้นแบบนี้ คุณก็ต้องอยากคืนดอลล่าร์กลับไปมากขึ้น
ขณะที่ ถ้าคุณเคยฝากเงินที่อื่น พอเห็นดอกเบี้ยที่สหรัฐฯ เริ่มสูงขึ้น คุณก็จะเริ่มคิดแล้วว่า จะเอาเงินออกไปเสี่ยงในตลาดหุ้นเยอะๆแบบในอดีตทำไม
มองครึ่งปีหลัง นักลงทุนก็เริ่มไม่เชื่อใจเฟดแล้ว
เพราะพูดมาตลอดว่าเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว แล้วนี่อะไร ผ่านมาปีเนิง ไม่เห็นลดลง แถมสูงสุดในรอบ 40 ปีอีกต่างหาก ก็เลยทำให้นักลงทุนคาดว่า จากวันนี้ไปจนถึงปลายปี เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 2.0% ซึ่งถ้าทำจริง จะแปลว่า Fed Fund Rate ปลายปีควรจะทะลุ 3.75% ซึ่งมากกว่าประมาณการจาก Dotplot ขึ้นไปอีก
1
คาดการณ์ Fed Fund Rate จาก Bloomberg
แล้วกนง. เราจะเร่งสปีดขึ้นดอกเบี้ยทันหรอ?
คำตอบคือ “ยากมาก” เพราะเราออกสตาร์ทช้ากว่าเฟดมาแล้วหลายช่วงตัว ซึ่งเมื่อเราขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเขาอีกในช่วงครึ่งปีหลัง ก็แปลว่า Interest Rate Gap หรือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะยิ่งห่างออกไป
ด้วยเหตุนี้เอง เงินทุนจึงอยากไหลไปสหรัฐฯ มากกว่าที่จะอยู่ในไทยต่อไป และเหตุการณ์นี้จะยังดำเนินต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นช่วงที่เฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่า การสู้กับเงินเฟ้อ คือ First Priority ณ ชั่วโมงนี้
2
งั้น เงินบาทจะอ่อนไปได้ถึงไหน?
ค่าเงินทั้งโลกเปรียบเทียบดอลล่าร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปี ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2022
ถ้าดูจาก Technical Chart บริเวณ 36.40 บาท/ดอลล่าร์ เป็นโซนสูงสุดเดิมที่เงินบาทเคยขึ้นไปแตะตอนเดือนมี.ค. 2009 และ เดือนต.ค. 2015 เพราะฉะนั้น บริเวณนี้สำคัญ ซึ่งถ้าแนวต้านนี้แตกเมื่อไหร่ ก็มีโอกาสไปไกลถึงโซน 37.50 - 38.00 บาท/ดอลล่าร์ เลยทีเดียว
จะมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่าต่อหรือไม่?
เฟด ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเร็วเท่าที่ตลาดคาด …. ซึ่งมันต้องแปลว่า เห็นสัญญาณชะลอของเงินเฟ้อ ดังนั้น จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯให้ดีๆ ส่วนเงินเฟ้อไทย น่าจะยังอยู่ในระดับสูงไปอีกอย่างน้อยๆ 3 เดือน เพราะ ราคาพลังงานที่ระดับสูง กำลังถูกส่งผ่านไปที่สินค้าหมวดอื่นๆแล้ว
เศรษฐกิจสหรัฐฯกลับมาชะลอ …. ถ้าชะลอจริง ความจำเป็นที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยก็จะหายไป ส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐฯกับไทยก็จะไม่ถ่างออกไปมากกว่านี้
1
ซึ่งข้อ 2. นี่ มีเสียว เพราะล่าสุด เฟดสาขา Atlanta มีการคาดการณ์ว่า GDP ไตรมาส 2/22 ของสหรัฐ มีโอกาสออกมาติดลบ -2.1%
1
และเพราะ GDP ไตรมาส 1/22 ของสหรัฐฯ ออกมาติดลบไปแล้ว -1.6% ถ้าตัวเลขอย่างเป็นทางการไตรมาส 2/22 ออกมาติดลบด้วย เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่ “Technical Recession”
1
และข้อมูลในอดีตบอกกับเราว่า สหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อไหร่ มันมักเป็นช่วงที่ค่าเงินดอลล่าร์ไม่ค่อยอ่อนค่า หนักไปทางแข็งขึ้นมากกว่า สาเหตุเพราะ แรงขายในสินทรัพย์เสี่ยงจะเกิดขึ้น และนักลงทุนแห่กลับไปถือเงินสดเพื่อรอดูสถานการณ์กันก่อน
2
สรุป ตอนนี้เราควรเอาเงินไปไว้ไหน?
1
ไว้ในตลาดหุ้น เสี่ยง Downside ยังไม่หมด
ไว้ในพันธบัตร ดอกเบี้ยกำลังจะขึ้น ราคาตราสารหนี้ก็ยังมีโอกาสลง
1
ไว้ในทอง ตั้งแต่ต้นปี ก็ไม่ขยับไปไหนเลย แถมดอลล่าร์แข็ง ก็ไม่ดีกับทอง แต่ถ้า Recession มาจริง ทองก็สร้างผลตอบแทนได้ดีนะ
5
ไว้ในคริปโตฯ ยังไม่เห็นจุดกลับตัวของตลาด
กอดเป็นเงินสด โดนเงินเฟ้อกินหมดตอนนี้ เพราะดอกเบี้ยเงินฝากต่ำติดดิน
1
แต่ถ้าคิดจาก Downside Risk ในสินทรัพย์เสี่ยง ถือเงินสดไว้ให้เยอะหน่อยช่วงนี้ และรอจังหวะเวลาที่เหมาะสมใส่เพิ่มในเข้าตลาดหุ้น หรือ สินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ในวันที่ข่าวร้ายเต็มตลาด (นี่ยังไม่เต็มตลาดอีกหรอ!!)
6
กระบวนการลงทุน มันไม่ใช่แค่เปิดแอฟแล้วกดซื้อขาย จังหวะแบบนั้น มันคิดเป็นแค่ 1% ของกระบวนการทั้งหมด นักวิ่ง 100 เมตร จะทำเวลาให้ต่ำกว่า 10 วิ แต่เขาใช้เวลาการฝึกซ้อมทั้งชีวิต กว่าจะต่ำ 10 วิได้
9
ช่วงนี้ใส่ความรู้เข้าสมองเยอะๆ เมื่อความรู้มันพร้อม เวลาโอกาสมันมา มันจะไม่ใช่แค่โอกาสของคนอื่น แต่เป็นโอกาสของเราด้วย
3
โชคดีในการลงทุนครับ
โฆษณา