Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BBข่าว
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2022 เวลา 06:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เครดิตเพจ:ลงทุนแมน
ทำไม เงินเฟ้อสูง เราต้องขึ้นดอกเบี้ย ? เรื่องที่คนไทย ทุกคนควรรู้ /โดย ลงทุนแมน เงินเฟ้อเยอรมนีสูงสุดตั้งแต่รวมประเทศ เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาสูงสุดในรอบ 41 ปี เงินเฟ้อของประเทศไทยก็สูงสุดในรอบ 14 ปี
ถนนแต่ละสายมีจุดหมายไม่เหมือนกัน จงทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
ภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมัน และอาหารที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ทั้งโลกกำลังประสบกับภาระค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุจำเป็นให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อ
หลายคนอาจจะมองว่าการขึ้นดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยขาขึ้น จะยิ่งซ้ำเติมให้ภาระการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และหนี้สินต่าง ๆ ของเราเพิ่มขึ้นไปอีก
แต่ในทางกลับกันแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยก็เป็นมาตรการที่จะเข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินได้เช่นกัน
คนที่ชอบตำหนิความผิดพลาดของคนอื่น คือคนที่ชีวิตนี้ไม่เคยคิดจะทำอะไรเลย
แล้วการขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยเรา อย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี
blockdit.com/download╝
การพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อ กระทบกับเราตรง ๆ โดยที่
- ถ้าเราจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการในมูลค่าเท่าเดิม เราก็จะซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง
- ถ้าเราต้องการซื้อสินค้าและบริการในจำนวนเท่าเดิม เราก็ต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ล้วนส่งผลให้ฐานะความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่นั้นแย่ลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง ก็จะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น
ผลที่ตามมาคือ เรารวมถึงภาคธุรกิจก็จะชะลอการกู้ยืม ชะลอการลงทุน เพราะดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะแพงขึ้น
เมื่อการลงทุนน้อยลง ความต้องการสินค้าและบริการในเศรษฐกิจก็น้อยลงตาม ทำให้ผู้ขายสินค้าไม่กล้าที่จะขึ้นราคาสินค้ามาก เพราะถ้าขึ้นราคามาก ก็อาจจะไม่มีใครซื้อสินค้า
ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ย ก็จะเข้ามาช่วยลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไปได้ และเมื่อปรับขึ้นดอกเบี้ยถึงในระดับที่เหมาะสม เสถียรภาพของเศรษฐกิจก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ซึ่งนี่ถือเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เพราะหากไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลย หรือตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไป เงินเฟ้อที่พุ่งทะยานอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของผู้บริโภคทรุดและย่ำแย่ลงไปอีก
1
จากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ทำให้มูลค่าเงินที่เราถืออยู่ด้อยค่าลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกในปัจจุบันจะต่างจากเงินเฟ้อแบบปกติที่เกิดจากเศรษฐกิจที่เติบโต ผู้คนต้องการสินค้าทำให้เกิดเงินเฟ้อ (Demand-pull Inflation)
แต่ภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้เป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นจากความขาดแคลน หรือที่เรียกกันว่า Cost-push Inflation
ธุรกิจที่ยังพอมีความสามารถขึ้นราคาตามเงินเฟ้อได้ ก็อาจจะกระทบไม่มากนัก แต่ธุรกิจที่ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่แพงขึ้นไปให้ผู้บริโภคได้เลย ก็เรียกได้ว่าหายนะ เพราะต้นทุนสูงทำให้กำไรลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็ขึ้นราคาสินค้าไม่ได้
และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดเงินเฟ้อที่เป็น Cost-push Inflation เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะ สินค้าไม่สามารถลดราคาได้ลงต่ำกว่าต้นทุนได้ ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จะสามารถชะลอเงินเฟ้อในฝั่งบริการได้เท่านั้น และจะแก้ไขเงินเฟ้อในฝั่งราคาสินค้าได้น้อยมาก
ซึ่งถ้ายังขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูสถานการณ์ นอกจากเงินเฟ้อจะไม่ลดลงมาก แต่ยังจะทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มจากสินเชื่อบ้านและธุรกิจที่จ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไม่ไหว และทำให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวมตามมา จนทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยได้เช่นกัน
แล้วการขึ้นอัตราดอกเบี้ย มีข้อดีในด้านไหนอีกบ้าง ?
1
- สำหรับผู้ที่ฝากเงิน
โดยเฉพาะวัยเกษียณ ที่มักจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากเงินกับธนาคาร การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล รวมไปถึงการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนชั้นดี
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้สินทรัพย์เหล่านี้ มีการให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคต
ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้ผู้ที่เก็บออม และผู้ที่ลงทุนในหุ้นกู้ ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น
- ช่วยลดภาระการขาดดุลการค้าให้แก่ประเทศ
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ค่าเงินในประเทศนั้น ๆ แข็งค่าขึ้น เนื่องจากโดยธรรมชาติของเงินทุนไหลนั้น จะไหลไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ที่มีเสถียรภาพ และเอื้อต่อบรรยากาศการลงทุน
ก่อนหน้านี้ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
พอตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าประเทศอื่น ๆ ก็เลยทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นจนอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 35 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งถ้าประเทศไทยยังนำเข้าน้ำมันดิบเท่าเดิมที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ประเทศไทยจะนำเข้าน้ำมันแพงขึ้น 6% ทันที
แต่ความจริงที่เราทุกคนต้องเจอในตอนนี้ ไม่เพียงแต่ค่าเงินบาทที่กำลังอ่อน
ราคาน้ำมันดิบยังปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
หมายความว่าเรากำลังจะมีต้นทุนที่แพงขึ้น 2 เด้ง ทั้งจากค่าเงินที่อ่อนลง และราคาน้ำมันที่แพงขึ้น
ในปี 2564 ที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมีต้นทุนการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยเดือนละ 64,500 ล้านบาท
ขณะที่ 4 เดือนแรกของปี 2565 นี้ ประเทศไทยมีต้นทุนการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยเดือนละ 103,600 ล้านบาท
ยิ่งค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปมากเท่าไร จะยิ่งทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าแพงขึ้นตามไปด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จะยิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น
จนส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าต้องปรับราคาสินค้าขึ้น และจะเร่งให้เงินเฟ้อในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอีก
ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะมีส่วนเข้าไปช่วยพยุงให้เงินบาทไม่อ่อนค่าลงไปมากกว่านี้
ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้บ้าง
สุดท้ายเรื่องนี้เป็นการพิสูจน์ได้ว่า
การปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งขึ้นและลง เป็นวัฏจักรทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดอกเบี้ยจะไม่ได้ขึ้นไปตลอด และจะไม่ได้ลงมาอยู่ในระดับต่ำติดดินไปตลอด (เหมือนที่หลายคนเคยเข้าใจผิดก่อนหน้านี้)
และวัฏจักรนี้ ก็จะมีธุรกิจหรือผู้ที่ได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ และแน่นอนว่าก็มีผู้ที่ได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เช่นกัน
การติดตามว่าภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงนั้นมีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร
ก็อาจทำให้เราปรับตัวเอง ให้ไปอยู่ในด้านที่ได้ประโยชน์
หรืออย่างน้อย ทำให้เราโดนผลกระทบน้อยที่สุด นั่นเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี
blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -
longtunman.com
Blockdit -
blockdit.com/longtunman
Facebook -
facebook.com/longtunman
Twitter -
twitter.com/longtunman
Instagram -
instagram.com/longtunman
Line -
page.line.me/longtunman
YouTube -
youtube.com/longtunman
TikTok -
tiktok.com/@longtunman
Spotify -
open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts -
podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud -
soundcloud.com/longtunman
References
-
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256501FinancialWisdom-.aspx
-
https://www.wsj.com/livecoverage/stock-market-news-inflation-consumer-price-index-may-2022#:~:text=U.S.%20consumer%20inflation%20in%20May,highest%20reading%20since%20December%201981
.
-
https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=188&language=th
-
https://www.bangkokpost.com/business/2287594/bank-of-thailand-holds-rate-while-warning-inflation-breaching-target
-
https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNCountry&Option=2&Lang=Th&ImExType=0
ธุรกิจ
การเงิน
การลงทุน
3 บันทึก
5
1
3
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย