3 ก.ค. 2022 เวลา 07:56 • การศึกษา
แด่น้องแมว ผู้มีถิ่นที่อยู่บนหลังคา ตอนที่ 1
น้องแมว หรือน้องสุนัข ถือว่าเป็นสัตว์ ตามนิยามในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557
“สัตว์” หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน
สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม
แสดงว่า สัตว์ไม่มีเจ้าของ ก็อยู่ในขอบข่ายของสัตว์ที่ต้องได้รับการป้องกันการทารุณกรรมด้วย ปัญหาก็คือ สัตว์ที่ไม่มีเจ้าของที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่มนุษย์ หรือสร้างปัญหาให้แก่มนุษย์จนถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มนุษย์ หรือสิทธิของบุคคลจะได้รับการดูแลจาก กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ หรือไม่
คำตอบ ตามแบบฉบับของนักกฎหมาย คือไม่ครับ เพราะบางคนจะตีความตั้งแต่ชื่อของกฎหมายว่า ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ คือ การมุ่งไปที่ประโยชน์ของสัตว์ ต้องการป้องกันมนุษย์ไม่ให้ทำร้ายสัตว์ เป็นเป้าหมาย
ทั้งๆที่ ความเดือดร้อนจากสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ เช่น มูลสุนัข หรือแมว ที่ถ่ายเรี่ยราดตามหน้าบ้าน หรือบนหลังคาบ้าน ก็เป็นความเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากการรับเลี้ยง สุนัขหรือแมวจรจัดของบางคน โดยการให้อาหาร ด้วยความรักต่อสัตว์ แต่ไม่ต้องการรับผิดชอบในปัญหาหรือการขับถ่ายของสุนัขและแมวจรจัด จนส่งผลกระทบต่อพี่น้องผู้พักอาศัยในหมู่บ้าน หลายแห่งๆ ซึ่งหากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ใส่ใจต่อปัญหาเหล่านี้ หรือ เกรงกลัวต่อกลุ่มผู้รักสัตว์ ก็จะก่อเกิดปัญหาเช่นที่ใครหลายคนกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
ในบทความต่อไป ผู้เขียนจะขยายความเรื่องราวของ หมาแมวจรจัด กับการดำเนินการในแง่มุมกฎหมาย ในทุกมิติ เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน ในตอนต่อๆไปนะครับ
โฆษณา