3 ก.ค. 2022 เวลา 14:36 • ปรัชญา
กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ
สำหรับในแง่มุมของ อจินไตย
สำหรับผมแล้ว ผมอาจจะตอบไม่ตรงคำถาม
ของคุณอาทิตย์เรือนสิบ สักเท่าไหร่
แต่ว่าเหนือสิ่งอื่นใดนั้น คำว่ากรรมนั้น
เราไม่ควรคิดไปถึงชาติก่อน
โดยโยนความผิดให้กับภพชาติที่เป็นอจินไตย
ที่เราไม่มีวันหยั่งถึงเลย
บ่อยครั้งที่เราเห็นความสกปรกของสังคม
ในแง่มุมที่หลากหลาย ถ้าหากผู้พิพากษา
หรือคนที่ถือกฎหมายอยู่ในมือ
เช่นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
จะพูดว่ากฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ
โดยที่เรายังเห็นคนดีถูกรังแกอยู่แบบนี้
เราก็ควรเอาคำว่ากรรมนั้น โยนถังขยะไปซะ
1
เราเอาปัจจุบันนี่แหละ เป็นการพิสูจน์ต่อสู้
การยืนหยัดในหลายๆสถานการณ์
เป็นตัวบ่งชี้มากกว่า
ความไม่สมเหตุสมผล
เช่น การที่เราเชิดชูใครบางคน แม้ว่าคนนั้น
เบื้องหลังจะมีแต่ความคดโกง การร่ำรวยแบบผิดๆ การสร้าง connection เพื่อให้ตัวเองมีอำนาจ แล้วเรากลับบอกว่าคนนี้ เป็นคนที่มีบุญ เป็นคนที่ทำกรรมดี ชาตินี้เขาเลยโชคดี
คือโยนให้เป็นเรื่องของภพชาติ
มากกว่าการพิจารณา หรือวิพากษ์วิจารณ์
หรือการต่อสู้ทางนิติรัฐ ซะอีก
สำหรับผมคิดว่า
ไอ้คำว่า กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอนั้น
อาจจะกลายเป็นนิยามสำหรับการเพิกเฉย
ต่อสิ่งที่ผิด ก็เป็นไปได้นะ
2
เพราะฉะนั้นคำว่ากฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ
ควรทิ้งไว้ในแง่มุมของศาสนาในเหลี่ยมที่ลึกซึ้ง
ที่มันเป็นอจินไตย มีแต่อริยบุคคลเท่านั้น
ที่จะสัมผัสถึงได้
โฆษณา