4 ก.ค. 2022 เวลา 10:50 • ไลฟ์สไตล์
ซีรีย์การเงิน - การสร้างวินัยทางการเงิน
จากบทความก่อนหน้าเราคุยกันไปแล้วในส่วนของความสำคัญ และวิธีการของเงินออม ซึ่งต่อมาผมมองว่าจุดสำคัญคือ แล้วจะทำให้มันสำเร็จได้ไง เก็บเงินยาวติดต่อกันตั้งหลายสิบปี 😓
จะทำยังไงให้มันรอดตลอดรอดฝั่ง ? 🧐
วันนี้ครับ ฤกษ์งามยามดี ที่ผมจะมาเหลาให้ฟังกัน ก็มีหลายวิธี หลายแนวคิด ที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน เผื่อจะก่อให้เกิดไอเดียตามสไตล์ท่านเองได้ในอนาคต เอาล่ะ มาเริ่มกันเลย !
วิธีที่ 1 : เก็บเงินก่อนใช้ในแต่ละเดือน เดือนละ 10–20% ของรายได้
วิธีนี้ถ้าให้ดีก็ควรทำบัญชีแยก เอาไว้สำหรับออมเงินโดยเฉพาะเลยก็ดี 📃
วิธีที่ 2 : ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
ถ้าใครชอบลืมจดนะครับ ก็ให้ลองคำนวณว่ารายจ่ายที่มันต้องจ่ายทุกเดือน เช่น ค่าข้าว, ขนม, การเดินทาง, จิปาถะ เป็นต้น โดย list ว่าแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง แล้วแยกเงินส่วนนั้นไว้ก่อนใช้เลยครับ เช่น
เราใช้เงินตกวันละ 300 บาท ก็แยกไว้ 300 x 30 วัน = 9,000 บาท แล้วแบ่งเงินก้อนนี้ใช้ตามเหมาะสมจะแบ่งเป็นรายสัปดาห์/10วัน ได้หมด ตามที่ผู้อ่านสะดวก (1)
เพราะบางคนทำงานเป็นกะ ทำ 4 หยุด 2 หรือทำงานปกติ ทำ 5 หยุด 2 ซึ่งเรื่องความเหมาะสม ผมว่าตัวผู้อ่านรู้ดีที่สุดครับ
แล้วก็รายจ่าต่อเดือนที่ต้องมี เช่น ประกันสังคม, ค่าเน็ต, ค่าที่พัก และอื่นๆ (2)
ถ้ามีค่าใช้จ่าย add-on นี่ไม่นับรวมกับข้างบนนะครับ เช่น กินเลี้ยง, เที่ยว, ซ่อมรถ หรืออะไรที่แบบว่ามันไม่ได้ทำตลอด (3)
ถ้าสามรายจ่ายนี้ คำนวณแล้วเงินรายได้ต่อเดือนไม่พอ ให้เริ่มจากการปรับลดลงมา อะไรลดได้ก็ลด อะไรที่ท่านรู้สึกว่าลด หรืองดไปเลย ก็ไม่มีผลกับชีวิตมากครับ
แต่ถ้ารู้สึกว่า เฮ้ ! ก็ของมันต้องมีอ่ะ ! 💁🏼‍♂️
ผมว่าควรหารายได้เสริมทางอื่นเพื่อสนองความต้องการนั้นๆ ครับ
ถ้าบอกว่าก็รายได้มันน้อยเกิน แค่จะกินยังไม่มี ไม่ต้องถึงขั้น 10–20% หรอกครับในตอนเริ่มต้น เริ่มสักเดือนละ 500 บาท ก่อนก็ได้ครับ 👌🏻
ถ้าเราทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย เราจะมีวินัย และบริหารเงินเก่งขึ้นครับผม 👍🏻
ซึ่ง 2 ข้อข้างต้นก็คือ "การวางแผนระยะสั้น" นะครับ
วิธีที่ 3 : วางแผนระยะกลาง
จะโฟกัสไปที่รายจ่ายเผื่อของ "รายจ่ายระยะสั้น" ของเราครับ ปกติก็เผื่อไป 3–6 เท่า เพื่อที่มีเหตุฉุกเฉินทำให้รายได้ของเราชะงัก/ลดลงจากปกติ
ซึ่งถ้าเรามีเงินส่วนนี้ เราจะสามารถมีชีวิตต่อไปโดยไม่เดือดร้อน 3–6 เดือน (ตามจำนวนเท่าเลยครับ)
โดยเขาว่ากันว่า ถ้าพนักงานควรจะเก็บเงินจากรายจ่ายทั้งหมด 3–6 เดือน ส่วนฟรีแลนซ์ 8–12 เดือน โดยคิดจากความเสี่ยงของที่มาของรายได้ครับ
ถ้าออมเงินกันถึงเป้าแล้วก็สามารถวางแผนระยะกลางกันต่อได้เลยครับ โดยเงินส่วนที่ใช้ยามฉุกเฉิน ใครที่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอยู่แล้ว จะคิดออกมาได้ง่ายเลยครับ
ระยะกลางจะมอบให้กับการ "ผ่อนบ้าน" หรือ "ผ่อนรถ" ครับ หรืออะไรก็ได้ที่ต้องใช้เงินก้อนระดับนึงในการแลกมา
ซึ่งอาจจะต้องมีการคำนวณรายจ่ายต่อเดือนที่จะมากขึ้น หรือต้องใช้เงินดาวน์ สิ่งพวกนี้ท่านต้องศึกษาก่อนจะซื้อ/ทำสัญญานะครับ ถ้าคำนวณมาละว่าผ่อนไหว ก็จัดเลย
แต่ถ้ายังก็เก็บเงินจนถึงจุดนึงแล้วค่อยดาวน์ หรือต่อยอดธุรกิจเพื่อหาเงินเยอะมากขึ้นก็ได้ครับ
แล้วจะเก็บเงินไว้ที่ไหนดี ? ไหนบอกมีเงินเฟ้อไงละเตง
จริงๆ ถ้าเมื่อก่อนเราจะพักเงินไว้ในสินทรัพย์พวกกองทุนรวม/ทองคำ/ตราสารหนี้ หรืออีกมากมายครับ
แต่ช่วงตลาดขาลงนี่อันตรายครับ เพราะเงินเราค่าจะลดลงเร็วพอๆ กับเงินเฟ้อ หรือมากกว่าด้วยซ้ำครับ
ถ้าเป็นโมเดลการเงินเมื่อก่อนที่ตลาดยังสดใส และไม่มี bitcoin ผมจะแนะนำกองทุนรวมครับ ซึ่งจริงๆ ก็สามารถลงดีเทลลึกอีกหน่อยก็ได้ แต่ถ้าตอนนี้จะพูดรวมๆ ก็มี…
วิธีการเลือกซื้อ (ดูผลดำเนินการ + ดู score + mega trend ในอนาคต)
/ วิธีลดความเสี่ยงของกองทุนรวม (DCA 5 ปี + กระจายหลายหลายแนวของการลงทุนแต่ละกองทุน + การแบ่งสัดส่วนของ port + การคำนวณกำไรจากเงินที่ลง)
แต่ไหนๆ ก็ได้พิมพ์ละ คันมือ แถมให้สักหน่อยละกันนะ
(ขออภัยครับ เวลาผมเขียนบทความ ผมชอบปล่อยฟรีสไตล์ ไม่ได้ร่างสัดส่วนมาก่อนเขียน ถือว่าเป็นสไตล์ผมเขียนละกันนะครับ 5555)
อันแรกขอพูดถึงการแบ่งสัดส่วนของพอร์ตนะครับ
1. เสี่ยงเยอะ > จัดเลยเบิ้มๆ กองทุนหุ้น 100 % ; เหมาะกับคนอายุน้อย โอกาสแก้ตัวเยอะกว่าครับ 👦🏻
2. เสี่ยงกลาง > กองทุนหุ้น 70% + ตราสารหนี้ 30% หรือ กองทุนผสม 100% ; อยากเสี่ยงมากขึ้น แต่ก็ play safe 👱🏻
3. เสี่ยงน้อย > กองทุนหุ้น 50% + ตราสารหนี้ 50% ; ภาระเยอะ เสี่ยงเยอะบ่ได้ 👶🏻
4. เกษียณแล้ว > กองทุนหุ้น 30% + ตราสารหนี้ 70% หรือตราสารหนี้ 100% ; พูดตรงๆ ว่าจะตายกันแล้วครับ อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องมีกำไรอะไรมาก ใช้ชีวิตในวัยนี้ให้คุ้มดีกว่าครับ 👨🏻‍🦳
สัดส่วนที่ออกมาเป็นแบบนี้เพราะว่ากองทุนหุ้น อย่างที่เรารู้ถ้าเศรษฐกิจดี มีโอกาสกำไร 8–12% ต่อปี และ DCA ถึงจุดๆ นึง (5 ปี/จำนวนหุ้นถึงเป้า บลาๆ) แล้วเราจะ take profit ใน 10–20 ปีข้างหน้า ก็ได้ 📈
ส่วนตราสารหนี้ เหมือนเราพักเงินให้แพ้เงินเฟ้อน้อยที่สุดครับ เรทเงินเฟ้อ 3% ตราสารหนี้ประมาณ 2.5% ถือเป็นที่พักที่น่าสนใจครับ 📝
จะขอปิดท้ายด้วยการคำนวณกำไรคร่าวๆ จากการลงทุนนะครับ
สมมติว่า เงินลงทุน 500,000 บาท
ซื้อกองทุนรวม 300,000 บาท > 300,000/500,000 = 0.6
ซื้อตราสารหนี้ 100,000 บาท > 100,000/500,000 = 0.2
ซื้อบิทคอยน์ 100,000 > 100,000/500,000 = 0.2
ประมาณการณ์กำไรกองทุนรวม 10%, ตราสารหนี้ 2%, บิทคอยน์ 4% (จริงๆ เยอะกว่านี้บอกเลย 555)
จะได้ว่า = (0.6*10) + (0.2*2) + (0.2*4) = 6 หมายความว่าทั้งพอร์ตคุณจะกำไรประมาณ 6% จากเงินต้นครับ
บทความหน้าจะมาพูดถึง LTF, RMF และประกัน เพราะ 3 อย่างนี้ผมมองว่ามันคือการลดภาษีที่จะต้องจ่ายคร้าบบบบ
เป็นยังไงกันบ้าง คิดเห็นยังไงเมนท์กันได้นะครับผม ไว้เจอกันบทความหน้าครับ 💜
โฆษณา