Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เด็กการบิน
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2022 เวลา 13:39 • การศึกษา
ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error)‼️‼️‼️
การบินเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องที่ต้องปรับให้เข้ากับกลไกของตลาด
การปฏิบัติการบินนั้น ผู้ควบคุมอากาศยาน หรือนักบินจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการควบคุมบังคับเครื่องบินให้เครื่องบินอยู่ในสถานะ ที่ถูกต้องหรือกรณีเครื่องบินมีปัญหานักบินต้องปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติติการบินเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสามารถนำเครื่องบินกลับมาลงสนามบินด้วยความปลอดภัย และจากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุจานวน 75 ครั้ง พบว่า มีสาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่า 70.0% เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (นักบิน)
ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error)
นักบินจำเป็นที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่มีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์เฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ให้ได้
แต่เมื่อใดก็ตามที่นักบินมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการ ปฏิบัติการบินได้เสมอ
ดังนั้นความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน
การป้องกัน ไม่ให้อากาศยานอุบัติเหตุนั้นนักบินหรือผู้ปฏิบัติงานต้องนาความรู้เรื่องการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการบิน
ถ้าจะกล่าวถึง อากาศยานอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของอากาศยานส่งผลทำให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องเกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรืออากาศยานได้รับความชำรุดเสียหาย โดยเกิดขึ้นจากการตั้งใจทำการบิน และอยู่ระหว่างเวลาที่บุคคลอยู่ในอากาศยานจนถึงบุคคลลงจากอากาศยาน
ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือไม่ กระทำของผู้ปฏิบัติงานเป็นผลทาให้การปฏิบัติงานไม่สาเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยลักษณะ ของความผิดพลาดของมนุษย์
ได้แก่
(1) ไม่กระทำเมื่อถึงเวลาต้องกระทำ
(2) กระทำเมื่อไม่ต้องการให้กระทำ
(3) การกระทำที่ไม่ถูกต้อง
(4) การกระทำไม่ทำตามขั้นตอนการทำงาน
(5) การกระทำที่ล่าช้า
การปฏิบัติการบินเป็นการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งความสาเร็จของการบินโดยอากาศยานไม่เกิดอุบัติเหตุ นั้นขึ้นกับความรู้ความสามารถทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน และ Reason (1997) ได้ศึกษาลักษณะพฤติกรรมของ ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ในการทางานที่เป็นสาเหตุให้การปฏิบัติงานไม่ประสบความสาเร็จได้
โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
1. การพลั้งเผลอ (Slips) คือ ความผิดพลาดเกิดจากความจาของผู้ปฏิบัติงานเสียไปชั่วขณะและไม่ได้ตั้งทำ แต่สุดท้ายกลับมานึกขึ้นได้เองและสามารถปฏิบัติงานได้
2. การลืม (Lapses) คือ ความผิดพลาดเกิดจากความจำของผู้ปฏิบัติงานเสียในสิ่งที่เรียนรู้และไม่สามารถ ทำตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ โดยไม่ได้ตั้งใจทำและไม่รู้ตัวว่าทำผิดพลาด
3. การทำผิด (Mistakes) คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจทำของผู้ปฏิบัติงานและไม่รู้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง โดยการทำผิดสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
(1) การทพผิดเกิดในขั้นของการใช้กฎเกณฑ์ (Rule Based) คือ การไม่เข้าใจกฎการบินและระเบียบวิธีการ ปฏิบัติงานอื่นๆ อย่างดีพอ
(2) การทำผิดเกิดในขั้นความรู้พื้นฐาน (Knowledge Based) คือ การมีความรู้ด้านการบิน ยังไม่พร้อมหรือขาดความรู้ด้านการบินในส่วนนั้น
4. การฝ่าฝืน (Violation) คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจทำของผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติงาน ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน และรู้ว่าทำผิดซึ่งเป็นอันตรายมากกว่าความผิดพลาดชนิดอื่นๆ
การฝ่าฝืนสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
(1) การฝ่าฝืนเป็นกิจวัตร (Routine Violations) คือ การฝ่าฝืนที่ทาจนเคย ชินเกิดขึ้นบ่อย และการยอมรับความเสี่ยงจนเป็นเรื่องปกติ
(2) การฝ่าฝืนตามสถานการณ์ (Situational Violations) คือ การฝ่าฝืนตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสภาพแวดล้อม จากแรงกดดันด้านเวลา ขาดการกากับ ดูแล ขาดแคลนเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
(3) การฝ่าฝืนแบบตื่นเต้น (Optimizing Violations) คือ การฝ่าฝืนเพื่อทำให้งานนั้นน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้นเนื่องจากความน่าเบื่อหน่ายของงาน
(4) การฝ่าฝืนแบบยกเว้น (Exceptional Violations) คือ การไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือการไม่มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้
จากหลักการดังกล่าว ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าความรู้พื้นฐานด้าน ความผิดพลาดของ มนุษย์นั้นเป็นส่ิงที่อธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะนาไปสู่การทางานที่ผิดพลาดได้ และการเรียนรู้การจัดการความ ผิดพลาดของนักบินจะช่วยป้องกันการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี SHELL โมเดล (International Civil Aviation Organization, 2013) ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงว่ามนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับส่ิงแวดล้อมต่างๆ เพื่อทำงานให้ประสบความสำเร็จ และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่มีโอกาศเกิดข้ึนได้นั่นเอง
Aviation accident. (2019). Korean Air Flight KL801 [Online]. Retrieved March 1, 2019, from:
http://www.aviation-accidents.net/korean-air-boeing-b747-hl7468-flight-kl801/
Aviation Safety Network. (2019). Air France Flight 447 [Online]. Retrieved
Thanakorn Eiampan1. Human Error Management in Aviation. (2019). College of Aviation & Transportation, Sripatum University.
International Civil Aviation Organization. (2013). Safety Management Manual (Doc 9859).Montréal: International Civil Aviation Organization.
พบว่า มีสาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่า 70.0% เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (นักบิน)
นักบินจำเป็นที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่มีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์เฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ให้ได้
แต่เมื่อใดก็ตามที่นักบินมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการ ปฏิบัติการบินได้เสมอ
ดังนั้นความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน
การป้องกัน ไม่ให้อากาศยานอุบัติเหตุนั้นนักบินหรือผู้ปฏิบัติงานต้องนาความรู้เรื่องการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการบิน
Human error
ถ้าจะกล่าวถึง อากาศยานอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของอากาศยานส่งผลทำให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องเกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรืออากาศยานได้รับความชำรุดเสียหาย โดยเกิดขึ้นจากการตั้งใจทำการบิน และอยู่ระหว่างเวลาที่บุคคลอยู่ในอากาศยานจนถึงบุคคลลงจากอากาศยาน
ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือไม่ กระทำของผู้ปฏิบัติงานเป็นผลทาให้การปฏิบัติงานไม่สาเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยลักษณะ ของความผิดพลาดของมนุษย์
ได้แก่
(1) ไม่กระทำเมื่อถึงเวลาต้องกระทำ
(2) กระทำเมื่อไม่ต้องการให้กระทำ
(3) การกระทำที่ไม่ถูกต้อง
(4) การกระทำไม่ทำตามขั้นตอนการทำงาน
(5) การกระทำที่ล่าช้า
Error
การปฏิบัติการบินเป็นการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งความสาเร็จของการบินโดยอากาศยานไม่เกิดอุบัติเหตุ นั้นขึ้นกับความรู้ความสามารถทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน และ Reason (1997) ได้ศึกษาลักษณะพฤติกรรมของ ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ในการทางานที่เป็นสาเหตุให้การปฏิบัติงานไม่ประสบความสาเร็จได้
โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
1. การพลั้งเผลอ (Slips) คือ ความผิดพลาดเกิดจากความจาของผู้ปฏิบัติงานเสียไปชั่วขณะและไม่ได้ตั้งทำ แต่สุดท้ายกลับมานึกขึ้นได้เองและสามารถปฏิบัติงานได้
2. การลืม (Lapses) คือ ความผิดพลาดเกิดจากความจำของผู้ปฏิบัติงานเสียในสิ่งที่เรียนรู้และไม่สามารถ ทำตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ โดยไม่ได้ตั้งใจทำและไม่รู้ตัวว่าทำผิดพลาด
3. การทำผิด (Mistakes) คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจทำของผู้ปฏิบัติงานและไม่รู้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง โดยการทำผิดสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
(1) การทพผิดเกิดในขั้นของการใช้กฎเกณฑ์ (Rule Based) คือ การไม่เข้าใจกฎการบินและระเบียบวิธีการ ปฏิบัติงานอื่นๆ อย่างดีพอ
(2) การทำผิดเกิดในขั้นความรู้พื้นฐาน (Knowledge Based) คือ การมีความรู้ด้านการบิน ยังไม่พร้อมหรือขาดความรู้ด้านการบินในส่วนนั้น
4. การฝ่าฝืน (Violation) คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจทำของผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติงาน ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน และรู้ว่าทำผิดซึ่งเป็นอันตรายมากกว่าความผิดพลาดชนิดอื่นๆ
การฝ่าฝืนสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
(1) การฝ่าฝืนเป็นกิจวัตร (Routine Violations) คือ การฝ่าฝืนที่ทาจนเคย ชินเกิดขึ้นบ่อย และการยอมรับความเสี่ยงจนเป็นเรื่องปกติ
(2) การฝ่าฝืนตามสถานการณ์ (Situational Violations) คือ การฝ่าฝืนตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสภาพแวดล้อม จากแรงกดดันด้านเวลา ขาดการกากับ ดูแล ขาดแคลนเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
(3) การฝ่าฝืนแบบตื่นเต้น (Optimizing Violations) คือ การฝ่าฝืนเพื่อทำให้งานนั้นน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้นเนื่องจากความน่าเบื่อหน่ายของงาน
(4) การฝ่าฝืนแบบยกเว้น (Exceptional Violations) คือ การไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือการไม่มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้
จากหลักการดังกล่าว ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าความรู้พื้นฐานด้าน ความผิดพลาดของ มนุษย์นั้นเป็นส่ิงที่อธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะนาไปสู่การทางานที่ผิดพลาดได้ และการเรียนรู้การจัดการความ ผิดพลาดของนักบินจะช่วยป้องกันการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี SHELL โมเดล (International Civil Aviation Organization, 2013) ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงว่ามนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับส่ิงแวดล้อมต่างๆ เพื่อทำงานให้ประสบความสำเร็จ และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่มีโอกาศเกิดข้ึนได้นั่นเอง
Credit :::
Aviation accident. (2019). Korean Air Flight KL801 [Online]. Retrieved March 1, 2019, from:
http://www.aviation-accidents.net/korean-air-boeing-b747-hl7468-flight-kl801/
Aviation Safety Network. (2019). Air France Flight 447 [Online]. Retrieved
Thanakorn Eiampan1. Human Error Management in Aviation. (2019). College of Aviation & Transportation, Sripatum University.
International Civil Aviation Organization. (2013). Safety Management Manual (Doc 9859).Montréal: International Civil Aviation Organization.
#เด็กการบิน
บันทึก
1
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย