5 ก.ค. 2022 เวลา 15:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ซีรีย์การเงิน - ลดภาษีด้วย…
จากบทความที่แล้วนะครับ ผมเกริ่นๆ ไว้ถึง RMF, LTF และ ประกันต่างๆ นะครับ
ซึ่งจะขอพูดถึงแบบคร่าวๆ นะครับ ไม่อยากลงลึกมาก เพราะมันก็ไม่ได้มีอะไรมากสำหรับผม เป็นเครื่องมือๆ นึง ในการลดหย่อนภาษีที่เราต้องจ่ายในแต่ละปีเท่านั้นครับ
คือจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ถ้ารายได้เราต่อปีไม่ได้เยอะอะไรมากครับ 😂
เราจะเริ่มกันที่ LTF นะครับ ซึ่งมันย่อมาจาก "Long Term Equity Fund" หรือแปลได้ว่า "กองทุนรวมหุ้นระยะยาว"
ซึ่งจะขออธิบายรวมๆ พร้อมกันกับ RMF เลยนะครับ เพราะคล้ายกันนิ
และ RMF นั่นย่อมาจาก "Retirement Mutual Fund" หรือแปลว่า "กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ"
สองตัวต่างกันยังไง ? และมันมีไว้ทำอะไร ?
ไอ้ต้าว 2 กองทุนนี้มันคือๆ กันกับกองทุนรวม
ซึ่งมันมีประโยชน์ในการ…….
1. ลดภาษีได้ (เมนหลัก) แต่มีเงื่อนไขการซื้อและขายที่ต่างกัน (ห้ามผิดเงื่อนไขเด็ดขาด เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย)
2.ลดภาษี ! ย้ำอีกที เพราะมันมีเอาไว้ทำแค่นี้แหละ สำหรับผม 555555
เนื่องจากมันคือกองทุนรวม ก็จะมีของหลายเจ้า ก็สามารถไปเลือกซื้อกันได้ ว่าแต่ละเจ้าเขาเข้าซื้อตัวไรบ้าง มันก็มีเว็บเอาไว้คัดหุ้นอยู่ แต่ค่อยว่าละกันนะ
โดยพวกนี้จะมีหลายประเภท เช่น
- LTF จะมีแบบเดียว คือลงทุนในหุ้น
- RMFFEQ จะลงทุนในหุ้น
- RMFFIX จะลงทุนในตราสารหนี้
- RMFMIX จะลงทุนในหุ้นผสมตราสารหนี้
- RMFOTH จะลงสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ทองคำ เป็นต้น
LTF
ตามกฎหมายแล้วกองทุนหุ้นทั่วไปจะมีสัดส่วนของ หุ้น:อื่นๆ (80:20) แต่ LTF จะมีสัดส่วน (65:35) และกำไรเฉลี่ยก็อยู่ที่ประมาณ 8–12% เหมือนกันครับ
เอ้า ! แล้วจะซื้อกองทุนรวมไปทำไม ? มันดูเสี่ยงกว่าเยอะ
เพราะความรุงรังเลยครับ เงื่อนไขการซื้อคือ ซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น แถมห้ามเกิน 500,000 บาทอีก (แต่ซื้อกี่กองก็ได้)
แล้วมันยังไง ไอ้ห้ามเกิน 15% ของรายได้อ่ะ ??
เช่น เงินเดือนและโบนัส 500,000 บาท ขายหุ้นได้กำไร 50,000 บาท ซึ่งเราจะคิดโควต้าการซื้อแค่ 500,000*0.15 = 75,000 บาท เท่านั้น กำไรจากขายหุ้นไม่นับ 👨‍💻
ใครอยาก DCA LTF ก็จัดเลยครับ เอาโควต้าที่ซื้อได้ หาร 12 เพื่อเฉลี่ยซื้อในแต่ละเดือนครับผมมม
ถ้าผิดเงื่อนไขไม่เสียภาษีละแอบมาซื้อ หรือซื้อเกินโควต้า จะถูกนำกำไรที่ได้จากการขายส่วนเกินไปคิดภาษีครับ
แล้วเงื่อนไขการขายล่ะ ?
ถ้าเมื่อก่อนมันจะมีแบ่งสำหรับคนซื้อก่อน 1 มกราคม 2559 กับหลังจากนั้นครับ
เพราะจำนวนปีปฏิทินที่ถือครองจะไม่เท่ากัน งั้นผม assumed ไปเลยนะครับ ว่าต้องถือ 7 ปีปฏิทินครับ ! 👻
ถ้าเกิดว่าขายก่อนกำหนดจะต้องคืนเงินที่ลดหย่อนภาษีมา และโดนปรับ แถมเงินที่ขายแล้วได้กำไรก็ต้องเอาไปคิดภาษีอีก ขี้แตกครับจังหวะนี้ 😱
RMF
ตัวนี้ให้มองเป็นเงินออมครับ เพราะไม่มีปันผลเหมือน LTF แต่เอามาลดภาษีได้ ซึ่งกลุ่มนี้จะจะเน้นความหลากหลายของสิ่งที่จะลงทุนครับ
เงื่อนไขการซื้อนั้น 15% ของรายได้เหมือน LTF แต่บวกค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันบำนาญเข้าไปด้วย แถมต้องซื้อปีเว้นปีสำหรับกองเดิม เช่น
ซื้อกอง A ตอน ปี 64 ดังนั้นปี 65 ห้ามซื้อกอง A ซ้ำ แต่ปี 65 เราไปซื้อกอง B ได้ครับ แถมการซื้อทีนึงต้องซื้ออย่างน้อย 3% ของรายได้ หรือ 5,000 บาท
เงื่อนไขการขายมาแล้วจ้า
เหมือนกันครับ เหมือนการปรับกฎอะไรประมาณนั้นครับ ถ้าซื้อก่อน 1 มีนาคม 2551 ครบ 5 ปี หรือ 1,825 วัน สามารถขายได้เลย
ถ้าซื้อหลังจากนั้นเพิ่มไปอีก 1 ข้อ คืออายุเราต้องครบ 55 ปีบริบูรณ์ครับ ถึงจะขายได้ โดยอายุจะนับจากวันที่ซื้อหน่วยแรกของกองทุน RMF นั้นๆ ครับ
ถ้าผิดเงื่อนไขล่ะ ?
ก็แน่นอนล่ะครับ คืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี แถมคืนช้าโดนปรับเพิ่ม แล้วตอนขายถ้าได้กำไรก็โดนเอาไปคิดภาษีอีก 😣
สำหรับเจ้า 2 ตัวนี้นะครับ ผมมองว่ามีไว้ลดภาษี และเก็บเงินไว้สำหรับตอนเกษียณครับ เพราะมันเหมือนบังคับเราออมเงินไปในตัว โดยเดือนละ 5,000 up
ผมมองว่ามันไม่ได้เยอะอะไรมาก สำหรับคนเลือกแผนนี้ เพราะคนซื้อแผนนี้ (น่าจะ) เป็นคนที่มีรายได้ระดับนึงแล้ว รู้สึกว่าเสียภาษีแต่ละทีนั้น มันไม่คุ้มซะเลย 💁‍♂️
คนที่เสียภาษีน้อย หรือไม่เสียอาจจะยังไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนใน 2 อย่างนี้ครับ ไปเสี่ยงกับอย่างอื่น อาจจะได้เงินมากกว่า (อันนี้เหมือน safe bet ครับ เงื่อนไขเลยเยอะ)
และกองทุน 2 อันนี้ ยกเลิกยากครับ เพราะเงินหมุนในตลาดจากกองพวกนี้เยอะมาก เหมือนเงินต่อเงิน new money มาหมุนลงทุนเพื่อจ่าย old member และสู้เงินเฟ้อ (เป็นแค่ในมุมมองผมนะครับไม่ใช่ fact)
ถ้าภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจจะมีเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอีกครับ
เนื่องจากพูดถึงการลดภาษี ก็ต้องพูดนิดหน่อยเกี่ยวกับภาษี (tax) นะครับ
ภาษีคิดตามรายได้เราเลยครับ ยิ่งเยอะยิ่งจ่ายเยอะ 🥶 ซึ่งเงินที่เราจ่ายก็เอาไปพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแหละครับ 🤪
555555555555555555555555555555 เหรอวะ ?
ถ้าอยากได้ลึกๆ ผมว่าเว็บ iTax ก็ค่อนข้างครบนะครับ มีแอพคำนวณภาษีเราด้วย
แต่ถ้าคิดง่ายๆ นะครับ
ซื้อ LTF, RMF และประกัน กี่บาท รวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้วมาหักลบกับรายได้สุทธิของเรา ถ้าไม่เกินก็ไม่ต้องจ่ายภาษีเลย แต่ถ้าเกินมาก็ได้ลดหย่อน
งงมั้ยครับ 5555 เอาตัวอย่างไปปปปป
สมมติว่า….
รายได้ทั้งปีหักลดหย่อนจิปาถะ เหลือ 450,000 บาท เท่ากับว่าตอนนี้เราอยู่บันไดขั้น 3 ที่เสียภาษี 10%
คิดจาก 450,000–300,000 (upper ของขั้นก่อนหน้า) = 150,000 บาท
หมายความว่าจะต้องจ่ายภาษี 7,500 (ภาษีขั้นก่อนหน้า) + (150,000*10%) = 22,500 บาท (โดนไปอิ่มๆ ครับ)
แต่ ! แต่ถ้าเกิดว่าเรามีประกัน/RMF/LTF
สมมติหวดประกันมา 20,000 บาท LTF และ RMF กองละ 75,000 บาท (max quota buy) ลดหย่อนตรงนี้ไป (20,000 + 75,000 + 75,000 = 170,000 บาท)
ดังนั้น 450,000–170,000 = 280,000 บาท เกินบันไดขั้น 1 มา 130,000 บาท
ก็คิดต่อได้ว่าภาษีที่ต้องจ่ายคือ 130,000*5% = 6,500 บาท
ใครงงขั้นบันได ลองหาดูตารางเสียภาษีดูได้ครับผม ผมเรียกงี้ของผมเองนะครับ ไม่รู้จริงๆ เรียกว่าอะไร 5555
เป็นไงครับ มหัศจรรย์ยูเรก้ามั้ยครับ ช่วยลดได้เยอะเลยครับ
พิมพ์ไปพิมพ์มา แอบยาวเหมือนกันนะครับเนี่ย 55555555 ตอนแรกนึกว่าสั้นๆ งั้นส่วนของประกันไว้เป็นบทความหน้าละกันนะครับ อาจจะแถมวิธีสร้างไฟล์คำนวณเล่นๆ ใน excel กับตัวอย่างการวางแผนเกษียณให้นะครับผม
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวลาไปก่อนนะครับ ขอให้มีชีวิตรอดอย่างสวัสดิภาพในยุคเศรษฐกิจเลวร้ายแบบนี้นะครับผม
ปล. สไตล์การเขียนผมจะชอบผสมแนวคิดของผมลงไปด้วย บางบรรทัดผมอาจไม่ได้วงเล็บบอกไว้ให้นะครับ รบกวนผู้อ่านไตร่ตรองเวลาอ่านด้วยนะครับ หรือจะให้ดีคืออ่านเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่นจะดีมากๆ คร้าบ
โฆษณา