10 ก.ค. 2022 เวลา 09:22 • ธุรกิจ
#หากต้นไม้ใดจะโตถึงสวรรค์รากย่อมหยั่งถึงนรก
เพราะส่วนสูงของต้นไม้ธรรมชาติ ไม่ใช่ไม้ในกระถาง
1
หรือไม้ในดินเลวพื้นหิน กรวดดินที่โตสูงถึงสวรรค์
เพราะอนัตตาจะเกิดได้ ต้องสำเร็จมากสุด
แล้วจึงปล่อยวาง เหมือนพุทธองค์ที่มีพร้อมทุกอย่างสูงสุด
ก็บำเพ๊ญบารมีด้วยการใช้สติปัญญา ที่มีจิตพร้อม
เจตสิกที่ห่อหุ้มจิตพร้อมด้วยบุญบารมี
ก็ใช้ปัญญาด้วย "ทางสายกลาง" ไม่ตึงไม่หย่อน พอดีๆ
ในการรู้เท่าทันโลก คือความจริงของมนุษย์(อริยสัจ4)
และความจริงทั้งสองของธรรมชาติ(ไตรลักษณ์และปฏิจสมุทปบาท)
จึงเป็นดั่งหนึ่งของต้นไม้ที่โตถึงสวรรค์ที่รากหยั่งถึงนรก อย่างแท้จริง
หรือถ้ายังไม่โตมากจนพร้อมแล้วและยังติดยึดบ้าง
ก็แค่ปรับ แค่ลด "อัตตา"เมื่อบรรลุเป้าตอบโจทย์แล้ว
พุทธองค์ถึงปรินิพพานแค่ 80ปี
มนุษย์ที่ฝึกฝนเพื่อบรรลุกำหนดชะตาชีวิตตนเอง
แบบพ่อแม่เลี้ยงลูกให้พัฒนาการพึ่งตนเองนั้น
มนุษย์ไม่ว่าพระ ฆราวาส
แม้ไม่ "สันโดษในกุศลกรรม"
แต่สันโดษในอกุศลกรรม
ตรงกันข้าม "โลภ"ในกุศลกรรม
ก็มีปัญหา(เจ้าอาวาสวัดใหญ่ที่อยากให้ฆราวาสสร้างวัดวิจิตรพิศดาล)
"หลง"กุศลกรรมมาก ก็มีปัญหา เยี่ยงมหาเศรษฐี1/9องค์ สมัยพุทธองค์ที่ดูแลตักบาตรพระวันละประมาณพันองค์ต่อคน
ที่องค์หนึ่งยากจนลงมาก ก็ถามพุทธองค์ว่า ทำไมทำบุญแล้วยิ่งจนลงแทนจะรวยขึ้น
พุทธองค์ก็ตอบเน้น "ทางสายกลาง=พอดีๆๆๆ(พอดีของคนเงินมากต่างกับพอดีของคนเงินน้อย)
ที่เศรษฐีคนนั่นปฏิบัติตาม ก็สามารถคืนกลับมาเป็นเศรษฐีได้เหมือนเดิม
หริอ "พอดีๆๆ"อย่างสมเด็จฯกรมพระยาปวเรศ ฯที่ท่านรักษาการณ์สมเด็จณพระสังฆราชสมัย ร .4เกือบ23ปี
เมื่อเป็นฯสังฆราชแค่ปีอายุเพียง83ก็สิ้นพระชนท์ปี2435
เพราะมีพระสงฆ์อาสุโสกว่าท่านๆที่ไม่ควรข้าม จึงรับแค่รักษาการฯ
สมเด็จกรมหลวงปวเรศรับตำแหน่งแค่2ปีก็สิ้น
ความปรารถนาแรงกล้า (passion)ในการทะนุบำรุงศาสนา(ไม่ได้ไปแย่งใคร)
จึงต่างกับ"ตัณหา=ทะยานอยาก"
ความมั่นใจสูงเกิน ถ้าใครมี= หยิ่งยโสโอหัง
แต่ถ้าตอนพายุแรงๆ จำเป็นต้อง มั่นใจสูงกว่าเดิม แล้วก็แค่"ลดอัตตา"
ทั้งใครที่"รักตัวเองเกิน=เห็นแก่ตัว"
ความพอดี/ทางสายกลาง จึงไม่ทำให้ "ความปรารถนาแรงกล้า" ใม่เป็น "ความทะยานอยาก"(ตัณหา)
**โดย ศ.ดร.ดิเรก ฤกษ์หร่าย 10 กรกฎาคม 2565 www.blockdit/direkrerkrai
โฆษณา