หากจะย้อนกลับไปตั้งข้อสงสัยว่า กลุ่มชินเซ็นกุมิเริ่มได้รับความนิยมและเข้ามาโลดแล่นในวงการสื่อบันเทิงญี่ปุ่นได้อย่างไรนั้น ในงานวิจัยเรื่อง ‘Becoming-Minor through Shinsengumi: A Sociology of Popular Culture As a Culture of the People’ ของ Rosa Lee ได้กล่าวว่า ภายหลังการสิ้นสุดลงของสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างงานประเภทวัฒนธรรมสมัยนิยมมากขึ้น เพื่อปลอบโยนสังคมซึ่งกำลังบอบช้ำด้วยพิษสงคราม กลุ่มชินเซ็นกุมิจึงกลายเป็นตัวละครที่น่าสนใจภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม
จุดเปลี่ยนสำคัญของการทำให้ตัวละครชินเซ็นกุมิกลายมาเป็นตัวละครเด่นในวัฒนธรรมสมัยนิยมเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เมื่อ ชิบะ เรียวทาโร่ นักเขียนนิยายแห่งชาติ ได้เริ่มสร้างซีรีส์นิยายอิงประวัติศาสตร์ 2 เรื่องที่มีชินเซ็นกุมิเป็นตัวละครหลัก นั่นก็คือ The Bloody Chronicles of Shinsengumi (1964) และ The Blazing Sword (1972) โดยในเรื่อง The Blazing Sword ได้ยกย่องกลุ่มชินเซ็นกุมิและ ฮิจิคาตะ โทชิโซ รองผู้บัญชาการของกลุ่ม ในฐานะวีรบุรุษซึ่งต่อต้านวัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture)
Nishida, Masayuki. (2018). The Role of a Community-based Organization in Promoting Anime Contents Tourism in Takehara City, Hiroshima, Japan. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, ปีที่ 35(1), 76-97. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/165112.