13 ก.ค. 2022 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก “ขาดดุลแฝด” ที่ทำให้ ลาว ศรีลังกา ล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
หากเราเปรียบเทียบวิกฤติเศรษฐกิจเป็นมรสุม และเปรียบเทียบประเทศเป็นเรือ
คลื่นที่กำลังพัดผ่านเราไปแล้ว คงเป็นวิกฤติโควิด 19
แม้คลื่นจะผ่านไป ก็ไม่ได้แปลว่ามรสุมกำลังจะผ่านพ้นไปด้วย
2
เพราะคลื่นลูกถัดมาอย่างวิกฤติเงินเฟ้อรุนแรง กำลังเข้ามาซ้ำเติมเศรษฐกิจทั่วโลก
และกำลังซัดเรือที่ฐานไม่มั่นคง อย่างศรีลังกา และลาว จนอาจจะอับปางลงได้ทุกเมื่อ
4
มันเกิดอะไรขึ้นกับทั้งสองประเทศนี้ ?
สำหรับสถานการณ์ในตอนนี้ ศรีลังกาและลาวกำลังประสบกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อรุนแรง
3
โดยในเดือนที่ผ่านมา
- อัตราเงินเฟ้อของลาวอยู่ที่ 23.6%
- อัตราเงินเฟ้อของศรีลังกาอยู่ที่ 54.6%
10
โดยสาเหตุสำคัญที่ทั้งสองประเทศนี้มีอัตราเงินเฟ้อสูง
ก็เพราะว่าทั้งลาวและศรีลังกา กำลังเผชิญกับปัญหา “การขาดดุลแฝด”
3
การขาดดุลแฝด หรือ Twin Deficits คือ การขาดดุลบัญชีคลัง และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อม ๆ กัน
1
- การขาดดุลบัญชีคลัง เกิดจาก รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เกิดจาก การขาดดุลสุทธิของดุลการค้า รวมถึงดุลบัญชีบริการ
6
เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ เป็นสถานการณ์ที่เงินไหลออกนอกประเทศ
แต่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้จ่ายมากกว่ารายรับที่หาได้
สุดท้าย ก็จำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศ
6
ซึ่งการขาดดุลแฝด เป็นสิ่งที่มักจะพบเจอในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการยังน้อย เมื่อเทียบกับสินค้าที่ต้องนำเข้า
4
ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศก็ยังมีไม่มากพอ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาลไปกับโครงการขนาดใหญ่ เช่น ระบบคมนาคม โรงไฟฟ้า
2
เริ่มกันที่ประเทศลาว
1
โดยพื้นฐาน ลาวเป็นประเทศนำเข้า มากกว่าส่งออกอยู่แล้ว
โดยลาวมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยมากถึง 90% และการซื้อขายก็จะจ่ายกันเป็นเงินบาท หรือดอลลาร์สหรัฐ บวกกับราคาพลังงานที่ต้องนำเข้าเป็นหลักแพงขึ้นเป็นประวัติการณ์
2
ในขณะที่ภาคการส่งออกที่พึ่งพาการท่องเที่ยว กลับต้องเจอกับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19
ทั้งสองส่วนนี้ทำให้ลาวขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
2
ในด้านของบัญชีคลัง
หลายโครงสร้างก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
หรือ Belt and Road Initiative หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BRI ร่วมกับประเทศจีน
6
โดยการลงทุนในแผน BRI นั้น ก็เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้กับประเทศ และหวังว่าจะเป็นช่องทางในการหารายได้เข้าประเทศในอนาคต
1
ซึ่งเงินทุนที่ใช้สำหรับโครงการ BRI นั้น ก็อยู่ในรูปของการกู้ยืมเงินในสกุลต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
แถมต้นทุนทางการเงินก็ยังเพิ่มขึ้นอีก จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา
2
เมื่อดุลการส่งออกสินค้าและบริการหยุดชะงักไป
แต่ยังต้องนำเข้าสินค้าจำเป็น โดยเฉพาะน้ำมันอยู่ รวมถึงยังต้องชำระหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
ลาวจึงจำเป็นต้องงัดทุนสำรองของประเทศมาใช้
3
เมื่อเงินสำรองในประเทศเริ่มร่อยหรอ แต่ความต้องการยังเท่าเดิม
ก็ทำให้เงินกีบของลาวอ่อนค่าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3
ในอีกด้านหนึ่งก็คือ ประเทศศรีลังกา ก็กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดดุลแฝดเช่นเดียวกัน ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นต้นตอของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุด ที่ประเทศแห่งนี้เคยเผชิญ
3
แต่สถานการณ์ในศรีลังกาไม่เหมือนกับลาว ตรงที่ปัญหาการขาดดุลบัญชีคลัง ไม่ได้มาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแต่อย่างใด
6
แต่มาจากการใช้นโยบายประชานิยม บวกกับการมีสงครามกลางเมือง
ซึ่งปัญหาดังกล่าวเรื้อรังมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
7
เนื่องจากศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา จนหลายครั้งนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางชนชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงักเป็นช่วง ๆ จนต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งก็ต้องแลกมากับการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาล
รู้หรือไม่ว่าในช่วงระหว่างปี 1983 ถึงปี 2009 สงครามกลางเมืองได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจศรีลังกา ไม่ต่ำกว่า 6.6 ล้านล้านบาท เพราะมีรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศเป็นอย่างมาก นำไปสู่การขาดดุลบัญชีคลัง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
5
ในด้านของบัญชีเดินสะพัด แม้ศรีลังกาจะมีความสามารถในการผลิตน้ำมันได้เอง แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
2
บวกกับประเทศแห่งนี้ พึ่งพารายได้จากภาคบริการสูงมาก
คิดเป็นสัดส่วนถึงราว 60% ของ GDP ทั้งประเทศ
4
พอมาเจอกับวิกฤติโรคระบาด และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ทำให้รายได้ลดลง แถมยังต้องนำเข้าแพงขึ้น จึงนำมาสู่ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และค่าเงินของศรีลังกาก็อ่อนลง
2
แล้วสถานการณ์ทุนสำรองและหนี้สินของทั้งสองประเทศนี้เป็นอย่างไร ?
1
จากข้อมูลเมื่อสิ้นปี 2021
ศรีลังกามีหนี้ต่างประเทศราว 1,800,000 ล้านบาท
ขณะที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 82,000 ล้านบาท
หรือมีทุนสำรองเพียง 4.5% จากจำนวนหนี้ต่างประเทศทั้งหมด
5
ลาวมีหนี้ต่างประเทศราว 481,000 ล้านบาท
ขณะที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 42,000 ล้านบาท
หรือมีทุนสำรองเพียง 8.7% จากจำนวนหนี้ต่างประเทศทั้งหมด
9
ซึ่งก็เรียกได้ว่าทั้งสองประเทศนี้มีอัตราส่วนของทุนสำรองที่ต่ำ และมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระต่อเจ้าหนี้สูง
โดยเมื่อไม่กี่วันก่อน นายกรัฐมนตรีศรีลังกา คุณรานิล วิกรมสิงเห ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ยืนยันว่า “เศรษฐกิจของเราได้ล้มละลายโดยสิ้นเชิงแล้ว” และลาว ก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับเหตุการณ์เดียวกันในเร็ว ๆ นี้
6
สรุปแล้ว วิกฤติเงินเฟ้อในศรีลังกาและลาว
เกิดขึ้นจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจในประเทศตัวเองอยู่แล้ว
บวกกับทั้งสองประเทศมีการกู้ยืมสกุลเงินต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
และต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเป็นหลัก
3
ในสถานการณ์ปกติทั่วไป
ทั้งสองประเทศก็ยังคงพอประคับประคองให้อยู่รอดไปได้
แต่พอเผชิญเข้ากับสถานการณ์ไม่คาดฝัน
อย่างในตอนนี้ที่ต้องเผชิญกับทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ราคาน้ำมันที่แพงขึ้น แต่กลับไม่สามารถหารายได้ได้เหมือนเดิม พร้อม ๆ กัน
มันจึงกลายมาเป็นหายนะ ที่จะลุกลามไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย..
5
โฆษณา