13 ก.ค. 2022 เวลา 00:39 • ความคิดเห็น
เรียนรู้อวกาศ เรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้ตัวเรา
Cosmic Cliff
เมื่อกล้องโทรทัศน์​อวกาศ เจมส์ เวบบ์ ซึ่งเป็นกล้องที่ทันสมัยที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งโคจรอยู่ในลักษณะเดียวกับโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ห่างออกไป 1.5 ล้าน กิโลเมตร เป็นวงโคจรที่อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เรียกว่าจุดลากร็องฌ์ที่ 2
โดยเมื่อมัน เริ่มทำงาน และส่งภาพแรกมา นักวิทยาศาสตร์ และนักดาราศาสตร์​ รวมถึงคนที่สนใจเรื่องอวกาศ ก็ต้องร้องว้าว เพราะมันคือภาพ ห้วงอวกาศ ที่ลึก และละเอียดมี่สุดตั้งแต่มนุษย์​เคยพัฒนาระบบถ่ายภาพอวกาศมา จะข้อมูลที่เราเห็น เจาจะเห็น แกแล็กซีจำนวนมาก นับพันล้านแกแล็กซี่ กระจายตัวอยู่ในห้วงอวกาศที่ดูเหมือนะจะไม่มีที่สิ้นสุด
และเมื่อซูมเข้าไปอีก เราจะเห็นพฤติกรรม และปรากฏ​การณ์มากมายของดวงดาว และแกแล็กซีต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ให้เราเห็นในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่เราเห็นนั้นหาใช่สิ่งที่เกิดในปัจจุบันไม่ แต่มันคือแสงแห่งอดีต ของปรากฏการณ์​ที่เกิดขึ้นไปแล้ว นับพัน นับหมื่น นับแสน นับล้านๆ ปีแสง ด้สยความที่เอกภพ มันใหญ่โตเกินจะจินตนาการได้ แม้แต่แสงที่เดินทางเร็วยังใช้เวลานับล้านปีในการเดินทางจากจุดกำเนิดมาหาเรา
ลองนึกง่ายๆ แสงเดินทางด้วยความเร็ว ประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที (เน้นว่าต่อวินาทีนะครับ)​ แต่แสงใช้เวลาเดินทางจาก ดวงอาทิตย์มายังโลก ซึ่งอยู่ไม่ไกลมาก ก็ปาเข้าไป 8.5 นาที แล้ว แล้วลองนึกเปรียบเทียบ สเกลของ สุริยะจักรวาลของเรา ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้านกิโลเมตร กว่าแสงอาทิตย์​จะเดินทางไปจุดขอบแค่ระบบสุริยะจักรวาลของเรา ก็ปาเข้าไปกว่า 11 ชั่วโมงแล้ว
นึกขยายต่อไปอีก ว่าระบบสุริยะจักรวาลของเราที่มีโลกซึ่งเราใช้ชีวิตกันอยู่นี้ เป็นแค่จุดเล็กๆ ของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก หรืออาจเรียกภาษาไทยว่าดาราจักรทางช้างเผือก เส้นผ่าศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกมีระยะทางระหว่าง 150,000 ถึง 200,000 ปีแสง หันกลับมามอง ที่ระะบบสุริยะของเรา เส้นผ่าศูนย์กลาง​ประมาณ 22 ปีแสงเท่านั้น
หรือพูดง่ายๆ ว่าเส้นผ่าศูนย์กลาง​ของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก ใหญ่กว่าระบบสุริยะของเรา เกือบ 10,000 เท่า ผมถึงบอกว่า ระบบสุริยะเรา ก็แค่จุดเล็กๆ หรือแค่ระบบสุริยะขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่ในระบบดาราจักรทางช้างเผือก มีจำนวนดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์เราอยู่ถึง ประมาณ 1 แสนล้าน ถึง 4 แสนล้านดวง เรียกว่ายังนับกันไม่ถ้วน
เมื่อมองไกลออกไปอีก ระบบดาราจักร หรือแกแล็กซี่ทางช้างเผือกนั้น ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายแสนล้านแกแล็กซี่ ที่ถือกำเนิดขึ้น จากสมมุติฐาน ที่นักวิทยาศาสตร์​ประเมิน จากความรู้ที่เราพอมี และวัดได้จากการเคลื่อนที่เข้าออกของดวงดาว และแกแล็กซี่ต่างๆ ว่าน่าจะมีต้นกำเนิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Big Bang
โดย บิกแบง (Big Bang) หรือ "การระเบิดครั้งใหญ่" ที่ถือเป็นต้นกำเนิดของ Space Time เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก
ภาพถ่ายภาพแรกจาก กล้องโทรทัศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์
นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพ ที่ค่อยๆขยายออก หลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต (ซึ่งก็เป็นสมมุติฐานที่มนุษยชาติ และนักวิทยาศาสตร์​ พอจะจินตนาการ​ได้จากความรู้เท่าที่มี ก่อนหน้านั้น ไม่ต้องพูดถึง จินตนาการล้วนๆ)​ และปัจจุบัน เรายังคงตรวจจับการขยายตัวบองเอกภพได้อยู่จนถึงในปัจจุบัน
ย้อนกลับมาที่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการเป็นภารกิจฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา ที่เริ่มเก่า และมีข้อจำกัด
โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มันสามารถสังเกตภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดด้วยความคมชัดและความไวแสงมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นอกจากนี้ มันสามารถสังเกตวัตถุและเหตุการณ์ที่ห่างไกลในเอกภพได้ด้วย เช่น การกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร และลักษณะชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ
เนบิวล่าที่ถ่าบได้ล่าสุด
โดยหลังที่เริ่มทำการถ่ายภาพมาเพียงไม่กี่วัน นักวิทยาศาสตร์​ก็ได้ข้อมูลที่ต้องศึกษาและสังเกตการณ์​อีกจำนวนมหาศาล เราถ่ายภาพกลุ่มแกแล็กซี่ที่เคลื่อนมี่เข้าใกล้ และกำลังดึงดูดเข้าหากัน จนอาจเกิดการชนกันของแกแล็กซี่ เราถ่าภาพเนบิวล่า หรือกลุ่มฝุ่น ก๊าซ และพลาสมาในอวกาศ ที่เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์​แบบดวงอาทิตย์ ถ่ายภาพทะเลดาว และ Cosmic Cliff ที่เป็นปรากฏการณ์​รอยต่อของกลุ่มดาวที่มีความหนาแน่นต่างกัน
ทะเลดาว และ Cosmic Cliff
รวมถึงตรวจจับดวงดาว ที่อยู่ไกลโพ้น ที่มีลักษณะ​คล้ายโลก คือมีเมฆ และชั้นบรรยากาศ นี่แต่เริ่มต้นถ่ายภาพนะครับ ถ้าต่อไปเราคงจะเจออะไรอีกมากและยากจะคาดเดา
กลุ่มแกแล็กซี่ที่กำลังดึงดูดกัน
แต่สุดท้าย อยากจบลงตรงที่ให้หันกลับมามองตัวเอง ว่าเรามันคือเศษเสี้ยวธุลีของเอกภพอันใหญ่โตจนยากจะจินตนาการ จงอย่ายึดติด อย่ามีความเป็นตัวกู ของกู อย่าอยากใหญ่ อยากมีอำนาจ มีกิเลสกันนักเลย เพราะไม่ว่าใหญ่แค่ไหน ก็เทียบกับเอกภพไม่ได้เลย
และมนุยชาติเราเกิดมาบนโลก เท่าที่มีหลักฐานจากยุคหิน ก็แค่ 3 ล้านปี เทียบกับอายุของโลก 4.5 พันล้านปี มันช้างสั้นยิ่งกว่าเข็มวินาทีของจัการวาลด้วยซ้ำ และสักวันหนึ่งด้วย กิเลส ตัณหา​ ความอยากมี อยากได้ อยากยิ่งใหญ่ของมนุษย์ ก็ค่อยๆบ่อนทำลายสิ่งแวดล้อม และสภาวะบนโลก ให้อยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายมันก็ต้องสูญสลายไปในที่สุด แม้ความทะเยอทะยาน​ของมนุษย์ จะไม่สิ้นสุด คิดจะไปตั้งอาณาจักร​บนดาวดวงอื่น ก็น่าตลก คือที่แทนจะหยุดทำลายโลก กลับคิดจะหนีไปสร้างโลกใหม่กันแทน
ฝากไว้ก่อนจบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันคือวงรอบของทุกสรรพสิ่ง ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นคิดดี ทำดี มีความสุขกับทุกนาทีของชีวิต เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเวลาของเราจะหยุดลงตรงไหน
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันคือวงรอบของทุกสรรพสิ่ง ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นคิดดี ทำดี มีความสุขกับทุกนาทีของชีวิต เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเวลาของเราจะหยุดลงตรงไหน
ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง
ดร.เอกรินทร์​ วาสนาส่ง
13 ก.ค. 2565
ติดตามผมได้จากหลายช่องทางนะครับทฝาก กด Like กด Share กด ติดตามกันด้วย
Twitter: @drekarin
Tik Tok: @ekarinv
โฆษณา