13 ก.ค. 2022 เวลา 16:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Oppday FSMART Q1/2022 ⭐ : รายได้ 589 ลบ. ลดลง 5%, GPM ลดลงเหลือ 18.5% ทำให้ NP ลดลง 27% ส่วนปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 10 - 15%
Published: 18 May 2022
วันนี้พบกับ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือใช้ตัวย่อในตลาดว่า FSMART ซึ่งประกอบธุรกิจหลักให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือประเภท Pre-paid และบริการชำระเงินออนไลน์ ผ่านตู้เติมเงินภายใต้แบรนด์ "บุญเติม"
🚩​1. ลักษณะธุรกิจ
✔ เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้ากว่า 16 ล้านคนและพาร์ทเนอร์ทั้ง Mobile Operator, Bank, Insurance Broker, Government, E-Wallet โดยมีการให้บริการตู้บุญเติมกว่า 105 รายการและรองรับ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ พม่าและกัมพูชา โดยลักษณะรูปแบบธุรกิจ คือ FSMART เป็นคนจัดการเรื่องตู้ทั้งหมดและการแบ่งรายได้ ส่วนตัวแทนมีหน้าที่หาทำเล เก็บเงินและโอนเงินกลับไปให้ FSMART
✔ ธุรกิจของ FSMART แบ่งออกได้เป็น 3 ธุรกิจหลักๆ คือ
1. ธุรกิจเติมเงิน-ชำระเงินอัตโนมัติ (Online Top-Up & Payment Business): เติมเงินมือถือ Pre-paid, จ่ายเบี้ยประกัน, จ่ายค่าสินค้า, ค่าน้ำค่าไฟ, ซื้อเพลงออนไลน์, จ่ายค่าปรับ และเติมเงินบัตรโดยสารผ่านตู้บุญเติมกว่า 130,00 จุด และเคาเตอร์แคชเชียร์กว่า 1,300 จุด
2. ธุรกิจบริการทางการเงินและสินเชื่อครบวงจร (Banking Agent & Lending Business): บริการฝาก-ถอน-โอนเงิน, สินเชื่อ ผ่านตู้ e-KYC บุญเติม ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจากธนาคาร 7 แห่ง
3. ธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและการกระจายสินค้า (Vending Machine & Distribution Business): จำหน่ายสินค้าและเครื่องดื่มอัตโนมัติที่มีบริการของบุญเติม, คาเฟ่อัตโนมัติภายใต้แบรนด์ “เต่าบิน”, ตู้ EV Charger แบรนด์ “EV Net” และยังมีรายได้จากการกระจายสินค้าให้กับร้านโชห่วย
✔ บริษัทมี Transaction กว่า 1.3 ล้านครั้งต่อวัน และตู้บุญเติมส่วนมากอยู่ในต่างจังหวัดกว่า 85% จาก 130,00 ตู้
▪ กรุงเทพและปริมณฑล: 13%
▪ ภาคเหนือ: 16%
▪ ภาคใต้: 12%
▪ ภาคตะวันออก: 10%
▪ ภาคกลาง: 18%
▪ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 31%
✔ กลุ่มลูกค้าหลักๆจะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มแรงงานรายวันและผู้ประกอบการที่ใช้เงินสด, กลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลจากธนาคาร, กลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร, กลุ่มแรงงานต่างชาติ, กลุ่มคนที่ไม่สามารถใช้บริการทางการเงินผ่านธนาคาร, และลูกค้าองค์กร โดยบริษัทมีตู้บุญเติมตั้งอยู่ตามร้านโชห่วยและย่านที่อยู่อาศัยกว่า 79%
▪ ย่านที่อยู่อาศัย: 26%
▪ ร้านโชห่วย: 53%
▪ ร้านสะดวกซื้อ: 11%
▪ อื่นๆ: 10%
🚩​2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวมปี Q1/2022◼️
✔ มูลค่าการทำรายการภาพรวม -5% QoQ, -4% YoY เหลือ 9,221 ลบ. จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่กระทบฐานลูกค้าของกลุ่มบุญเติมในระดับกลาง-ล่าง
✔ รายได้ภาพรวม -17% YoY เหลือ 589 ลบ. เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนกระทบกับกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ
✔ รายได้ธุรกิจเติมเงิน-ชำระเงินอัตโนมัติ -29% YoY เหลือ 148 ลบ. จากตลาดมือถือ Prepaid ลดลงโดยลูกค้าเปลี่ยนไปใช้รายเดือน และช่องทางการเติมเงินช่องทางอื่นมากขึ้น
✔ รายได้จากการให้บริการผ่านเครื่องรับชำระเงินอัตโนมัติ -12% YoY เหลือ 436 ลบ. จากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวซึ่งกระทบกับฐานลูกค้าบริษัทโดยตรง
✔ GPM -1.3ppt เหลือ 18.5% จากต้นทุนการให้บริการที่สูงขึ้น
✔ NP -27% เหลือ 81 ลบ. และ NPM -2.1ppt เหลือ 13.7%
✔ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 1.5 เท่า และ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/E) 0.4x เท่า
🚩​3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️การเติบโต◼️
✔ เป้าหมายยอดเติมเงินตู้บุญเติมเติบโต 10 - 15%
✔ เป้าหมายยอดเติมเงินเข้า E-Wallet เติบโต 20 - 25%
✔ เป้าหมายการโอนเงินและถอนเงินเติบโต 15 - 20%
✔ เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อตั้งไว้ 1,000 ลบ.
✔ งบลงทุน 700 ลบ. ในตู้ถอนเงินและซื้อหุ้นใน FVD เป็น 26.71%
◼️Top-up and payment◼️
✔ จับมือกับ Central ในการขยายเข้า Counter Cashier กว่า 1,700 จุด
✔ เพิ่ม Service ใหม่, ย้ายตู้ที่ Performance ไม่ดีไปที่ทำเลดีกว่า
✔ ส่วนใหญ่ลูกค้าใช้บริการเติมเงินอย่างเดียว
✔ จับมือกับกลุ่ม อสม. ทำ Application สำหรับธุรกรรมการเงิน
◼️Banking Agent & Lending◼️
✔ เพิ่มตู้ถอนเงินสด 10,000 จุดภายใน 2 ปี
✔ ส่วนแบ่งในการฝากเงินผ่านตู้บุญเติม มีประมาณ 1.8 ล้านรายการต่อเดือน คิดเป็น 10% ของตลาด
✔ ส่วนแบ่งการถอนเงินผ่านตู้บุญเติม มีประมาณ 1.6 - 2 ล้านรานการต่อเดือน คิดเป็น 1% ของตลาด
✔ ทำเลที่ตั้งของตู้ห่างไกลจากตัวเมือง
✔ มองการเติบโตจำนวน Transaction ไว้ 15 - 20%
✔ การให้บริการสินเชื่อจะเน้นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนตร์ มอเตอร์ไซด์ โดยตั้งเป้าสินเชื่อไว้ 1,000 ลบ. และควบคุม NPL < 5%
◼️Vending Machine & Distriburtion◼️
✔ เน้นเรื่อง EV Charger และเจ่าบินคาเฟ่
✔ การถือหุ้นใน FVD ให้ตอนนี้อยู่ที่ 26.71% ทำให้สามารถรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก FVD ได้ในงบกำไรขาดทุน
🐢เต่าบินคาเฟ่🐢
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 5,000 ตู้ภายในปี 2022
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 10,000 ตู้ภายในปี 2023
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 20,000 ตู้ภายในปี 2024
✔ GPM 65%
✔ คาดว่ารายได้ 10,000 ลบ.ต่ปี
✔ คาดว่ารายได้ 30 ลบ./วัน โดยเฉลี่ยตั้งไว้อยู่ที่ 30 บาท/แก้ว
✔ คาดว่าขายได้ 1 ล้านแก้ว/วัน โดยเฉลี่ยที่ 50 แก้ว/วัน
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 5,000 ตู้ภายในปี 2022
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 20,000 ตู้ภายในปี 2024
✔ ตั้งเป้ายอดขายเฉลี่ยวันละ 50 แก้ว โดยตอนนี้ยอดขายเฉลี่ยต่อแก้วอยู่ที่ 34 บาท
✔ การรับรู้รายได้จะได้จาก ค่าบริหารจัดการตู้ในส่วนของการชำระเงินและระบบ Call Center, ค่าบริการบุญเติมที่ใส่ไปในตู้เต่าบิน และส่วนแบ่งกำไรจาก FVD
✔ ปัจจุบันตู้เต่าบินมี 1,454 ตู้ โดย รพ.และห้างสรรพสินค้าขายดีที่เฉลี่ยวันละ 100 แก้ว
✔ ยอดขาย Apr’22 อยู่ที่ 89 ลบ. และกำไร 24 ลบ.
✔ จำนวนแก้วเฉลี่ยใน Apr’22 ที่ขายได้ 75 แก้ว/ตู้/วัน
✔ จำนวนตู้ใน Apr’22 อยู่ที่ 1,332 ตู้ต่อวัน
✔ จำนวนยอดขายเฉลี่ยต่อแก้วใน Apr’22 อยู่ที่ 36 บาท
✔ มีการเพิ่มแผนการผลิตตู้ทุกเดือน
▪ Apr’22: 12 ตู้/วัน
▪ May’22: 15 ตู้/วัน
▪ Jun’22: 20 ตู้/วัน
▪ Jul’22: 25 ตู้/วัน
✔ มี Backlog คนรอตู้ระดับ 1,000 ตู้
🔌EV Charger​🔌
✔ เป็นธุรกิจที่ต้องใช้เวลา
◼️ตลาดเครื่องดื่ม◼️
✔ ตลาดเครื่องดื่ม 247,000 ลบ. โดยตั้งเป้ากินส่วนแบ่งการตลาด 5% (ไม่รวมตลาด Energy Drinks ที่ 20,000 ลบ.)
◼️อื่นๆ◼️
✔ งบลงทุน 700 ลบ.และตั้งเป้าสินเชื่อ 1,000 ลบ.
🚩​4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
◼️การเติบโต◼️
✔ แนวโน้มธุรกิจการเติมเงินและชำระเงินอาจะลดลงเรื่อยๆ แต่จะมีธุรกิจอย่าง Banking Agent, สินเชื่อ เข้ามาช่วยและแนวโน้มจะมีการเติบโตแซงธุรกิจเติมเงินและชำระเงินภายใน 2 ปีได้
✔ การรับรู้กำไรของตู้เต่าบินจะเริ่มรับรู้ได้ตั้งแต่ในเดือน Jun’22
✔ เป้าหมายการเติบโตปีนี้ 10 - 15%
🐢เต่าบินคาเฟ่🐢
✔ จับกลุ่มลูกค้าทุกประเภท ตั้งแต่เด็ก - ผู้ใหญ่ โดยราคาเริ่มตั้งแต่แก้วละ 15 บาท
✔ ปัญหาชิฟขาดไม่มีแล้ว เพราะสั่งชิฟมาล่วงหน้าแล้ว
✔ จุดคุ้มทุนตู้เต่าบินคือวันละ 20 แก้ว
◼️อื่นๆ◼️
✔ สัดส่วนกำไรเติมเงิน 40-45%, สินเชื่อ 50-55% ส่วนเต่าบินเริ่มมีกำไรแล้วคาดว่าจะมี 1 - 5% ในปี 2023
✔ ผลกระทบจาก True และ Dtac ยังไม่มีผลกระทบอะไร
💡 Key Takeaways & Ideas
▪ ฐานลูกค้าจากตู้บุญเติมของบริษัทหลักๆ คือ กลุ่มลูกค้าที่รายได้น้อย-ปานกลางและลูกค้าที่รับเงินเป็นเงินสด และยังมีกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มที่เข้าถึงระบบธนาคารไม่ไ่ด้ จากตอนนี้ค่าครองชีพสูงขึ้นมากๆทำให้ปัญหากับกำลังซื้อลูกค้าฐานนี้น่าจะยังมีอยู่ไปอีกครับ
▪ รายได้ฝั่งธุรกิจเติมเงินเราจะเห็นว่าลดลงเรื่อยๆ ส่วนการโอนเงินก็ลดลง ต้องมาดูปรนี้ครับว่าธุรกิจถอนเงินกับให้สินเชื่อสามารถเติบโตและมาช่วยได้มากแค่ไหน
▪ ส่วนเต่าบินมีผลกับบริษัทไม่เยอะมากในปีนี้ครับเพราะกำไรเพิ่งรับรู้ได้ในเดือน Jun’22 แค่ 26%
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบ Content ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
Reference:
▪ One Report บริษัท 2021
▪ MD&A Q1/2022
สามารถฟัง Oppday ตัวเต็มได้ที่ ▶️ https://classic.set.or.th/streaming/vdo/5270
#ลงทุนลงดอย #OpportunityDay #OppdayQ12022 #เต่าบิน #FSMART
โฆษณา