15 ก.ค. 2022 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
[A blast from the past]
🗓15 กรกฎาคม ค.ศ.1799 : การค้นพบ 🪨 ศิลาโรเซตตา (Rosetta Stone) #วุ้นแปลภาษาอียิปต์ โบราณแห่งมนุษยชาติ
15 กรกฎาคม ค.ศ.1799 ระหว่างการรุกรานอียิปต์ของกองทัพนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศส ‘ปิแอร์ ฟรองซัว ซาเวียร์ บูชาร์ด’ (Pierre François Xavier Bouchard) ได้ค้นพบศิลาจารึกใกล้เมืองโรเซตตา (ปัจจุบันคือเมืองราชิด, Rashid) ตั้งอยู่บนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำไนล์ใกล้ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอเล็กซานเดรีย ศิลาดังกล่าวจึงได้รับการตั้งชื่อตามเมืองที่ค้นพบ
#ศิลาโรเซตตา สร้างจากหินแกรนิตสีดำ กว้าง 72 เซนติเมตร และสูง 114 เซนติเมตร จารึกโดยนักบวชแห่งเมมฟิส ซึ่งกล่าวถึงความดีงามในการขึ้นครองบัลลังก์ของพระเจ้าทอเลมีที่ 5 เอพิฟาเนส (Ptolemy V Epiphanes 205 – 180 B.C.) ศิลานี้เขียนเนื้อความเดียวกันด้วยอักษร 3 ภาษา ได้แก่ อักษรอียิปต์โบราณ (Hieroglyphic, อักษรภาพ), อักษรเดโมติก (Demotic, อักษรพื้นเมืองที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวอียิปต์โบราณ) และ #อักษรกรีก
🔻กว่า 4 ศตวรรษ ที่ #อักษรอียิปต์โบราณ สร้างจากการใช้สื่อสาร ดังนั้น ความหมายและระบบการเขียนจึงเป็นปริศนาสำหรับนักภาษาศาสตร์ ด้วยความที่ศิลาโรเซตตามี 3 ภาษา จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำความเข้าใจภาษาที่สูญหายไปอย่างยาวนาน และจุดประกายให้นักวิชาการยุโรปเกิดความคลั่งไคล้ในการ #ถอดรหัสด้วยภาษากรีก
🗓ระหว่างปี 1822 - 1824 ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง (Jean-Francois Champollion) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส สามารถถอดรหัสภาษาอิยิปต์โบราณบนศิลาโรเซซตาสำเร็จ เดิมทีนักภาษาศาสตร์หลายคนคิดว่า อักษรอียิปต์โบราณที่เป็นรูปภาพ มีความหมายไปตามภาพที่ปรากฏขึ้น เช่น อักษรภาพ “นกฮูก” หมายถึงนกฮูก ในขณะที่ช็องปอลียงเชื่อว่าอักษรภาพ
🦉“นกฮูก” เป็นพยัญชนะ ที่ออกเสียงเทียบได้อักษรตัว M ในภาษาอังกฤษ โดยช็องปอลียงมีจุดเริ่มต้นความคิดนี้จากการเปรียบเทียบอักษรภาพพระนามของฟาโรห์และราชินี ซึ่งเขียนอยู่ในวงกลมรูปไข่หรือ วงแหวนอมตะ (Ring of Eternity) กับการออกเสียงในภาษากรีก
🔻จากนั้นเขาสามารถอ่านอักษรภาพที่เป็นชื่อพระนาม จารึก และประโยคสั้น ๆ ได้ 35 ปีต่อมาหลักการของช็องปอลียงถึงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้ง Egyptology
🔻ในปี 1801 โรเซตตาถูกครอบครองโดยอังกฤษ หลังจากอังกฤษมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในอียิปต์ และตั้งแต่ปี 1802 จนถึงปัจจุบันโรเซตตาถูกเก็บรักษาไว้ในบริติชมิวเซียมแห่งกรุงลอนดอน (ยกเว้นการย้ายที่ตั้งชั่วคราวเพื่อความปลอดภัยในช่วงสงครามโลก)
🔻โดยมีการเรียกร้องให้คืนโรเซตตากลับสู่ประเทศอียิปต์หลายอยู่หลายครั้งด้วยกัน "โรเซตตาสโตน" มีนัยไปถึงการถอดรหัสหรือเปิดเผยความลึกลับที่ซ่อนอยู่ และกลายเป็นชื่อของซอฟต์แวร์เรียนรู้ภาษาที่ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ หากนึกสนุกอยากเขียนเป็นภาษาอียิปต์โบราณสามารถเข้าได้ที่เว็บไซต์
หรือหากอยากเขียนชื่อของคุณเป็นอักษรภาพในวงแหวนอมตะก็สามารถเข้าได้ที่เว็บไซต์
🔻ศิลาโรเซตามีอายุยืนนานกว่ามนุษย์หลายชั่วอายุคน เป็นเหมือนสารจากอดีตตกทอดมาถึงคนปัจจุบัน การค้นพบมันถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่แล้ว แต่การอ่านมันออกทำให้เราสามารถศึกษาและบอกเล่าเรื่องราวของอารยธรรมอียิปต์ที่สูญหายมากว่าพันปีได้ น่าจะเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าของมนุษยชาติ ที่ได้สัมผัสมรดกทางวัฒนธรรมจากอดีตกาลของตนเองอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณภาพจาก : British Museum
#LetTheTrustedBeYourFriend
#TheTrusted
โฆษณา