16 ก.ค. 2022 เวลา 07:32 • การศึกษา
ผมจะเริ่มรายการใหม่ ซึ่งเป็นการสรุปบทสนทนา จากคลิปวีดีโอ จาก YouTube แน่นอนหลายๆคนชอบฟังว่ารายการนั้นๆ กำลังเล่าเรื่องอะไร
แต่สำหรับบางคน เวลาอันน้อยนิดนั้นไม่สามารถมานั่งฟังจนจบได้ หรือฟังไม่สะดวก ผมจึงนำมาทำเป็นบทสนทนา ไม่ได้สรุปความ ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัว ปรับจากการฟังนั้นเป็นการอ่าน ซึ่งต่างจากพอร์ดแคช
มาลองอ่านกันดูนะครับ
บทสนทนาแรกนี้คือ อ.ลอย ชุนพงษ์
ทอง จากรายการ SpockDark Talk
อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง จากรายการ SpockDark Talk
เริ่มต้นรายการ
จอร์น : อาจารย์ดูเหมือนในคลิปเลย แต่เอาจริงๆดูใสกิ๊งเลยนะครับอาจารย์
อ.ลอย : อ๋อ.. ผมทำ I.F. ครับ ผมกินวันละหนึ่งมื้อ เราค้นพบในหนู หนูที่กินวันละหนึ่งมื้อ หรือหนูที่กินอดๆอยากๆเนี่ย
อายุมันยืนไม่ได้เป็นโรค ต่างจากหนูที่กินอาหารไม่จำกัดมันอายุสั้น
ปาล์ม : อันนี้คือผ่านการทดลองมาแล้ว
อ.ลอย : ใช่ครับ หนูผ่านการทดลองมาแล้วหลาย 10,000 ตัว ก็ตอนแรกเราไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น จนกระทั่งมีงานวิจัยที่คอนเฟิร์มออกมา เค้าเรียกว่า Autophagy คือ เซลล์มันกินขยะในตัวเอง การที่เซลล์มันกินขยะในตัวเองทำให้เซลล์รุ่นที่สอง รุ่นถัดไปมันก๊อปปี้ตัวเองให้เหมือนใกล้เคียงกับรุ่นก่อนหน้า เพราะฉะนั้น หนูที่อดอยากปรากฏว่ามันแก่ช้ากว่า
จอร์น : อันนี้คือ Point ใช่ไหมครับ พอเปิดรายการปุ๊บทักอาจารย์ว่าหน้าใสจังเลย... ปรากฏว่าเซลล์ได้กินของไม่ดีเซลล์ที่อยู่ในตัวอาจารย์นะครับ(หัวเราะ)
อ.ลอย : ครับ ถ้าหากคุณกินเพื่อที่จะให้อายุยืน ควรกินวันละหนึ่งมื้อ แต่ถ้าต้องการเป็นนักกีฬาก็คือต้องการเน้น Performance เน้นแข่งกับคนอื่นเผลอๆ คุณอาจจะต้องกิน 4-5 มื้อ เพื่อให้แข่งได้แต่อย่าลืมว่ากิน 4-5 มื้อระยะยาวมันไม่ดี
จอร์น : ทำไมอาจารย์ถึงสนใจเรื่องที่หลากหลายขนาดนี้ ผมดูคลิปของอาจารย์ก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ ลดน้ำหนัก และดาราศาสตร์ คณิตศาตร์ การคำนวน ศาสนา เรื่องรัฐธรรมนูญ ทำไมอาจารย์ถึงมีความสนใจที่มันกว้างขนาดนี้ครับ
อ.ลอย : มันเกิดจากคำถามครับ ก็คือ คนอื่นเค้าถามว่าไอ้สิ่งเนี้ย เค้าคิดแบบเนี้ย มันถูกไหม อย่างเช่นรัฐธรรมนูญเนี่ย ผมก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะมาเกี่ยวข้อง อย่างว่าสูตรการคำนวณ ส.ส. แล้วบางคนเค้าอ่านรัฐธรรมนูญแล้วไม่เข้าใจเค้าก็ขอให้ผมช่วยอ่านหน่อย ช่วยตีความหน่อย
คือสังเกตในคลิปไหนที่ไปแตะการเมือง ยอดไลท์ ยอดแชร์ จะพุ่งมหาศาล แต่ว่าผมต้องบอกว่า ผมไม่ได้ตั้งใจว่ามาข้องเกี่ยวนะแต่ความข้องเกี่ยวของผมคือการศึกษา ผมอยากให้การศึกษา เพียงแต่ส่วนที่เป็นการคำนวณ ส.ส. หรือเกี่ยวข้องกับการรัฐธรรมนูญก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอาจารย์ก็หยิบยกมาเป็นตัวอย่าง มาอธิบายให้ฟัง มันเป็นอย่างไร พอดีมันเกี่ยวกับการเมือง
ปาล์ม : อาจารย์ทราบใช่ไหมครับว่า พอดีมีคนมาถามอาจารย์ อาจารย์ตอบไม่รู้บ้างก็ได้
อันนี้อาจารย์ทราบใช่ไหมครับ(หัวเราะ)
อ.ลอย : ทราบครับ(หัวเราะ) 55
ปาล์ม : ผมเป็นห่วงอาจารย์ ว่าอยู่ดี ๆ มาฝากอ่านรัฐธรรมนูญให้หน่อย อาจารย์ตะเหนื่อยเกินความจำเป็นหรือเปล่า เขาอาจจะเห็นอาจารย์ว่าอาจารย์เป็น google
อ.ลอย : กว่าผมจะทำคลิปหนึ่งคลิปเนี่ย เวลา 15 หรือ 20 นาที ผมค้นคว้านานมาก หลายครั้งที่ผมค้นคว้าที่ไม่ได้ข้อสรุปก็มี หลายครั้ง กว่าจะได้คอนเทนท์ออกมา ใช้เวลานานมาก
จอร์น : อาจารย์ย้ายไปแคนาดาตั้งแต่ปี 1999 แต่อาจารย์ก็ยังคงหันมาให้ความสำคัญสิ่งที่เกิดขึ้นกับเมืองไทย
อ.ลอย : ผมถือว่าการทำบุญคือการทำประโยชน์นะ แล้วก็ตัวเองมีสถานะทางการเงินที่พออยู่ตัวได้แล้ว เวลาที่เหลือก็อยากจะ ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ให้แก่คนอื่น และเห็นว่าสังคมไทยแหลกทางด้านการศึกษาและวิธีการเรียน ผมรู้สึกว่าน่าจะปรับปรุงอีกเยอะ มีความเสียเปรียบได้เปรียบ ในโรงเรียนกวดวิชา เด็กบางคนไม่ได้เรียนกวดวิชา
จุดเริ่มต้นจริงๆ ผมสอนคณิตศาสตร์ให้ฟรี ในช่องของผม ก็ยังมีเด็กเข้ามาดูกันน้อย ยังไม่เหมือนโรงเรียนกวดวิชา เดิมทีผมเข้าใจว่า ผมสอนง่ายแล้วนะผมสอนเนี่ยตามแบบเรียนนะ ตามหลักสูตรเป๊ะเลย แต่ปรากฏว่าเด็กบอกว่าเทียบกับโรงเรียนของเขา มันกลายเป็นยาก ก็คือเขาเรียนพื้นฐาน ม.ต้น มาไม่ถึง พอพื้นฐาน ม.ต้น ไม่ได้ ม.ปลายก็เละ เพราะคณิตสาตร์มันเหมือนกับต่อยอดกันมาเรื่อยๆ
จอร์น : ครับผม รู้สึก จึ๊กกับตัวเองเหมือนกันนะ มองๆไปคุณโรซี่เราตรงกันนะครับ เราหนีคณิตศาตร์กันตั้งแต่ ม.ต้น แล้วพวกเราก็คงจะเป็นเหล่าเด็กนักเรียน เข้าไปกดดูคลิป อ.ลอย ก็ยากอะ ยังยากอยู่เลย อ.ก็คงคิดว่าก็แบบนี้ไงก็ ม.ต้น อะ
โรซี่ : ไม่คือเราจะบอกว่า เราโง่ตั้งแต่ประถม
ปาล์ม : คือผมเคยแบบนี้ครับอาจารย์ ที่เป็นการเฉลยคำตอบ ในสมัยที่เป็นแบบ สมัยเด็กๆ ประมาณสัก มัธยม ประมาณ ม. 5 ม.6 ผมก็เปิดดูว่าความรู้ที่ผมมีต่อวิชาคณิตศาสตร์เนี่ย มันไล่ย้อนหลับไปเท่าไหร่ ผมก็เปิด ม.6 ไม่เข้าใจ ม.5 ไม่เข้าใจ ผมก็ไล่ลงไป เรื่อย ๆ และผมก็สิ้นสุดว่า ผมมีความรู้ ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เท่ากับ เด็กป.4 สิ่งที่ผมรู้ก็คือบวกลบคูณหารเท่านั้นเอง ซึ่งผมมีความรู้เท่านี้ผมก็สามารถเล่นไพ่ได้แล้วซึ่งมันสำคัญมากสำหรับการเล่นไพ่
อ.ลอย : ทีนี้คุณก็คำนวณดอกเบี้ยไม่เป็นสิครับ
ปาล์ม : ไม่เป็นครับ แต่มีคนที่ชาญฉลาดก็รับหน้าที่แบบนั้นไป แค่ผมอยากจะรู้ว่าว่าในสังคมไทยกับความรู้แค่นี้มันเพียงพอไหม เด็กไทยเป็นแบบนี้เยอะไหม มันจะลำบากไหมในภายภาคหน้า
อ.ลอย : มันจะลำบาก ในการใช้ชีวิตข้างหน้า ผมยกตัวอย่างอย่างนี้ พบว่าคนไทยจำนวนมากว่ามีหนี้สินครัวเรือน ที่เกิดจากการกู้ยืมที่มาจากดอกเบี้ยทบต้น เขาไม่ตระหนักว่าเงินที่กู้มาเขาต้องใช้คืนตลอดเวลาในการกู้ ถ้าเขาได้เงินจากการเกษียณ มันอาจจะลดมาจากเงินเดือนสุดท้าย 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่เพียงพอในการที่จะไปใช้จ่ายหนี้คืน เลี้ยงตัวเองตลอดชีวิต
ลักษณะอย่างนี้ถ้าคุณไม่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับ ม.ปลาย เอาแค่ ม.3 แล้วกัน ม.3 ก็ใช้ได้แล้วถ้าไม่มีความรู้ตรงนั้นมันก็จะลำบาก
และนี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด น้อยคนที่จะรู้ผมขอถือโอกาสตรงนี้ เรื่องเครดิตการ์ด อย่างเขาบอกว่าปลอดดอกเบี้ยสูงสุด 45 วัน สมมุติว่ากำหนดเวลาวันที่ 15 แล้วเราไม่ได้จ่ายเรามาจ่ายวันที่ 16 คือวันถัดมา
เราก็บอกว่า "เอ้ย.. พลาดไปวันเดียวนี่หว่า" พลาดไปวันเดียวมันคิดดอกเบี้ยวันเดียวมันไม่ใช่ เขาคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า แต่ละชิ้นจนมาถึงวันที่ 16 บางชิ้น ซื้อเมื่อ 44 วันที่แล้วบางชิ้นซื้อเมื่อ 30 วันที่แล้วเอาแต่ละชิ้นมาคิด ดูเป็นชิ้นชิ้นไป
เพราะฉะนั้น คำตอบก็คือ คุณอาจจะโดนดอกเบี้ย แม้ว่าคุณจ่ายในวันถัดมาซึ่ง Miss ไปวันเดียวระยะเวลา ของมันเนี่ยที่ถูกคำนวณ คุณอาจจะโดน 46 วันและดอกเบี้ยปีละ 24 เปอร์เซ็นต์ เดือนนึงก็ 2 เปอร์เซ็นต์ เดือนครึ่งก็ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณไม่จ่ายเดือนนี้คุณไปจ่ายเดือนหน้าก็ทบต้นสิ
ถ้าเกิดผมออกแบบหลักสูตรผมก็จะเน้นว่าส่วนไหนที่เอาไปใช้จริงได้ ในชีวิตประจำวันและเราไม่ต้องสอนเยอะ
อย่างคำถามในข้อสอบผมพยายามจะตัดส่วนที่เหลือไว้ในตัวที่ใช้ได้จริงๆจะไม่เน้นเรื่องคำศัพท์ เน้นเรื่องภาษาบาลีนิพจน์ หรือพิชคณิต
จอร์น : อย่างตัวอาจารย์เคยผ่านทั้งการศึกษาอย่างไทย ๆ มาแล้วบ้าง อาจารย์คิดว่าภาพรวมอย่างปัญหาการศึกษาไทยมันคืออะไรกันแน่
อ.ลอย : ผมมองปัญหาโครงสร้างจากราชการ วิธีคิดอย่างราชการ ความเห็นของผมก็คือว่าไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงก็คือถ้าเปลี่ยนแปลงแล้ว ตัวเองก็ไม่ได้ตำแหน่งดีขึ้น ถ้าเปลี่ยนแล้วเกิดมันผิดขึ้นมา ซวย อาจจะเข้าคุก ไล่ออก เพราะฉะนั้น อย่าไปเปลี่ยนมันเลยดีกว่า
ปาล์ม : เหตุผลมันคืออะไร ที่เด็กมีความรู้สึกกันเหมือนเดิมว่าเรียนเลขไปแล้วไม่ได้ใช้ หรือแม้ว่าการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย วิชาเลขมีผลต่อการเลือกคณะ เลือกคณะเหล่านี้เพราะรู้สึกว่ามันจะต้องเข้าไปจมกับคณิตศาสตร์ ทำไมเด็กไทยมีความรู้สึกแบบนี้อยู่ทั้งที่อาจารย์รู้สึกว่ามีความจำเป็น
จอร์น : อะไรแบบนี้มันเป็นกับทุกสังคมไหมครับไหมครับ
อ.ลอย : ไม่เป็นครับ คุณสมบัติของครูคณิตศาสตร์เนี่ย จะต้องสอนให้เด็กรักเลขให้ได้ รักคณิตศาสตร์ให้ได้และวิธีคิด การคิด กระบวนการคิด มากกว่าป้อนความรู้ ทำให้เขาชอบวิชานี้ เขาต้องชอบวิชานี้และที่เหลือไม่ได้สำคัญความรู้สำคัญน้อยกว่าความชอบอีก
ปาล์ม : แล้วสิ่งที่ควรจะเติมเข้าไปคืออะไร ที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่ารักวิชาคณิตศาสตร์
อ.ลอย : ต้องเริ่มต้นที่ครูและหลักสูตร ไม่จำเป็นต้องอัดแน่นมาก ไม่จำเป็นต้องใส่ไปทุกอย่าง คณิตศาสตร์ในแคนาดา ในอเมริกา มันมีนิดเดียว แล้วเอาที่มีประโยชน์
จอร์น : อย่างถ้าลูกเราเล็กอ่ะครับทำอย่างไรให้เขารัก เขาไม่กลัวแล้วเป็นไปได้ให้เขาชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปเลยอ่ะครับทำอย่างไร
อ.ลอย : อันนี้เป็นคำถามที่ดีมากเลยครับ อันดับแรกอยู่กับลูกให้เยอะๆโดยเฉพาะเวลาทำการบ้านโดย
เฉพาะวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียนจนถึง 7 ขวบ จนถึงซัก ป. 2 หรือป. 3 เนี่ยอยู่กับเขาเยอะๆ ผมไม่อยากให้ส่งเข้าไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาเลย เพียงแค่ใช้เวลากับเขาให้มากที่สุดแล้วทำการบ้านกับเขาอันนี้ผมว่ามันเป็นปัจจัยที่ดีที่สุดแล้วส่งผลให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี
จอร์น : ทุกวันนี้ไม่ว่าเด็กที่อยู่อนุบาล 1 อนุบาล 2 เนี่ยบางทีต้องส่งไปโรงเรียนกวดวิชาเพื่อที่จะเตรียมตัวสอบเข้าป.1 อันนี้มันคือไปถึงจุดนี้ได้อย่างไร
อ.ลอย : การที่เข้าโรงเรียนนั้นน่ะมันจะต้องมีคะแนนหรอ
ปาล์ม : ที่เราต้องส่งไปกวดวิชาเพื่อที่จะเราจะต้องมีคะแนนเพียงพอ เพื่อที่จะเข้าไปสู่โรงเรียนที่เราต้องการมันจำเป็นที่จะต้องส่งไปโรงเรียนกวดวิชาตั้งแต่เล็กแต่น้อย เพราะว่าเราก็ไม่แน่ใจว่าการสอนโดยลำพัง ของพ่อของแม่เน้นความชอบให้เขาเนี่ยมันจะเป็นข้อมูลทางวิชาการที่เพียงพอต่อการสอบเข้าหรือเปล่าซึ่งอันนี้เป็นเรื่องใหญ่มนุษย์มักจะเป็นแบบนี้
อ.ลอย : ยกตัวอย่างลูกของผมแล้วกัน ครูเค้าแค่ test ว่าเด็กมีปัญหาทางสมองหรือเปล่า ทำรถไฟก็ คือ เอา Box มาต่อเป็นรถไฟ ต่อเป็นรถยนต์อ่ะเขามีวุฒิภาวะที่จะทำตามคำสั่งเป็น เด็ก 3 ขวบ 4 ขวบเค้าไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องไปทำข้อสอบแล้ว มันวัดอะไรไม่ได้ข้อสอบเนี่ยมันจะวัดได้จริงๆ ก็ 7 ถึง 8 ขวบไปแล้วและในขณะก่อนนี้ไม่มีคะแนนเลยนะจนถึง ป.3 ไม่มีคะแนนเลย ป.3 จะเริ่มมีคะแนนเริ่มมีเกรด และแต่ละคนก็ไม่รู้เกรดของคนอื่นอยู่ดีไม่มีใครเอามาประกาศว่าใครได้ที่หนึ่งที่สองไม่มีการขึ้นบอร์ด
ปาล์ม : ซึ่งของไทยเรามีแน่นอนเวลาที่สอบเสร็จในแต่ละครั้งเนี่ยก็จะมีใบประกาศเลย ที่ 1 ถึงที่ 50 เช่นใครบ้างซึ่งผมเองเนี่ยที่ 50 อยู่แล้วแต่ว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญต่อเรื่องนี้ แต่ว่าก็เป็นการประกาศรางวัลให้รู้พร้อมๆ กันทั่วห้องว่าใครเป็นคนเก่งใครเป็นคนที่เก่งน้อยที่สุด
อ.ลอย : มันจะมีลักษณะที่ว่าขอให้สอบได้ที่หนึ่งไอ้ที่สอบได้ที่หนึ่งเป็นความปรารถนาของเด็กไทยและพ่อแม่ยัดเยียด สำหรับโรงเรียนในแคนาดามันไม่มี ไม่มีใครพูดถึง ไม่มีเลยนะครับไอ้ที่ว่าสอบได้ที่หนึ่ง
จอร์น : ไม่มีขึ้นป้ายโรงเรียนเลยเหรอครับ
อ.ลอย : ไม่มีครับ
ปาล์ม : แล้วเค้ามอบให้กันยังไงครับ รูปแบบในการมอบ เช่น คุณเรียนโอเคมั้ย เฉพาะตัวบุคคลนั้นเหรอครับ
อ.ลอย : ใช่ บุคคลนั้นมีการปรับปรุงตัวเองหรือเปล่า จากเทอมต้นไปเทอมปลายเค้าปรับปรุงตัวเองไหม เรียกว่าแข่งกับตัวเอง มันไม่มี concept ที่ว่าแต่ละคนจะต้องมาแข่งกันว่าใครได้ที่หนึ่ง
และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สังคมตะวันตกมี efficiency สูงก็ คือ การทำงานเป็นทีม ถ้า 1 ต่อ 1 เด็กไทยที่ว่าเรียนเก่งกับเด็กที่ฝรั่งเรียนเก่งอาจจะสูสี กันหรือเด็กไทยอาจจะเก่งกว่าด้วยแต่ถ้าไปเอา 10 ต่อ 10 เด็กไทยแพ้ถ้าเป็นทีมเมื่อไหร่ของเราแพ้ทำงานเป็นทีมไม่เป็น
จอร์น : ซึ่งอันนี้เราก็ได้ยินบ่อยเหมือนกันนะครับ
อ.ลอย : ไม่ใช่ของไทยที่เดียวนะครับ หมายถึงส่วนมากในเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นนะครับ ก็คือการทำงานเป็นทีมสู้ตะวันตกไม่ได้ และเค้าปลูกฝังการทำงานเป็นทีมตั้งแต่เด็กเค้าเอาความสำเร็จของทีมเป็นหลัก ไม่ได้เอาความสำเร็จของคน เวลาพูดถึงสมมุติว่าลูกผมก็กลับมาเขาก็จะเล่าให้ฟังว่าทีมเขาว่าทำงานได้ประสบผลสำเร็จแค่ไหนเรียกว่าแข่งกันเป็นทีม
จอร์น : รู้สึกว่ามีความเป็นพวกเรา พวกเราทำสำเร็จแล้ว พวกเราก้าวหน้าแล้ว เค้ามองเป็น Group มากกว่า
อ.ลอย : ถ้าพูดว่าที่หนึ่งเนี่ย ทีมเป็นที่หนึ่งไม่ใช่พูดว่าตัวเองเป็นที่หนึ่ง
ปาล์ม : มากกว่าจะเดินมาบอกพ่อ "พ่อครับวันนี้ผมเล่นดีมาก แต่ทีมผมกระจอกเกินไป" อันนี้จะไม่ใช่ใช่ไหม ไม่ใช่ลักษณะนี้
แล้วอาจารย์คิดว่าวัยเด็กมาถึงประมาณ ป.3 การสอบได้ที่หนึ่งเนี่ยมันเป็นข้อพิสูจน์อะไรได้บ้างมั้ยครับ
อ.ลอย : ผมว่าพิสูจน์อะไรไม่ได้เลยตั้งแต่อนุบาลถึง ป.3 แทบจะพิสูจน์อะไรไม่ได้เลยมองไม่ออกว่าใครไม่เก่งหรือเก่ง อาจจะเริ่มรู้ตอนป.3 หรือ ป.4
จอร์น + ปาล์ม : อาจารย์จะเน้นในเรื่องตรรกะ หลักการ การคิดอย่างมีเหตุผล อย่างเป็นเหตุเป็นผล คือ สิ่งเหล่านี้จะได้ยินจากคลิปของอาจารย์เสมอ แต่คือหลายๆ อย่าง ที่เราอยู่ในสังคมนี้มันมีคำอธิบายในหลายๆ อย่างที่มันไม่สมเหตุสมผล
เราควรจะใช้ชีวิตกันยังไงครับ อาจารย์รับมือกันยังไงครับกับคำถามที่เคยเจอหรือสถานการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลเลย "ดูสินี่คือวิธีการรับมือของพวกคุณหรือ ? " ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตามนะครับ หรือแม้กระทั่งคนมาถามอาจารย์ แล้วอาจารย์ตอบไปเรียบร้อยว่าสากลเป็นลักษณะแบบนี้ แล้วเค้าก็ตอบกลับว่าก็ผมไม่ได้รับการอบรมมาแบบนี้ ที่นี่ไม่ได้สอนแบบนี้เราจะให้ความรู้ความเข้าใจกันยังไง
อ.ลอย: อันนี้ผมไม่รู้นะครับ..(หัวเราะ)
เป็นการจบคลิปที่เราทำให้อาจารย์ตอบว่าไม่รู้ได้สำเร็จ มันคือความสำเร็จของรายการเลยครับ
จบ Path 1 อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง
สามารถติดตามรายการ และชมเนื้อหาเต็มๆ ได้ที่ ลิงค์นี้เลยครับ
โฆษณา