17 ก.ค. 2022 เวลา 14:22 • ประวัติศาสตร์
สาเหตุที่รัชกาลที่ ๕
ทรงสร้างพระสยามเทวา
ธิราช มีพระพักตร์เหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
มาจากความเชื่อว่า
นอกจากเทวดา พระสยามเทวาธิราช จะพิทักษ์รักษาสยามให้รอดพ้นจากวิกฤติหลายครั้งหลายครา
ได้นั้น ยังมีสมเด็จพระชนกาธิราช ของพระองค์ ในฐานะบรรพกษัตริย์คอยช่วยปกปักรักษาอยู่อีกทางหนึ่งด้วย
จากการที่พระองค์สืบทอดพระราชประเพณี บวงสรวงสักการะบูชา "พระสยามเทวาธิราช" ตามอย่างพระราชบิดา ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ จึงโปรดฯ ให้สร้างพระป้าย รูปเทวดาขึ้นอีกองค์หนึ่ง โดยมีรูปแบบเหมือนพระสยามเทวาธิราช แต่ให้แปลงพระพักตร์เหมือนพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องอย่างพระมหากษัตริย์ พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นจีบเสมอพระอุระ ประทับยืนอยู่บนซุ้มไม้จันทน์ ตรงกลางซุ้มมีคำจารึกเป็นภาษาจีนเช่นเดียวกัน
ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีน ทำด้วยไม้จันทน์ จำหลักลายปิดทองมีจารึกพระปรมาภิไธยภาษาจีน
ที่แผ่นไม้ด้านข้างพระบรมรูป มีฉัตรทอง ๗ ชั้น ตั้งเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระบรมรูปด้วย
ในราชกิจจานุเบกษา 
ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ได้เผยแพร่เรื่อง การเชิญพระบรมรูปและพระป้าย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยว่า
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระอนุสรคำนึงถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะในเวลาที่เสด็จมาประทับอยู่ วังสวนดุสิต ยังไม่มีสิ่งที่จะเป็นที่ทรงนมัสการ รลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงทรงพระดำริห์ว่า พระป้ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งมหิศรปราสาท ในพระบรมมหาราชวังนั้น ควรจะเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อจะได้ทรงนมัสการ สักการะบูชาสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังจัดการเชิญพระป้าย มีพระบรมรูปทรงเครื่องทองคำ”..มติชน
Everythinghobby.
ภาพจาก pinterest
Royal Archives of OHM พระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 29 มกราคม 2014 · สาธารณะ · ใน จดหมายเหตุสำคัญ-พระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
โฆษณา