18 ก.ค. 2022 เวลา 04:57 • ไลฟ์สไตล์
How to จัดการ "หนี้" บัตรเครดิตให้อยู่หมัด
“หนี้บัตรเครดิต”... ถ้าเป็นไปได้ในชีวิตก็ไม่อยากจะมีมัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลายๆคนก็อดไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา การซื้อ-ขายสินค้า มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการซื้อขายกันง่าย ผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต รอเรียกเก็บปลายเดือน บ้างก็ประสบกับปัญหาสภาพคล่อง จำใจต้องกดเงินสดออกมาใช้
พอใบเสร็จค่าบัตรเครดิตโผล่มาเรียกเก็บ อ้าว!!! ไม่มีเงินจ่าย สุดท้ายหลายๆคนก็เลือกที่จะจ่ายเงินตามยอด “ขั้นต่ำ” เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น...ใช่ครับอย่างที่ทุกคนทราบ “ดอกเบี้ย” ก็เกิดขึ้นตามมา
ที่อันตรายที่สุดคือเมื่อวันเวลาผ่านไป เราไม่ได้คิดถึง “หนี้สิน” ที่เรามา เรายังเคยชินกับการใช้จ่ายอยู่อย่างปกติ ทำให้หนี้สินเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราก็จ่ายยอดขั้นต่ำไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายกลายเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ที่เราไม่สามารถที่จะจัดการได้ บัตรใบเดียวก็ว่าจัดการยากแล้ว เจอหลายๆใบเข้าไป โอ้ยยย ปวดหัว ขั้นต่ำทุกใบรวมกันมากกว่ารายได้เสียอีก เงินกินเงินใช้ไม่ต้องคิดถึงเลย...
วิธีการจัดการกับปัญหานี้มีอยู่ 2 วิธี
วิธีแรก พิจารณาดูว่าตอนนี้สินทรัพย์เรามีอะไรอยู่บ้าง เช่น บ้าน รถ ที่ดิน มีหรือเปล่า สินทรัพย์เหล่านี้สามารถที่จะนำมาเป็นตัวช่วยในการกู้สินเชื้อที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไป แต่มีข้อแม้ว่าสินทรัพย์ที่คุณมีนั้นต้องผ่อนจ่าย “เงินต้น” หรือ “ราคาประเมิน” มีมูลค่ามากกว่าหนี้ที่คุณมีถึงจะใช้ได้ ก็ประมาณว่าเอาไปรีไฟแนนซ์นั่นแหละครับ
วิธีที่สอง คือการ “รวมหนี้” โดยการกู้สินเชื่อบุคคลธรรมดานั่นละ ในแง่ของดอกเบี้ยที่เราเห็นก็แน่นอน เราจะรู้สึกว่าดอกเบี้ยแพง แต่เชื้อเถอะ ถูกว่าการผ่อนจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตแน่นอน และก็จะช่วยให้คุณมีสภาพล่องมากขึ้น เพราะชำระหนี้เพียงสถาบันการเงินเดียว
กู้เงินได้แล้วทำไงต่อ?
สิ่งแรกที่ต้องทำ คือรีบชำระหนี้ที่มีอยู่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหนี้บัตรเค้าคิดดอกเบี้ยเป็น “รายวัน” หลังจากเคลียร์หนี้บัตรเครดิตได้ อย่าลืมว่าตอนนี้เราไม่ได้ปลอดหนี้ แต่มีหนี้อื่นเกิดขึ้นมาแทน ต้องมีสมาธิโฟกัสกับหนี้ที่เกิดขึ้น จำไว้ว่า ระหว่างชำระหนี้อย่าสร้างหนี้เพิ่ม หากมีรายได้เสริมจากทางอื่นให้รีบโปะชำระ เพราะจะช่วยให้เรามีอิสระได้เร็วที่สุด
ถามว่า “ต้องยกเลิกบัตรเครดิตรไหม ?”
คำตอบคือไม่จำเป็น แล้วแต่เราสะดวกใจ เพราะบัตรเครดิตเองก็ช่วยเราได้ไม่น้อย หากฉุกเฉินจริงๆ เช่น เกิดป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาลฉุกเฉิน ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล (จริงๆควรแบ่งเงินก้อนหนึ่งมาทำประกันสุขภาพ จ่ายรายเดือนก็ได้ เพราะมีโอกาสที่แผนการจัดการเงินจะพังถ้าป่วยหนักๆ) หรือการสะสมแต้มเป็นส่วนลดต่างๆ
แต่ๆๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จาก ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง เป็นใช้ไปเท่าไหร่ก็นำเงินจำนวนนั้นมาแยกเก็บไว้เพื่อจ่ายค่าบัตรเครดิต จะโดยวิธีการแยกบัญชีไว้ต่างหาก หรือแยกกดเงินมาเก็บไว้ก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ต้องไม่ปะปนกับเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเป็นอันขาด เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะเพลิดเพลินไปกับการใช้เงิน และไปรวบจ่ายทีหลังเช่นเดิม...
โฆษณา