19 ก.ค. 2022 เวลา 01:58 • อาหาร
crack code หมวดคำศัพท์อธิบาย
รสชาติอูเมะชู (2)
ความหอม (Aromatic)
อูเมะชูที่ถูกยกว่า Aromatic ต้องมีกลิ่นที่หอมชัด มากไปกว่ากลิ่นเปรี้ยวจางๆของบ๊วย หรือกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์
กลิ่นหอมที่พบได้ในอูเมะชูมีสองประเภทหลัก :
ประเภทหอมดอกไม้ (Floral) เช่น ดอกบ๊วยหรือดอกซากุระ ซึ่งเกิดจากสารประกอบในผลบ๊วยที่ให้กลิ่นคล้ายดอกไม้ต่างๆ
ประเภทหอมผลไม้ (Fruity) เช่นกลิ่นเปรี้ยว แบบผลไม้ตระกูลส้ม/มะนาว หรือกลิ่นหวาน ที่ทำให้นึกถึงความสุกฉ่ำ คล้ายผลไม้เมืองร้อน อย่างมะม่วง เสาวรส
บอดี้ (Body)
"บอดี้" เป็นคำที่สื่อสารให้เข้าใจตรงกันยาก และเป็นคำที่มีความหมายที่เคลื่อนไหลมากที่สุดคำหนึ่ง
สามารถสื่อความหมายได้สองแนวทางหลักคือ:
1. บอดี้ ที่หมายถึงรสสัมผัสทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปาก (ไม่รวมรสชาติ) ในแง่นี้ บอดี้คือผลรวมของข้อมูลทางผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้นภายในปาก เช่น น้ำหนักของเครื่องดื่ม, รสสัมผัส Texture ข้นหนืด/เหลว สัมผัสลื่น/สาก
2. บอดี้ตามความหมายในโลกของไวน์ (eg. Full-bodied, Medium, Hollow) สื่อถึงความหนักเบาของเครื่องดื่มในภาพรวม ด้วยการอุปมาข้อมูลทางรสชาติให้เป็นภาพสามมิติ แบบการอธิบายรูปทรงสิ่งของ หรือตัวอาคาร เพื่อพิจารณาถึงความสมดุลขององค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของไวน์
โครงสร้างของไวน์ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ปริมาณแอลกอฮอล์, ปริมาณความเปรี้ยว/ความหวาน/ความฝาด หรือความชัดเจนของรสชาติไวน์ที่รับรู้ได้ เป็นต้น ถ้าแต่ละส่วนมีมากและสมดุลกัน เราจะพิจารณาไวน์ขวดนั้นว่า Full-bodied
ในอูเมะชู องค์ประกอบหลักแรกๆ ที่สามารถสัมผัสได้คือ ปริมาณของรสชาติบ๊วยและปริมาณแอลกอลฮอล์ หากจะกล่าวว่าอูเมะชูตัวนี้ full-bodied จะต้องเป็นอูเมะชูที่มีโครงสร้างที่ใหญ่และมีความสมดุลกัน
ถ้ามีรสชาติบ๊วยมาก แต่มีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย เราจะรู้สึกว่าอูเมะชูตัวนั้นคล้ายน้ำบ๊วยเกินไป ขาดความเป็นสุรา ในทางกลับกัน ถ้ามีแอลกอฮอล์มาก แต่กลับพบรสชาติบ๊วยน้อย เราจะรู้สึกว่าอูเมะชูตัวนั้นมีแอลกอฮอล์ฉุนบาด ขาดความสมดุลทางโครงสร้างของเครื่องดื่ม
 
เรามักพบอูเมะชูที่มีลักษณะ full-bodied ในกลุ่ม
Umegenshu ที มีปรมิ าณแอลกอฮอล์ 17% -20% ซงึ สูงกว่าอูเมะชูทัว ไป ทีมีระดับ แอลกอฮอล์ที 15% หรอื น้อยกว่า
โฆษณา