20 ก.ค. 2022 เวลา 04:01 • อาหาร
จับตา ‘วิกฤตอาหาร’ ความเสี่ยง หรือ โอกาส การลงทุน
2
วิกฤตอาหาร หรือ Food Crisis อาจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด หลังสื่ออังกฤษ The Economist รายงานดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลก (Global Food Security Index) โดยพบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 51 จากทั้งหมด 113 ประเทศ
8
แม้ไทยจะมีคะแนนที่ดีในมิติราคาอาหารที่เข้าถึงได้ (Affordability) แต่ในมิติความพร้อมของอาหาร (Availability) มิติคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety) รวมถึงมิติทรัพยากรธรรมชาติและความยืดหยุ่น (Natural Resources and Resilience) ยังได้คะแนนไม่มาก
3
[ วิเคราะห์ต้นตอ-ความรุนแรงของวิกฤต ]
StashAway สตาร์ทอัพด้านการลงทุน ให้ความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตอาหารมาจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบทางตรงต่อราคาสินค้าสำคัญหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น
2
- ราคาข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้น 53% จากช่วงต้นปี (ข้อมูลจาก The Economist)
1
- ราคาน้ำมันปาล์มที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะยูเครนและรัสเซียเป็นประเทศหลักในการส่งออกน้ำมันทานตะวันกว่า 80% ของโลก (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) เมื่อส่งออกไม่ได้ หลายประเทศจึงต้องซื้อน้ำมันปาล์มแทน
นอกจากนี้ ราคาข้าวโพดและราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลักดันให้ราคาเสินค้าพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) พบว่ากว่า 36 ประเทศทั่วโลกพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซีย และยูเครนมากกว่า 50%
2
นอกจากนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นยังมาจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
หากถามว่าวิกฤตอาหารครั้งนี้ร้ายแรงแค่ไหน จากข้อมูลครึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า หลายประเทศ และองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ทั้งธนาคารโลก (World Bank) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) รวมถึงธนาคารกลางอังกฤษ
1
ต่างให้ความสำคัญกับการที่ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก ทุกฝ่ายจึงเร่งหาทางรับมือกับปัญหานี้
[ 3 สิ่งที่ต้องลงทุนเพื่อรับมือวิกฤตอาหาร ]
1
ในสถานการณ์ที่ราคาอาหารสูงขึ้น StashAway มองว่า การกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย และเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันจะส่งผลดีต่อพอร์ตการลงทุน
โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 StashAway ลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มตอบรับกับสถานการณ์เงินเฟ้อสูงได้ดี ได้แก่
3
- กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Staples) เช่น ธุรกิจค้าปลีกอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจเครื่องดื่ม และธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร รวมถึงธุรกิจในเซกเตอร์ที่มีความทนทานต่อภาวะต่างๆ สูง (Defensive Sector) เช่น กลุ่มการแพทย์ (Healthcare)
- กลุ่มพันธบัตรที่อ้างอิงตามเงินเฟ้อ (Inflation-protected bonds) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์เงินเฟ้อสูง
- กลุ่มทองคำ ซึ่งควรกระจายการลงทุนไว้บางส่วน
ส่วนกลุ่มธุรกิจพลังงาน แม้จะเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยปกป้องพอร์ตการลงทุนในช่วงภาวะเงินเฟ้อสูง แต่ปัจจุบันราคาของกลุ่มธุรกิจพลังงานมีความผันผวนสูง ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการเข้าลงทุน
[ กูรูวิเคราะห์วิกฤตครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ ]
ขณะที่ ดร.แอนดรูว์ สต๊อทซ์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย และผู้ก่อตั้ง A.Stotz Investment Research (ASIR) ระบุว่า วิกฤตอาหารเป็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงในหลายประเทศทั่วโลก แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบมาถึงไทย เนื่องจากประเทศของเรามีความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ก็ตาม
วิกฤตดังกล่าวเป็นผลพวงจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรสำคัญของโลก อาทิ ข้าวโพด และข้าวสาลี ไม่สามารถส่งออกได้ โดยทั้ง 2 ประเทศมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันสูงถึง 15-20% เมื่อเทียบกับทั่วโลก
1
สะท้อนผ่านดัชนีราคาอาหารโลก (FAO Food Price Index: FFPI) เดือน มี.ค. 2565 ที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 160 จุด และยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง 157 จุด ในเดือน พ.ค. 2565
1
เบื้องต้นคาดว่าปัญหาจะกินระยะเวลาอีกนาน เพราะต้นตอที่แท้จริงมาจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ (Power Struggle) ระหว่างสหรัฐ รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรป (EU) แต่ผลพวงของวิกฤตอาหารกลับลามไปทั่วโลก โดยเฉพาะแอฟฟริกา
[ รู้จักทำกำไรเมื่อราคาของแพง ]
ท่ามกลางวิกฤตในครั้งนี้ ดร.แอนดรูว์ มองว่า ยังมีการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้นักลงทุนได้ เช่น การลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน แม้ราคาจะปรับตัวลงมาแล้ว แต่ยังยืนอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตลงทุน All-Weather Strategy ที่เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาเติบโตสูงกว่าตลาด 88.8% เทียบกับพอร์ตการลงทุนแบบเดิม (หุ้น 60% และตราสารหนี้ 40%) ที่ให้ผลตอบแทน 88.84% และพอร์ตการลงทุนหุ้นโลก ผลตอบแทน 81% (ข้อมูล 9 เดือนย้อนหลัง ณ วันที่ 22 มิ.ย. 2565)
‘รู้ตัวหรือไม่ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารในปัจจุบัน ปรับขึ้นไม่ทันอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในต้นทุนก๋วยเตี๋ยว 1 ชามที่คุณกินด้วยซ้ำ’ ดร.แอนดรูว์ กล่าว
[ ไทยยังไม่เจอวิกฤต แต่ของกินแพงขึ้น ]
1
วิกฤตอาหารโลกเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมาต่อเนื่อง หากย้อนดูในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า เราเห็นสัญญาณจากปัญหาการเกิดภาวะขาดแคลนซัพพลาย (Supply Chain Disruption) ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้านอาหารและเกษตรมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19
1
แน่นอนว่าการหยุดชะงักนี้ส่งผลให้อุปทาน (Supply) ไปไม่ถึงปลายทาง หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปี 2565 เกิดวิกฤตอาหารอย่างชัดเจนมากขึ้นไปทั่วโลก และเรายังเห็นการระงับการส่งออกในหลายประเทศ
ในส่วนของไทยเมื่อความต้องการโลก (Global Demand) ด้านอาหารเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลดีต่อผู้ส่งออก ด้านอาหารของไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศการเกษตรที่เผชิญปัญหาการผลิตน้อยกว่าประเทศอื่น จึงอาจไม่ได้เผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง แต่ราคาอาหารและราคาสินค้าต่างๆ กลับปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
โฆษณา