20 ก.ค. 2022 เวลา 15:26 • ไลฟ์สไตล์
สิ่งที่คุณกล่าวถึงคือ ทุกข์?ในอริยสัจ4 ซึ่งก็คือความหมายอธิบายใช้ในทางโลก แต่ตัวทุกข์จริงๆคือทุกข์ในไตรลักษณ์ซึ่งมีความหมายในแง่ปรมัตถ์ อธิบายถึงสภาวะของสรรพสิ่งในสากลโลก
ทุกข์ มีความหมายในสองลักษณะคือทุกข์ใน ไตรลักษณ์กับทุกข์ในอริยะสัจสี่ ทุกข์ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจคือ ทุกข์ในอริยสัจ4 ซึ่งมีความหมายต่างกับทุกข์ในไตรลักษณ์ เพราะทุกข์ในอริยสัจคือสภาวะของจิตที่มีสมุทัย แต่ทุกข์ในไตรลักษณ์คือสภาพที่ทนไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
1. ทุกข์ในไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) ความหมายก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก ในจักรวาล ไม่มีสิ่งใดเลยที่หยุดนิ่งหรือหยุดอยู่กับที่ ต่างก็อยู่ในสภาพทนไม่ได้ คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น สิ่งของผุพัง, ถนนเปียกเพราะฝนตก, ก้อนหินกลายเป็นดิน, ดีใจแล้วเปลี่ยนเป็นเสียใจ, อ้วนแล้วผอม เหล่านี้คือตัวทุกข์ ซึ่งจะเข้ากับกฎไตรลักษณ์ข้ออื่นด้วยคือ อนิจจัง, อนัตตา คือ ควบคุมให้เป็นดังใจอยากไม่ได้และไม่มีตัวตนจริงแท้แน่นอน มีสภาพเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนเป็นวัฏจักร
ทุกข์ในไตรลักษณ์รวมถึงขบวนการเปลี่ยนแปลงในจิต จากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง ด้วย ดังนั้นจะเห็นว่า ทุกข์คือการเปลี่ยนสภาพที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนแห่งในจักรวาล ( changes ) การรู้ทุกข์คือการเห็นสภาวะของการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งคนปรกติก็จะมองไม่เห็นคิดว่ามันคงทนเที่ยงแท้ถาวร จึงพากันยึดมั่นถือมั่น คิดว่ามันมีตัวตน
2. ส่วนทุกข์ในอริยสัจ4 ( ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ) ความหมายที่พระพุทธเจ้าต้องการอธิบายคือตัวสมุทัย ไม่ใช่ตัวทุกข์ เพราะคนจะเข้าใจว่า ทุกข์ ต้องมีสาเหตุมาก่อนจึงจะเกิดทุกข์ ถ้าเป็นเช่นนั้น ทําไม่ อริยะสัจ4 จึงไม่เรียง สมุทัย, ทุกข์, นิโรธ, มรรค นั่นเป็นเพราะว่า ทุกข์ในอริยสัจ ความหมายโดยนัยคือตัวสมุทัยที่เกิดจากจิตเราปรุงแต่งตัวทุกข์ ( ซึ่งทุกข์มีมาก่อนแล้ว จึงเอาไว้อันแรก) ให้มันมีผลหรือเด่นชัดขึ้นมา เกิดเป็น ชอบ ไม่ชอบ สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ
ถ้าไม่มีสมุทัย ตัวทุกข์ก็ไม่มีผลทําให้เรารู้สึกอะไร ตัวอย่างเช่น
- ฝนตก (ทุกข์)--> เฉยๆ ( สมุทัยไม่เกิด )
- ฝนตก (ทุกข์)--> โมโหๆ ( สมุทัยเกิด)--> ไม่พอใจ (จิตปรุงแต่ง) ->..............
- คนอื่นเสียขีวิต ( ทุกข์) --> เฉยๆ ( สมุทัยไม่เกิด )
- ญาติเสียขีวิต ( ทุกข์) --> เสียใจ ( สมุทัยเกิด )--> โศกเศร้า ( จิตปรุงแต่ง) ->..............
***** ถ้าคิดแบบในทางโลก เราทุกข์เพราะฝนตก, ญาติเสีย ดังนั้น ฝนตก ญาติเสียคือสมุทัย จะกลับกันแบบที่ว่า เป็นความเข้าใจแบบในทางโลก ***********
ดังนั้น ในอริยสัจ จึงมีวิธีการดับสมุทัยนั่นคือเมื่อมีสมุทัยเกิดแล้ว นิโรธ (หนทาง) และมรรค ( แนวทาง )จะเข้ามาช่วยเพื่อให้จิตรู้ทันสมุทัยที่กําลังจะก่อตัวและทําการปรุงแต่งความคิดต่อ ด้วยสติและความรู้สึกตัวจากการรู้แจ้งนิโรธและเจริญมรรคผ่านขบวนการสมาธิและภาวนา ขบวนการดับทุกข์ จึงมีขั้นตอนคือทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทําให้แจ้ง มรรคให้เจริญ
ส่วนการดับทุกข์ในทางโลก ที่คนส่วนใหญ่ทําก็คือหาวิธีดับตัวทุกข์โดยตรง ( มิใช่ดับสมุทัย) หรือหาวิธีหลอกล่อให้จิตฝังสมุทัยอันที่ไม่ชอบเก็บลงในสัญญาและหา สมุทัยในทางบวกตัวอื่นมาล่อเพื่อให้ลืมตัวเก่า เช่น ออกไปเที่ยว, พักผ่อนและใช้เวลาเป็นเครื่องแก้ไข โดยหวังว่าตัวทุกข์มันจะดับไปเอง ซึ่งจริงๆก็เป็นดังว่าเพราะทุกข์เป็นอนิจจัง ย่อมไม่ดํารงค์อยู่ตลอด แต่สมุทัยจะฝังอยู่ในดวงจิตนานแสนนาน พร้อมที่จะถูกนําออกมาใช้ตลอดเวลา ผ่านความคิดเพียงแค่ระลึกถึงชั่วแวบเดียว
โฆษณา