1 ส.ค. 2022 เวลา 16:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มาตรฐานการเขียนแบบ
มาตรฐานการเขียนแบบ (drawing standard) คือข้อกําหนดที่รวบรวมไว้ให้วิศวกรหรือนักออกแบบสาขาต่างๆ ทุกคนปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้งานเขียนแบบมีความเหมาะสมและสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ประเทศต่าง ๆ ได้กําหนดมาตราฐานการเขียนแบบขึ้นใช้ในประเทศของตนเอง โดยมีองค์กรกลางเป็นผู้กําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนแบบในแต่ละสาขาให้เป็นไปในแนวปฏิบัติเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนดขึ้นนั้นโดยรวมไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้ใช้งานทั่วโลกจึงสามารถอ่านแบบได้เข้าใจตรงกัน
มาตรฐานที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่
โดยทั่วไปมาตรฐานสำหรับงานเขียนแบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญได้แก่
มาตรฐานด้านกระดาษเขียนแบบ (drawing sheet)
มาตรฐานด้านมาตราส่วน (drawing scale)
มาตรฐานด้านการเขียนข้อความ (drawing lettering)
มาตรฐานด้านประเภทของเส้น (drawing line types)
มาตรฐานด้านการบอกขนาด (dimensioning)
3
มาตรฐานด้านมาตราส่วน
มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างขนาดเชิงเส้นของแบบวัตถุที่เขียนขึ้น (ตัวเลขด้านซ้ายมือ) กับขนาดของวัตถุจริง (ตัวเลขด้านขวามือ)
ในแบบจะต้องระบุคำว่า “SCALE”ตามด้วยเลขบอกอัตราส่วน ดังนี้
SCALE 1:1 คือขนาดเท่าของจริง (full size)
SCALE X:1 (X > 1) สำหรับมาตราส่วนขยาย (Enlargement scales)
SCALE 1:X (X > 1) สำหรับมาตราส่วนลดขนาด (Reduction scales)
ทั้งนี้ เลขบอกขนาด (Dimension numbers) ที่ปรากฏในแบบคือตัวเลขขนาดจริง (true size) ของวัตถุที่เขียนขึ้น ไม่ขึ้นกับขนาดตามมาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบนั้น
มาตราส่วนที่ใช้เป็นมาตรฐานโดยทั่วไปได้แก่
มาตราส่วนลดขนาด
นิยมใช้มาตราส่วน 1:2, 1:5, 1:10, 1:20, 1:50, 1:100
มาตราส่วนขยาย
นิยมใช้มาตราส่วน 2:1, 5:1, 10:1, 20:1, 50:1, 100:1
มาตรฐานด้านการเขียนข้อความ
มาตรฐานด้านนี้จะกล่าวถึงขนาดของตัวอักษร ระยะห่างระหว่างตัวอักษร ที่เหมาะสมสำหรับงานเขียนแบบ
มาตรฐานด้านประเภทของเส้น
มาตรฐานด้านการบอกขนาด
มาตรฐานด้านนี้จะกล่าวในรายละเอียดในบทถัดไป ซึ่งโดยทั่วไปจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่ใช้ในการบอกขนาด การวางตำแหน่งและแนวของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบการบอกขนาดที่เหมาะสม เพื่อระบุความกว้าง ความสูง ความลึก รัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง และระยะห่างขององค์ประกอบของวัตถุจากขอบด้านใดด้านหนึ่งเพื่อระบุตำแหน่ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา