30 ก.ค. 2022 เวลา 11:16 • ประวัติศาสตร์
ทำไมศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกกับกรีกออร์โธดอกซ์ทะเลาะกัน ตอนที่ 3
ในตอนที่แล้วเราเห็นกันไปแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปกครอง มันมีผลให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นตะวันตกและตะวันออก
ในตอนนี้เราจะมาดูกันต่อว่า เมื่อแยกเป็นตะวันตกและตะวันออกแล้ว เกิดผลกระทบอะไรตามมาบ้างที่นำไปสู่ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนาที่ต่างกัน ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกัน
1.
1
เราอาจจะสรุปกว้างๆ ได้ว่ามีปัจจัยที่สำคัญ 3 ปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ศาสนาคริสต์ทางตะวันตกและตะวันออกมีความเชื่อที่ต่างกันไปจนถึงขั้นเริ่มขัดแย้งกัน ปัจจัยแรกเป็นเรื่องของภาษา ปัจจัยที่สองคือคำว่า Filioque ปัจจัยที่สามคือเหตุการณ์ที่รู้จักในชื่อ Iconoclasm
ก่อนที่ความขัดแย้งจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การแตกหักในปี ค.ศ. 1054
เรามาดูกันไปทีละข้อนะครับว่า สิ่งเหล่านี้มันคืออะไร เริ่มจากข้อหนึ่ง คือ ภาษาที่ต่างกัน
ทั้งหมดมันเริ่มต้นมาจากจักรวรรดิโรมันที่มีขนาดใหญ่เกินไปมาก จนต้องแยกเป็นโรมันตะวันตกและโรมันตะวันออก ส่งผลให้ดินแดนทางตะวันตกและตะวันออก ซึ่งเดิมก็มีวัฒนธรรมที่ต่างกันอยู่แล้ว ค่อยๆ แตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
1
ทางตะวันออก วัฒนธรรมดั้งเดิมจะค่อนไปทางกรีก เพราะโรมันตะวันออกอยู่ใกล้กับบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งก็จะมีวัฒนธรรมของกรีกเป็นดั้งเดิม และเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งมานานก่อนที่โรมันจะยิ่งใหญ่ขึ้นมา
ในตอนที่โรมันยิ่งใหญ่ขึ้นมา แม้ว่าทางด้านการเมืองการทหารจะยิ่งใหญ่กว่า แต่วัฒนธรรมกรีกก็ไม่ได้ถูกกลืนไป ในทางตรงข้ามโรมันก็รับวัฒนธรรมต่างๆ ของกรีกมาใช้มากมาย
 
ส่วนทางโรมันตะวันตกจะเป็นวัฒนธรรมของโรมัน หรือวัฒนธรรมละติน
 
ต่อมาเมื่อแยกกันปกครอง ความห่างตรงนี้ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อให้เห็นภาพลองมาดูปี ค.ศ. ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงคร่าวๆ กันดู
1
Diocletian แยกโรมันเป็นตะวันตกกับตะวันออก ในปี ค.ศ. 286
อีกประมาณ 40 กว่าปี คือในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนติน ให้ Constantinople เป็นศูนย์กลาง
1
อีกประมาณ 150 ปีถัดมา คือในปี ค.ศ. 476 โรมันตะวันตกก็ล่มสลาย วัฒนธรรมละตินก็ถูกวัฒนธรรมของชนเผ่าเยอรมันเข้ามาผสมมากขึ้น ส่วนทางตะวันออกก็เริ่มใช้วัฒนธรรมและภาษาของกรีกมากขึ้นทีละน้อย
จนในปี ค.ศ. 610 หรือประมาณ 260 หลังโรมันตะวันตกล่มสลายไป โรมันตะวันออกก็ประกาศใช้ภาษากรีกเป็นภาษาหลักอย่างเป็นทางการ คือ ใช้ในราชการ
ภาษาที่ต่างกันสำคัญมาก เพราะประชาชนทั่วไปค่อนข้างชินกับการอ่านภาษาที่ต่างกันไป ตะวันตกชินกับภาษาละตินมากกว่า ตะวันออกก็ชินกับภาษากรีกมากกว่า ถ้าให้เลือกอ่านหนังสือ ตะวันตกก็จะอ่านตำราภาษาละติน ตะวันออกก็อ่านหนังสือที่เขียนด้วยภาษากรีก
ซึ่งก็รวมไปถึงหนังสือต่างๆ ที่เขียนเกี่ยวกับศาสนาด้วย
2
2.
เราเคยคุยกันไปตอนที่เราคุยหัวข้อประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์หรือกำเนิดของศาสนาคริสต์
ผมเล่าว่าศาสนาคริสต์เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลาง โดยพระเยซูก็เป็นคนตะวันออกกลาง ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว
ภาษาที่พระองค์ใช้ในการสนทนาและเผยแผ่คำสอน เป็นภาษาที่มีชื่อ อะราเมอิก (Aramaic) ซึ่งเป็นญาติกับภาษาฮิบรูของยิว แล้วคนที่ติดตามพระองค์ในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นล่างของสังคมที่อ่านเขียนไม่เป็น คำสอนของพระองค์จึงไม่ได้ถูกจดบันทึกไว้มากนัก แต่จะเป็นลักษณะของการเล่าจากปากสู่ปากไปเรื่อยๆ
1
แต่ต่อมาเมื่อศาสนาได้รับการเผยแผ่มาทางตะวันตก จนมาถึงดินแดนของกรีกทั้งหลาย ผู้ที่ศรัทธาในคำสอนของพระเยซูก็เริ่มเป็นคนที่มีการศึกษามากขึ้น คำสอนและเรื่องราวต่างๆ ของพระองค์จึงเริ่มถูกบันทึกลงเป็นตัวหนังสือ และแน่นอนว่าภาษาที่ใช้เขียนเกี่ยวกับคำสอนก็เป็นภาษากรีก และนี่ก็เป็นคำอธิบายว่าทำไม คัมภีร์ไบเบิลส่วนที่เป็น New Testament จึงถูกเขียนขึ้นด้วยภาษากรีก
1
ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์ค่อยๆ ถูกเผยแผ่ไปเรื่อยๆ จนถึงกรุงโรม และกลายเป็นศาสนาหลักของจักรวรรดิโรมัน ภาษาต่างๆ ที่ใช้ในศาสนาจึงเป็นภาษาละติน
 
เมื่อทางตะวันตกกับทางตะวันออกใช้ภาษาหลักคนละภาษา ก็อ่านตำราคนละภาษา
1
ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะมีรายละเอียดที่ต่างกันไปบ้าง ทั้งคำสอนหรือพิธีกรรมต่างๆ โดยในภาพรวม ส่วนบันทึกที่เขียนด้วยภาษากรีกจะมีความเก่ากว่า ดั้งเดิมกว่า ส่วนบันทึกที่เขียนด้วยภาษาละตินมีแนวโน้มจะถูกชำระใหม่ มีการตีความใหม่กว่าเวอร์ชันภาษากรีก ด้วยเหตุนี้ ทางตะวันออกจึงมักมองว่า คำสอนของทางตะวันออกมีความดั้งเดิม หรือ orthodox กว่า และนี่เองทำให้นิกายของทางตะวันออกมีชื่อเรียกว่า กรีกออร์โธดอกซ์
ความต่างระหว่าง โรมันคาทอลิกกับกรีกออร์โธดอกซ์ สามารถเห็นได้จากรายละเอียดเล็กๆ น้อย หลายๆ อย่าง เช่น ทางโรมันคาทอลิกหรือทางตะวันตกจะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่พระเยซูโดนตรึงกางเขนเป็นอย่างมาก
เพราะมองว่าการโดนตรึงกางเขนของพระองค์ถือว่าเป็นการไถ่บาปให้กับมนุษย์ ดังนั้นเวลาที่เราเห็นศิลปะของทางยุโรปตะวันตก หลายครั้งภาพวาดของพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนจะดูค่อนข้างรุนแรงมาก
คือเห็นเลือด เห็นบาดแผลตามร่างกายของพระองค์แบบสมจริง เห็นความทุกข์ทรมานของพระองค์
1
แต่ทางฝั่งกรีกออร์โธดอกซ์จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการที่พระองค์โดนตรึงกางเขนมากเท่าแต่จะเน้นไปที่การฟื้นคืนชีพของพระองค์มากกว่า เพราะเป็นการเอาชนะความตายของพระองค์
1
ดังนั้นถ้าเป็นศิลปะที่มาจากทางยุโรปตะวันออก ภาพตรึงกางเขนมักจะดูไม่สมจริง ไม่ทรมาน ไม่ค่อยมีเลือด
การประพฤติปฏิบัติอื่นๆ ของนักบวชในศาสนาก็ยังต่างกันไป เช่น ถ้าเป็นนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิกจะไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงได้ แต่ถ้าทางกรีกออร์โธดอกซ์จะไม่ห้ามเรื่องนี้ หรืออย่างเรื่องการไว้หนวดไว้เคราของทางกรีกออร์โธดอกซ์ก็จะต่างไปจากทางโรมันคาทอลิกที่จะโกนหนวดเคราเกลี้ยงเกลา
นอกเหนือจากนั้นก็จะมีอีกหลายๆ เรื่อง เช่น วันอีสเตอร์ ก็จะใช้วันอีสเตอร์ที่ต่างกัน เพราะทางฝั่งโรมันคาทอลิกกับกรีกออร์โธดอกซ์ใช้ปฏิทินต่างกัน คือทางโรมันคาทอลิกเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินที่กำหนดโดยพระสันตะปาปาหรือโป๊บที่มีพระนามว่า Gregory ที่ 13 ซึ่งก็คือปฏิทิน Gregorian ที่เราใช้กันทุกวันนี้ ส่วนทางกรีกออร์โธดอกซ์จะใช้ปฏิทินที่เรียกว่า Julian calendar ซึ่งก็มาจากชื่อของ Julius Caesar ซึ่งเป็นปฏิทินที่เก่าแก่กว่า
หรือในเรื่องของการอดอาหารที่เรียกว่า Lent ทางกรีกออร์โธดอกซ์ก็จะจริงจังมากกว่า ส่วนทางโรมันคาทอลิกจะไม่จริงจังกับการอดอาหารเท่า
หรือแม้แต่การทำสัญลักษณ์เครื่องหมายไม้กางเขน เหมือนที่นักบอลหลายคนชอบทำ ถ้าเป็นทางโรมันคาทอลิกจะเริ่มจากไหล่ซ้ายไปที่ไหล่ขวา แต่ถ้ากรีกออร์โธดอกซ์จะเริ่มจากไหล่ขวาไปที่ไหล่ซ้าย
 
โดยสรุปจะเห็นว่าเรื่องของความเชื่อต่างๆ พิธีกรรมต่างๆ ก็มีความต่างกัน โดยกรีกออร์โธดอกซ์มีแนวโนัมจะยึดกับวิถีแบบเก่า ส่วนโรมันคาทอลิกจะมีความยืดหยุ่นกว่า คือสามารถที่จะเปลี่ยนตามคำสั่งของพระสันตะปาปาได้ และความต่างหลายอย่างที่เห็นในยุคปัจจุบันก็มาจากการที่ในช่วงยุคกลาง พระสันตะปาปาบอกให้เปลี่ยน
1
นั่นเป็นปัจจัยแรก คือ เรื่องของภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาที่ต่างกัน
ปัจจัยที่ 2 เป็นเรื่องของคำว่า ฟิลิโอเคว (Filioque)
ความเชื่อร่วมกันระหว่างโรมันคาทอลิกกับกรีกออร์โธดอกซ์ จะเชื่อในสิ่งที่เรียกว่า Trinity ก็คือพระบิดา พระบุตร และพระจิต หรือ Father, Son และ Holy ghost โดยทั้งสามมีความเป็นหนึ่งเดียวกันแต่แยกได้เป็น 3 บุคคล
แต่ถ้าถามต่อว่า พระเจ้าหนึ่งเดียวแต่เป็น 3 บุคคลได้ยังไง ? ตรงนี้เป็นจุดที่เข้าใจได้ยาก และเป็นสิ่งที่มีการถกเถียงและตีความมาตลอดเป็นพันปี แล้วการตีความที่ต่างกันไปก็นำไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 381 ได้มีการประชุมใหญ่ครั้งหนึ่งของคริสตจักรที่เมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นการประชุมที่เรียกว่า Ecumenical council หมายถึงการที่ผู้นำของชุมชนชาวคริสต์ต่างๆ ทั่วโลก (ในยุคนั้นหมายถึงจักรวรรดิโรมัน) มาประชุมกัน เป้าหมายก็คือ มาชำระคำสอนเพื่อให้เห็นตรงกัน
ในการประชุมครั้งนั้นได้มีการนำประเด็นเรื่องของ Trinity มาคุยกัน แล้วสรุปว่า “พระจิตหรือ Holy ghost เกิดมาจากพระบิดา” แล้วจบลงตรงนั้นโดยไม่ได้มีพูดถึงพระบุตรหรือพระเยซูเอาไว้
1
แต่ในปี ค.ศ. 410 ก็เริ่มมีโบสถ์ที่เติมคำว่า Filioque ที่แปลว่า “และพระบุตร" เข้าไป ทำให้ความหมายต่างไปจากเดิมคือ กลายเป็น เราเชื่อในพระจิต ซึ่งพระจิตเกิดมาจากพระบิดาและพระบุตร จากนั้นโบสถ์ของทางตะวันตกหรือโบสถ์ลาตินก็รับรูปแบบนี้มาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ
จนในปีค.ศ. 589 Filioque ก็ได้รับการยอมรับและเติมเข้าไปในคัมภีร์ของทางตะวันตกอย่างเป็นทางการ ซึ่งโบสถ์ทางตะวันออกหรือโบสถ์กรีกไม่เห็นด้วย
 
สำหรับคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์อาจจะมองว่าตรงนี้มันเป็นเรื่องเล็ก ก็แค่คำๆ เดียว แต่จริงๆ มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องและผลกระทบทางความเชื่อต่อเนื่องไปอีกมากมาย ซึ่งในส่วนนี้ผมไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เพราะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันมานานนับพันปี ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลหักล้างกัน
1
แต่ประเด็นสำคัญก็คือ Filioque มันก็เป็นหนึ่งในความขัดแย้งสำคัญในเรื่องของความเชื่อและการตีความ
 
เราไปดูเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญอีกอย่างกันดีกว่าครับ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 726 เป็นเหตุการณ์ที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อว่า Iconoclasm
เหตุการณ์นี้ก็คือ การที่โบสถ์ทางตะวันออกหรือโบสถ์กรีกทำลายรูปเคารพทั้งหมดลง ซึ่งก็คือ
ทำลายรูปภาพ รูปปั้น รูปเคารพที่เกี่ยวกับพระเยซูทิ้งทั้งหมด
คำถามคือทำไมโบสถ์ออร์โธดอกซ์จึงทำเช่นนั้น ?
เรื่องราวมันเริ่มต้นจากการที่ช่วงเวลานั้นทางชายแดนด้านตะวันออกของอาณาจักร Byzantine เริ่มโดนกองทัพทางเติร์กรุกรานหนักขึ้นจนพ่ายแพ้และเสียดินแดนให้กับกองทัพชาวเติรก์หลายครั้ง
ชาว Byzantine ก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราทำอะไรผิดพลาด ทำไมเราถึงได้แพ้สงครามต่อเนื่องขนาดนี้ มีบางอย่างที่ทำให้พระเจ้าไม่พอใจพวกเราหรือเปล่า
ในที่สุดพวกเขาก็เชื่อว่าคำตอบคือ เพราะในเวลานั้นในอาณาจักร Byzantine มีการใช้รูปเคารพของพระเยซูและพระเจ้ากันเยอะมาก ซึ่งตรงข้ามกับทางมุสลิมที่เชื่อในคำสั่งของศาสดาที่จะไม่ให้มีการนับถือรูปเคารพ รูปปั้นหรือรูปวาดของพระศาสดาหรือของพระเจ้า
1
ชาว Byzantine เองเมื่อมองกลับไปดูทางพระคัมภีร์เก่าของยิวที่เรียกว่า Old Testament ก็มีคำสอนนี้เหมือนกันก็คือไม่ให้มีการทำรูปเคารพ จักรพรรดิของ Byzantine ก็เลยคิดว่านี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้พระเจ้าไม่พอใจ แล้วทำให้พวกเข้าต้องแพ้การรบให้กับชาวเติร์ก
ก็เลยมีการประกาศออกมาจากทางจักรพรรดิลีโอที่ 3 (Leo III) ของอาณาจักร Byzantine ให้ทำลายพวกรูปเคารพ รูปปั้นและภาพเขียนของพระเจ้าหรือพระเยซูให้หมด และไม่เพียงแค่นั้นยังสั่งให้ทางโบสถ์ลาตินของทางตะวันตกทำเช่นนั้นด้วย
ซึ่งทางฝั่งของโป๊ปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมให้โบสถ์ลาตินทำตามคำสั่งนั้น โดยมองว่ารูปปั้น ภาพวาดต่างๆ ไม่ใช่รูปเคารพ เพราะชาวตะวันตกไม่ได้เคารพรูปปั้นเหล่านั้น เพียงแต่มองรูปปั้นหรือภาพวาดเป็นแค่ตัวแทนให้ระลึกถึงเท่านั้น ไม่ได้เคารพตัวรูปปั้นโดยตรง
โดยสรุปก็คือจะเห็นว่าตั้งแต่ทางตะวันตกกับทางตะวันออกห่างกันไป
มันก็เริ่มมีความห่างในด้านต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่เรื่องของภาษา วัฒนธรรม ตำราที่อ่าน เรื่องของความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ เรื่อยมา
จนกระทั่งมาถึงเรื่อง Filioque ในปีศตวรรษที่ 5 และ Iconoclasm ในศตวรรษที่ 8
 
แล้วความต่าง ความขัดแย้งที่ค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งเมื่อมีสิ่งเล็กๆ มาสะกิดก็จะปะทุขึ้นจนกลายเป็นการแตกหักที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1054
1
ในตอนหน้าเราจะไปดูว่า เรื่องของขนมปัง มันจะนำไปสู่การแตกหักระหว่างโรมันคาทอลิกและกรีกออร์โธดอกซ์ได้ยังไง
สำหรับใครที่อยากเชื่อมโยงเหตุการณ์เรื่องราวประวัติศาสตร์มากขึ้น สามารถย้อนกลับไปดูซีรีส์ที่เกี่ยวข้องตามลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
💻 Youtube [ซีรีส์รวม] ทำไมอาณาจักรโรมันจึงแตกเป็นสองส่วน
🔗 ตอนที่ 1-5 : https://bit.ly/3P0uwHt
 
🎧 Podcast ทำไมอาณาจักรโรมันจึงแตกเป็นสองส่วน
🔗 ตอนที่ 1 : https://bit.ly/3apN19f
 
🔗 ตอนที่ 2 : https://bit.ly/3c4kmHb
 
🔗 ตอนที่ 3 : https://bit.ly/3axov5R
 
🔗 ตอนที่ 4 : https://bit.ly/3nTyfL6
 
🔗 ตอนที่ 5 : https://bit.ly/3yVsqTD
💻 Youtube [ซีรีส์รวม] ศาสนาคริสต์จากลัทธิเล็กๆ กลายมาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร
🔗 ตอนที่ 1-7 : https://bit.ly/3IuBFNR
 
🎧 Podcast ศาสนาคริสต์จากลัทธิเล็กๆ กลายมาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร
🔗 ตอนที่ 1 : https://bit.ly/3asLmjb
 
🔗 ตอนที่ 2 : https://bit.ly/3NXSIsv
 
🔗 ตอนที่ 3 : https://bit.ly/3c685ll
 
🔗 ตอนที่ 4 : https://bit.ly/3IsMZd0
🔗 ตอนที่ 5 : https://bit.ly/3Is627k
 
🔗 ตอนที่ 6 : https://bit.ly/3OWWMuv
🔗 ตอนที่ 7 : https://bit.ly/3AFpxaE
1
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครชอบอ่านบทความคอมเมนต์บอกกันใต้โพสต์ได้เลยนะคะ
และสำหรับบทความซีรีส์นี้ แอดมินขอทิ้งท้ายไว้ด้วยการแแนะนำหนังสือ 2 เล่มนี้ของพี่หมอเอ้วสักหน่อยนะคะ
📖 ทำไมแฮมเบอร์เกอร์จึงไม่มีแฮม 🍔
📖 ทำไมเราเลี้ยง pig แต่กิน pork 🐷
ทำไมภาษาไทยเราพูดว่าเลี้ยงหมูแล้วเรากินเนื้อหมู แต่ทำไมภาษาอังกฤษเราเลี้ยง Pig แต่เราต้องกิน Pork ภาษาไทยเราเลี้ยงวัวแล้วเราก็กินเนื้อวัว ในภาษาอังกฤษเราเลี้ยง Cow แต่เราต้องกิน Beef ภาษาไทยเราเลี้ยงแกะแล้วเราก็กินเนื้อแกะ ในภาษาอังกฤษเราเลี้ยง Sheep แต่เราต้องกิน Lamb หรือ Mutton? คำถามเหล่านี้สามารถอธิบายได้ถ้าเราเข้าใจที่มาของคำศัพท์เหล่านี้ หนังสือ 2 เล่มนี้จะพาคุณย้อนเวลาเดินทางกลับไปในโลกอดีตเพื่อหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกันในเล่ม!
1
กดสั่งซื้อแบบแพ็กคู่ได้เลย ที่
👉 Line My Shop : https://bit.ly/3b77FL5
โฆษณา