28 ก.ค. 2022 เวลา 22:00 • การศึกษา
“เราปรับเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับห้องเรียนอย่างไรได้บ้าง?
สมาคมวัฒนพลเมือง
ชุดเครื่องมือกลางสำหรับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) เป็นผลผลิตจากโครงการวิจัยและพัฒนาแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP) ใช้กระบวนการพัฒนาเครื่องมือประเมินตามระเบียบวิธีวิจัยอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้ความร่วมมือของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการวัดประเมิน และตัวแทนครูแกนนำจากโรงเรียนในโครงการ TSQP
ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งการได้รับการรับรองจากครูผู้ทดลองใช้ มีประเด็นประเมินครอบคลุมด้านทักษะ (Skills) และเจตคติ / คุณลักษณะ (Attitude / Attribute) ของผลลัพธ์การเรียนรู้ (5 Core Learning Outcomes) คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การสื่อสาร
(Comunication) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) และกรอบการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ครอบคลุมผู้เรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ช่วงชั้นที่ 1 - 3)
มีทั้งหมด 30 องค์ประกอบย่อย 185 พฤติกรรมบ่งชี้ ใน 197 ชุดคำถามสำหรับการ Test Specification ที่ประกอบด้วย 10 วิธีการประเมิน 3 ประเภทเครื่องมือ (Checklist / rubric / rating scale) ที่ประเมินได้ทั้งพฤติกรรม ทักษะ และเจตคติของนักเรียนได้โดยวิธีการประเมินที่หลากหลาย อาทิ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ใช้ตรวจสอบว่านักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงหรือไม่ โดยดูพฤติกรรมว่า “มี/ไม่มี” หรือ “ทำได้/ไม่ได้”
หรือ แบบประเมินมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ใช้วัดระดับความถี่ของพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจงของนักเรียน โดยระดับที่ใช้ประเมินควรมี “คำอธิบายคุณภาพ” กำกับเสมอ ไม่ควรกำหนดระดับเป็น 1 ถึง 5 โดยไม่มีความหมาย การประเมินเพื่อพัฒนานิยมใช้มาตรวัดที่เป็น “ความถี่” มากกว่าระดับคุณภาพ เพราะมีความเที่ยงตรงมากกว่า สามารถสังเกตได้ชัดเจน และลดอคติที่อาจเกิดจากดุลยพินิจผู้ประเมิน
ส่วนรูปริก (Rubric) คือเครื่องมือให้คะแนนที่ประกอบด้วยเกณฑ์ด้านต่างๆ ใช้พิจารณาชิ้นงาน (Product) หรือการปฏิบัติงาน (Process) และระดับคุณภาพเกณฑ์แต่ละด้าน ตั้งแต่ระดับดีเยี่ยมถึงระดับต้องปรับปรุง
ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม: http://tdri.or.th/
สมาคมวัฒนพลเมือง
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency - Based Approach) หรือ สมรรถนะ (Competence) หมายถึง ความสามารถในทางปฏิบัติ (Performance) ภายใต้เงื่อนไข (Condition) โดยใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ระบุไว้ให้ได้มาตรฐาน (Standard) ตามเกณฑ์ปฏิบัติ (Performeance Criteria) และมีหลักฐานการปฏิบัติ (Evidence) ให้ประเมินผลและตรวจสอบได้ โดยยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก
โดย กรอบมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standdards) ถือเป็นข้อกำหนดความรู้ ทักษะ ที่ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด มีองค์ประกอบคือ 1.) หน่วยสมรรถนะ (Unit of Competency) ขอบข่ายกว้างๆ (Broad Area) ของงานหรืออาชีพหนึ่งๆ ที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ
โดยใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ 2.) สมรรถนะย่อย (Element of Competance) ภาระงานย่อย (Task) ประกอบขึ้นภายใต้หน่วยงานนั้นๆ 3.) เกณฑ์การปฏิบัติ (Performance Criteria) ภาระงานย่อยๆ (sub-task) ภายใต้สมรรถนะย่อยซึ่งเป็นผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติได้เมื่อเรียนจบหลักสูตร
สมาคมวัฒนพลเมือง
การประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ (Competency - Based Assessment) เป็นการรวบรวมหลักฐานผลการเรียนรู้ ว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าถึงเกณฑ์หรือระดับที่กำหนดในมาตรฐาน หรือตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดในหน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย และตัวชี้วัด เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนสำเร็จตามสมรรถนะที่กำหนดหรือไม่ เช่นทักษะ 4 ด้าน (ทักษะตามภาระงาน: Task skills ความสามารถในการปฏิบัติภาระงานแต่ละชิ้น, ทักษะการจัดการ: Task Management Skills ความสามารถในการจัดการกับภาระงานและกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติภายใต้งานนั้นๆ,
ทักษะในการคาดการณือุปสรรคปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (Contingency Skills) การประเมินทักษะใช้ได้ดีโดยกำหนดสถานการณ์จำลอง, ทักษะตามบทบาทและงานที่รับผิดชอบและสภาพแวดล้อม: Job/Role Environment รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีวิธีการประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) การใช้การอิงเกณฑ์ (Criterion Refererenced) การประเมินสมรรถนะสำคัญ (Crucial outcomes) และการบูรณาการสมรรถนะ
สมาคมวัฒนพลเมือง
โครงการระบบบริหารจัดการตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ปี 2565 โดยการสนับสนุนงบประมาณของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ (บพท.) จึงมีหมุดหมายสร้างและพัฒนากลไกระดับพื้นที่โรงเรียนและชุมชนผ่านนวัตกรรม “ครูสามเส้า” โดยมีกลไกเครือข่ายโรงเรียนคอยเป็นหน่วยหนุนเสริมเติมเต็ม กำหนดทิศทางที่แม่นยำแก่กลไกระดับจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ให้เกิดพลังการเชื่อมร้อยโยงใยอย่างต่อเนื่อง
โดยใช้โครงการย่อยคอยขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล, การพัฒนาระบบนิเทศติดตาม (Coaching) และการมีส่วนร่วมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล และการออกแบบวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจ.สตูล ที่คอยเจาะลึกรายละเอียดเชิงคุณภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริง อีกทั้งพัฒนาการรายงานผลเชิงปริมาณสู่สาธารณะได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีพลัง
สมาคมวัฒนพลเมือง
เพราะเราเชื่อว่าการศึกษาเป็นเรื่องของทุกๆ ภาคส่วน ที่ต้องร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลือ สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้เด็กหรือผู้เรียนมีเสรีภาพที่จะได้เรียนรู้สมวัย และมีความพร้อมต่อการประกอบอาชีพ อีกทั้งการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุข (ที่แท้จริง)
#โรงเรียนคือส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา #การวัดและประเมินผล #ฐานนิเวศการเรียนรู้สตูล #LearningSpace #พื้นที่เรียนรู้ #การศึกษาโลกในศตวรรษที่21 #ระบบยังเหลื่อมล้ำ #การเรียนรู้ยังวิกฤต #หลักสูตรฐานสมรรถนะ #CompetencyBasedApproach #วิธีการประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ
#พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล #SatunEducationSandbox
#บพท.#สมาคมวัฒนพลเมือง #มูลนิธิคลองโต๊ะเหล็มอะคาเดมี
โฆษณา