29 ก.ค. 2022 เวลา 08:21 • สุขภาพ
ด่วน WHO ประกาศ เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2565 ให้โรคไข้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขระหว่างประเทศ หลังพบการระบาดมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกและล่าสุด พบผู้ติดเชื้อคนแรกแล้วในไทย
โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง”
โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิต 1-10% ทั้งนี้การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ
• สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิต 10%
• สายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%
โรคฝีดาษลิง สามารถติดเชื้อได้จากสัตว์สู่คนโดยสามารถติดต่อได้จากสัตว์กัดแทะทุกชนิด โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง น้ำหนอง ตุ่มหนองของสัตว์ ผื่นสัตว์ การถูกสัตว์ติดเชื้อกัดหรือข่วน การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ติดเชื้อและปรุงไม่สุก
และติดจากคนสู่คนด้วยกันเองโดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งอย่างไอ จาม ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนอง สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย ซึ่งมักมาจากการใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย
อาการของโรคฝีดาษลิง เป็นอย่างไร
ระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 7-14 วัน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแสดงต่างๆ ดังนี้
• มีไข้ ไข้สูง ไม่มีแรง
• ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
• ปวดกระบอกตา
• ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย
• มีผื่นคันขึ้นตามร่างกาย เช่น บริเวณหน้า, แขน, เท้า, หลัง, แต่จะไม่ค่อยขึ้นตามร่างกาย
โดยปกติจะมีอาการ 2-3 อาทิตย์และสามารถหายไปเองได้ด้วยตัวมันเองหรือหายจากการรับประทานยารักษา จะยังคงสามารถแพร่เชื้อได้จนกว่าแผลหรือการตกสะเก็ดจะหมดไปถึงจะถือว่าพ้นจากระยะการแพร่เชื้อผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินลึกถึงชั้นผิวหนังด้านใน ทำให้หลังจากผื่นตกสะเก็ดจะทำเกิดรอยโรคหรือรอยแผลเป็นได้
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง ทำอย่างไรบ้าง
• งดรับประทานอาหารที่มีวัตถุดิบที่มาจากวสัตว์ป่าและหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มีฟันแหลมคม
• รับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุก ไม่ควรรับประทานอาหารดิบ
• ล้างมือเป็นประจำ ทำความสะอาดมือด้วยสบู่ก่อนหยิบจับอาหารเข้าปากเสมอ
• เลี่ยงการสัมผัสโดยตรงจากสัตว์ เลือด สารคัดหลั่ง ตุ่มหนอง
• ออกห่างจากผู้ติดเชื้อ ผู้ที่สงสัยเสี่ยงติดเชื้อ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย ไม่นำมือไปสัมผัสผื่น ตุ่ม หนอง ของผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ
โฆษณา