Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยุคใหม่การตลาดของไทย
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2022 เวลา 10:17 • การตลาด
ต้นเหตุที่แท้จริงของการ Bully ระหว่าง จุฬาลงกรณ์กับสถาบันราชภัฏ
ก่อนเข้าเนื้อหาขอถามคำถามก่อนนะครับว่า “ทำไมจุฬาฯจึงเข้ายาก ?”
บางคนอาจจะตอบว่าดูได้จากจำนวนที่รับกับจำนวนที่สมัครสอบ มีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างชัดเจน หรือว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถาบันที่มีบุคลากรที่มีชื่อเสียงทั้งระดับประเทศและระดับโลก มีการคัดเลือกที่เข้มข้นจึงทำให้เข้ายาก
มาดูเฉลยกันดีกว่า การที่จุฬาฯเข้ายากก็เพราะลงกลอนไว้ (พ้องเสียง) เอ้า....ผ่าง (จุฬาลงกรณ์=จุฬา ลงกลอน)
1
เรื่องของการ Bully หรือการด้อยค่าผู้อื่น เป็นหนึ่งในกลยุทธการตลาดที่บางคนอาจจะคาดไม่ถึง เป็นการตลาดในรูปแบบสร้างความเกลียดชัง จะทำให้แบ่งฝ่ายได้ชัดเจน นักการตลาดสามารถสร้างความต้องการในแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเชน เรียกได้ว่าขายได้ทั้งฝ่ายที่ Bully เขาและฝ่ายที่ถูกกระทำ
เป็นการตลาดในรูปแบบสร้างความเกลียดชัง
บางครั้งนักการตลาดที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ จากสิ่งที่เป็นไปตามครรลองของสังคมนั้นๆก็ได้ เพราะมาจากวัฒนธรรมที่สืบต่อๆกันมา
ที่มา ข่าวสด
ไม่ว่าวัฒนธรรมไหนก็ตามล้วนแล้วแต่มีเรื่องของระบบเจ้าขุนมูลนาย มีชนชั้นวรรณะอยู่แล้ว เช่น ครูก็จะได้เข้าห้องน้ำเฉพาะที่สะอาดกว่านักเรียน ผู้จัดการก็ได้ที่นั่งและอุปกรณ์ต่างๆที่ดีกว่าเจ้า เป็นต้น ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่นแล้วอยากแสดงออกให้เห็น จึงกลายมาเป็นพฤติกรรมการด้อยค่า (Bully) ผู้อื่น
1
การเข้าเรียนจุฬาฯได้ก็ถือว่าเป็นความภูมิใจของคนในครอบตัวและตัวผู้เรียนเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องของความต้องการ (Demand) และสิ่งที่มี (Supply) แน่นอนว่าสิ่งมีต้องน้อยกว่าความต้องการจึงทำให้จุฬาฯ มีโอกาสได้ได้เลือกคนตามคุณสมบัติที่ต้องการเข้าไปเรียนได้
สถาบันราชภัฏ เองตามการรับรู้ของคนไทยก็คือเข้าง่าย เพราะมีความต้องการน้อยกว่าที่นั่งที่รองรับ โอกาสที่จะคัดเลือกคนตามคุณสมบัติที่ต้องการให้เข้ามาเรียน จึงมีน้อยกว่าจุฬาฯอย่างชัดเจน
1
ที่มา: LINE TODAY
กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ยังไงโลกนี้ก็มีเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่มีทางแก้ไขได้เพราะเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เพื่อที่จะให้มนุษย์ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ (เป็นระบบคัดเลือกตามธรรมชาติ)
กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ยังไงโลกนี้ก็มีเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่มีทางแก้ไข
การ Bully จึงมีสาเหตุมาจากสัญชาตญาณของมนุษย์นั่นเอง
ลองนึกภาพจุฬาฯและธรรมศาสตร์ที่ใครๆ อยากเรียนก็เข้าไปได้เลย หรือเข้าได้ไม่ต่างกับสถาบันราชภัฏ ผลที่ออกมาก็จะไม่ได้ทำให้เกิดการแข่งขันไม่มีการพัฒนาของแต่ละสถาบันการศึกษาเลย เพราะยังไงก็ไม่แตกต่าง กลับกันเมื่อทางสถาบันราชภัฏต้องการสร้างคุณค่าให้ทัดเทียมจุฬาฯ ก็ต้องหาทางในการปรับปรุงและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับ
1
2
ส่วนอีกเรื่องที่สำคัญมากกว่าสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ ก็คือความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่มั่นใจว่าตนเองมีดีเพียงพอ ที่จำเป็นต้องเอาชื่อสถาบันมาอ้างอิง เพื่อที่จะทำให้ตนเองได้รับการยอมรับ
1
Credit: Inspire Training Academy
จริงอยู่บางแห่งบางที่ก็เลือกปฏิบัติกับผู้ที่จบมาจากแต่ละสถาบันต่างกัน แต่นั่นก็เพียงช่วงแรก ๆ เท่านั้น สุดท้ายแล้วก็ต้องพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ดี
1
แต่อย่าลืมสิ่งสำคัญที่สวรรค์มอบมาให้เราทุกคน นั่นก็คือ ทุกคนมีสิทธิเลือกที่จะอยู่หรือจะออกไปหาที่ที่ใช่สำหรับเรา ทำงานกับหน่วยงานนี้ไม่ได้ก็ไปทำที่อื่น ทำที่อื่นก็หากเหมือนกันอีก ก็สร้างอาณาจักรของเราเองก็ได้ เพราะเราก็เห็นได้จากผู้ที่สำเร็จทั่วโลกอยู่แล้ว ว่าเขาเลือกที่จะเชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าที่จะให้ใครตัดสินเขาจากสิ่งที่เห็น
ดังนั้นสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ก็มาจากธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง และความไม่มั่นใจในตัวเองที่ต้องใช้ชื่อเสียงหรือสิ่งของมาอ้างอิงเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
1
Credit: Literary Yard
สุดท้ายก็อยู่ที่เราจะเลือกว่า จะยอมตกเป็นเหยื่อของสังคม หรือ เลือกที่จะเป็นในสิ่งที่เป็นเราด้วยความภาคภูมิใจด้วยตัวเราเอง
1
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
https://www.instagram.com/modernizationmarketing/
Face Book Page: Modernization Marketing
https://www.facebook.com/modernizationmarketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
เยี่ยมชม
youtube.com
สหรัฐอเมริกาแพ้ทุกสงครามเพราะการใช้การตลาดบนความกลัว
การตลาดบนความกลัวของสหรัฐอเมริกาที่ทำให้พ่ายแพ้ทุกสงครามมาดูกันว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นจากอะไร
2 บันทึก
13
8
4
2
13
8
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย