1 ส.ค. 2022 เวลา 05:29 • ความคิดเห็น
ใบสั่งจราจร
ออกหมายจับได้จริงหรือ...?
เมื่อไม่นานมานี้... กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) มีการออกคำสั่งว่าจะตามเช็คบิล บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง
พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น.ดูแลงานจราจร แถลงว่า ที่ผ่านมามีผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับจำนวนมาก และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำ ๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเกิดปัญหาการจราจรอย่างต่อเนื่อง บช.น. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ออกใบเตือน
เมื่อได้ใบสั่งแล้วไม่ชำระค่าปรับตามระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่ง ตำรวจจะออกใบเตือน จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ภายใน 15 วัน โดยให้ถือว่าได้รับแจ้ง เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ขั้นตอนที่ 2 ออกหมายเรียก
เมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบเตือน ตำรวจจะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีฯ และพนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกให้มาชำระค่าปรับ
ขั้นตอนที่ 3 ออกหมายจับ
เมื่อไม่มาตามหมายเรียก 2 ครั้ง จะยื่นคำร้องอนุมัติศาลออกหมายจับ กรณีเบี้ยวจ่ายค่าปรับจราจร มีความผิดมาตรา 155 ผู้ใดไม่ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
ในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ฯ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียกเท่านั้น
ประเด็นนี้มีปัญหาถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลที่จะตามมาหลังถูกออกหมายจับ....นั่นคือเมื่อถูกจับตามหมายจับแล้วจะถูกส่งตัวเข้าห้องขังด้วยหรือไม่
ล่าสุดประธานศาลฎีกาได้มีการออกข้อบังคับว่าด้วยการออกหมายอาญาฉบับใหม่ โดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
ในข้อบังคับประธานศาลฎีกาฉบับใหม่ดังกล่าว ได้มีการแก้ไขข้อบังคับซึ่งวางระเบียบหลักเกณฑ์ให้บรรดาศาลใช้ดุลพินิจในการพิจารณาออกหมายอาญาต่างๆให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานต่างๆ
โดยการขออนุมัติหมายจับหมายค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังคงให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อบังคับเดิมที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องนำพยานหลักฐานที่ได้มา เข้าทำการไต่สวนจนศาลเชื่อว่าผู้ต้องหาน่าจะเป็นผู้กระทำผิด และมีพฤติการณ์หลบหนีจริงศาลจึงจะพิจารณาออกหมายจับให้
แต่ในเรื่องการที่ศาลจะออกหมายขังให้ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวมาแล้วนี่สิ ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฉบับใหม่ ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญ....
ซึ่งกำหนดไว้ในข้อที่42 โดยได้กำหนดให้ความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี แม้จะปรากฏหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิด แต่หากไม่ปรากฏเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ศาลจะไม่ออกหมายขังให้ก็ได้
ดังนั้นต่อไปในความผิดอาญาเกือบทุกประเภท หากผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี ศาลจะไม่พิจารณาออกหมายขังให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในชั้นสอบสวนเกือบทุกกรณี
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องออกหมายเรียกผู้ต้องหาก่อนเกือบทุกกรณี เพราะหากไม่ออกหมายเรียกแต่แกล้งขอหมายจับเลย
กรณีหากจับตัวผู้ต้องหามาได้แล้ว หากผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีมาก่อน (ไม่เคยขัดหมายเรียก) ศาลจะไม่ออกหมายขังต่อให้ ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องหาที่ถูกจับตัวมาต้องถูกปล่อยตัวกลับไปทันที
ซึ่งอาจถือเป็นนโยบายใหม่ที่ศาลฎีกาไม่ต้องการให้มีการกักขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างการสอบสวนของตำรวจ หากเขาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีจริงๆ
ดังนั้นต่อไปใครได้รับหมายเรียกตำรวจต้องพยายามไปพบตามหมายเรียกครับ เพราะจะได้ไม่ต้องถูกจับไปขัง ตามที่ตำรวจชอบเอามาขู่บ่อยๆ..
กล่าวโดยสรุปก็คือว่า หมายเรียกและหมายจับนั้น ตำรวจมีอำนาจหน้าที่จะออกได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจับมาแล้วจะต้องถูกส่งเข้าห้องขังโดยอัตโนมัตินะครับ
การออกหมายขังเป็นอำนาจของศาลครับผม
ปรึกษาปัญหากฎหมาย โทร. 0860400091
โฆษณา