2 ส.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป การเงินระดับประเทศ ด้วยภาพจำลอง ระดับครอบครัว
- ศรีลังกาล้มละลาย ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันได้
- เมียนมารัดเข็มขัด จำกัดการจ่ายหนี้ต่างประเทศ
- เงินกีบลาวอ่อนค่า เงินเฟ้อในประเทศพุ่ง
4
ซึ่งวิกฤติการเงินระดับประเทศเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อาจจะฟังดูเข้าใจยาก
ไม่ว่าจะเป็น ดุลบัญชีเดินสะพัด, ทุนสำรองระหว่างประเทศ และหนี้ต่างประเทศ
1
วันนี้ลงทุนแมนจะอธิบายให้ฟังแบบง่าย ๆ
ด้วยการจำลองภาพให้เหมือนกับการเงินในระดับครอบครัวที่เราคุ้นเคย
1
หลับตานึกภาพว่า ครอบครัวของเราทำธุรกิจ “ท่องเที่ยวเชิงเกษตร” และมีคู่ค้าสำคัญเป็นชาวต่างชาติ
เพราะฉะนั้น รายได้โดยส่วนใหญ่ของครอบครัว จะมาจาก 2 ทางหลัก คือ
1. ขายสินค้า เช่น ขายผลผลิตทางการเกษตร และของที่ระลึก
2. ขายบริการ เช่น ขายบริการพาท่องเที่ยว และการพักค้างคืน
2
ในขณะที่รายจ่าย ก็เหมือนกับครอบครัวอื่นทั่วไป คือ
- ค่าอาหาร, ค่าน้ำมัน, ค่าไฟฟ้า, ค่าอุปกรณ์เครื่องใช้ รวมแล้วเรียกว่า “ซื้อสินค้า”
- ค่าโทรศัพท์, ค่าขนส่งสินค้า และค่าการอบรมพนักงาน รวมแล้วเรียกว่า “ซื้อบริการ”
1
เมื่อนำรายรับและรายจ่าย มาหักลบกันแล้ว
ฝั่งการซื้อขายสินค้า เรียกว่า ดุลการค้า
ฝั่งการซื้อขายบริการ เรียกว่า ดุลบริการ
การนำทั้งดุลการค้าและดุลบริการมารวมกัน เรียกว่า ดุลบัญชีเดินสะพัด
12
ในเวลาที่เศรษฐกิจดี
ครอบครัวสามารถขายสินค้าเกษตรได้มากกว่า ค่าสินค้าที่เราซื้อเข้ามา ก็จะเรียกว่า เกินดุลการค้า
4
และถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวตลอดปีมากกว่า ค่าบริการที่เราซื้อ ก็จะเรียกว่า เกินดุลบริการ
2
เงินส่วนที่เกินดุลนั้น เราก็จะเก็บเข้าตู้เซฟของครอบครัว กลายเป็น “เงินทุนสำรอง”
ซึ่งเงินทุนสำรองในตู้เซฟก็จะมีทั้งดอลลาร์สหรัฐ,​ ยูโร, หยวน หรือจะนำไปซื้อเป็นทองคำด้วยก็ได้
7
ในทางกลับกัน เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี หรือเกิดวิกฤติโควิด 19 ทำให้ขายสินค้าได้น้อยลง นักท่องเที่ยวก็เข้ามาเที่ยวไม่ได้ จนรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ก็จะเกิดภาวะ “ขาดดุล”
4
ซึ่งสินค้าที่เราซื้อ เขาจะรับเป็นสกุลเงินที่อยู่ในตู้เซฟของเรา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นการขาดดุล ก็จะทำให้ทุนสำรองร่อยหรอลง
1
โดยการขาดดุล อาจแปลได้ว่า เราใช้สกุลเงินต่างประเทศมากกว่าที่หาได้
เมื่อเงินสกุลต่างประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น จึงแข็งค่า ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง
5
สินค้าหลายอย่างที่ครอบครัวของเราผลิตเองไม่ได้ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ
อย่างเช่น น้ำมัน ไฟฟ้า เครื่องจักรกลทางการเกษตร เราก็ต้องซื้อจากต่างประเทศ
1
เมื่อต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการนำเข้ามา สิ่งของเหล่านี้ก็จะมีราคาแพงขึ้น หรือที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ”
2
ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามีเงินสกุลต่างประเทศไม่เพียงพอในตู้เซฟ ก็จะแปลว่า ทุนสำรองได้หมดลง ก็จะเกิดเหตุการณ์ เช่น
- ไม่มีเงินสกุลต่างประเทศเพียงพอที่จะซื้อน้ำมัน หรือซื้อเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนในครอบครัว
- มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศคืนได้
3
เมื่อเจ้าหนี้เห็นว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เครดิตของครอบครัวก็จะลดต่ำลง
การที่เราจะขอกู้เงินในสกุลเงินต่างประเทศเพิ่ม ก็ทำได้ยากขึ้น หรือถ้ากู้ได้ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่าแต่ก่อนมาก
2
ถึงตอนนี้ ครอบครัวของเราก็จะต้องเริ่มรัดเข็มขัด ลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ ประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า
1
หรืออาจถึงขั้นต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศ เพื่อรักษาเงินออมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศไว้ให้มากที่สุด
1
เพราะเงินออมที่มีอยู่อย่างน้อยนิด ต้องแบ่งไปใช้ในหลายส่วน ทั้งซื้อของใช้ที่จำเป็น, จ่ายหนี้ระยะสั้นเพื่อไม่ให้เสียเครดิต รวมถึงต้องแบ่งอีกส่วนเอาไว้ต่อยอดธุรกิจ เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือปุ๋ยอีกด้วย
1
เราอาจประเมินว่าครอบครัวของเราอยู่ในวิกฤติแล้วหรือยัง โดยคำนวณง่าย ๆ ว่า
เงินออมที่มี เพียงพอที่จะซื้อของเข้าบ้าน หรือเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ได้อีกกี่เดือน
3
ในขณะที่ระดับประเทศก็มีสัดส่วนแบบนี้เช่นกัน แต่จะให้ความสำคัญกับสกุลเงินต่างประเทศเป็นหลัก คือ
- สัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้า
- สัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศ
จากภาพจำลองในระดับครอบครัว เราอาจจะพอเทียบเคียงกับภาพในระดับประเทศได้ว่า
ประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูง
แต่ต้องนำเข้าพลังงาน และสินค้าจำเป็นจากต่างประเทศ
แถมบางประเทศก็ยังใช้จ่ายเกินตัว
5
เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้รายได้ลดลง เช่น วิกฤติโควิด 19
ประเทศนั้นจึงขาดดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเริ่มไม่เพียงพอ
ทำให้ต้องกู้ยืมจากต่างประเทศ
1
เมื่อทุกอย่างมาพบกัน จึงทำให้เสถียรภาพทางการเงินมีปัญหา เหมือนที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ตอนนี้นั่นเอง..
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา