3 ส.ค. 2022 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
รู้หรือไม่?
3 สิงหาคม เมื่อ 530 ปีที่แล้ว เป็นวันที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินเรือ ก่อนจะไปพบทวีปอเมริกา ซึ่งได้นำไปสู่การเปลี่ยนอย่างมากมายทั้งดีและร้าย วันนี้แอดมินเลยอยากพาทุกคนแล่นเรือกลับไปย้อนดูความเป็นมาผ่านคอนเทนต์นี้ของพี่หมอเอ้วกันค่ะ
ตอน เรือสามลำที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์
3 สิงหาคม ค.ศ. 1492 โคลัมบัสออกเดินเรือ...
ถ้าใครที่ชอบฟังระหว่างขับรถหรือทำงาน สามารถย้อนกลับไปฟังได้ที่โพสต์
😺ภาพ โดย แอดมินฝ้าย
😎 เสียง โดย แอดมินท็อป
ในช่วงเย็นๆ ของวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.1492 เรือเล็กๆ สามลำแล่นออกจากท่าเรือของเมือง Palos de la Frontera การเคลือนที่ผ่านผิวน้ำของเรือสามลำนี้ก่อให้เกิดคลื่นกระเพื่อมออกไปเป็นวงกว้าง แต่ผลกระทบของคลื่นที่แผ่นวงกว้างออกไปนี้ยังส่งผลกระทบกว้างไกลไปหลายทวีปทั่วโลก คลื่นนี้เมื่อกระทบไปยังทวีปอเมริกาจะนำไปสู่ความตายของชาวพื้นเมืองนับล้านๆ คน เมื่อกระทบไปถึงทวีปแอฟริกาก็ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนผิวดำอีกหลายล้านจากบ้านเกิด คลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ยังข้ามกาลเวลามาจนถึงยุคปัจจุบันด้วย
ทุกวันนี้เวลามีหลายอย่างที่เมื่อเราพูดถึง เราจะรู้สึกว่ามีความเป็น “ประจำชาติ” เราจะรู้สึกเหมือนว่าสิ่งนั้นอยู่มานานมาก จนเราอาจจะไม่ได้นึกถึงว่ามันเริ่มต้นขึ้นมาได้อย่างไร เช่น ถ้าเราพูดถึงอาหารประจำชาติอังกฤษเราคงต้องนึกถึง fish and chip หรือปลากับมันทอด พูดถึงอาหารอิตาลีเราจะต้องได้เห็นส่วนผสมสำคัญคือ pomodoro หรือมะเขือเทศ พูดถึงอเมริกันก็ต้องแฮมเบอร์เกอร์กับเฟรนช์ฟรายส์ พูดถึงมันม่วงเราจะนึกถึงญี่ปุ่น
พูดถึงอาหารไทยก็ต้องนึกถึงรสเผ็ด ต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบ ส่วนส้มตำเป็นเมนูอาหารที่คนไทยชอบกันเกือบทุกภาคของประเทศ พูดถึงสับปะรดบางคนอาจจะนึกถึงภูเก็ต แต่ถ้าสับปะรดบนพิซซ่าเราจะนึกถึง Hawaiian พูดถึงช็อคโกแลตชั้นดีต้องเป็นช็อคโกแลตจากสวิตเซอร์แลนด์หรือไม่ก็เบลเยี่ยม
เรารู้ว่าทุกอย่างต้องมีต้นกำเนิดใช่ไหมครับ ทุกอย่างที่พูดมานี้รวมไปถึงอื่นๆ ถ้าไล่หาต้นกำเนิดไปเรื่อยๆ จะสามารถย้อนกลับไปที่เรือสามลำนั้นได้
1
ชาวยุโรปรู้จักและชื่นชอบสินค้าจากทางเอเชียมานานตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันแล้ว ในสายตาของชาวยุโรปเอเชียเป็นดินแดนที่ ร่ำรวยและศิวิไลซ์ เต็มไปด้วยสินค้าที่แปลกมากมาย ของจากเอเชียเหล่านี้เป็นของหรูหราราคาแพงที่ใครๆ ก็อยากได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำหอม เครื่องเทศ หรือผ้าไหม ชาวยุโรปส่วนใหญ่พอจะเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเทศจีน อินเดีย และหมู่เกาะเครื่องเทศมาบ้าง แต่พ่อค้าชาวยุโรปส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสินค้าเหล่านี้แต่ละอย่างส่งมาจากที่ไหน เพราะการค้าขายส่วนใหญ่จะเป็นการค้าขายส่งผ่านกันเป็นทอดมาเรื่อยๆ
แต่แล้วก็มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่ทำให้สินค้าจากตะวันออกเดินทางมายุโรปได้ยากขึ้น
เมื่อศาสนาอิสลามแผ่กระจายไปกว้างขึ้น ชาวมุสลิมก็รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นมากขึ้น สินค้าตะวันออกที่เดิมส่งผ่านดินแดนแถวๆ ตะวันออกกลางได้อย่างง่ายดาย ก็เริ่มทำได้ยากขึ้น หลายดินแดนในตะวันออกกลางเริ่มมีการตั้งด่านเก็บภาษีค่าผ่านทางในราคาแพง พ่อค้าชาวยุโรปซึ่งไม่อยากจ่ายเงินให้พ่อค้าคนกลาง ไม่อยากจ่ายภาษีก็พยายามมองหาเส้นทางมาค้าขายกับเอเชียทางอื่น
คำถามคือ จากยุโปรจะไปเอเชียโดยไม่ผ่านตะวันออกกลางจะทำได้อย่าง?
คำตอบที่ชัดเจนคือ ต้องไปทางทะเลเท่านั้น เพราะถ้าเดินไปบนแผ่นดินยังไงก็ต้องผ่านชาวมุสลิม
เมื่อเลือกจะเดินทางเรือ ก็มีคำถามต่อว่า จะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาดี? ถ้าเรากางแผนที่โลกแบบที่ใช้กันทั่วไปออกมานะครับ เราจะเห็นว่ายุโรปอยู่ทางซ้ายมือของเรา ส่วนเอเชียอยู่ทางขวามือ
1
ถ้าจะเดินเรือจากซ้ายมาขวาก็ต้องเดินเรือลงใต้ก่อน แล้วอ้อมแหลมของทวีปแอฟริกาแล้วจึงจะมุ่งหน้าไปทางขวา (ตะวันออก) ได้ ฟังดูง่ายแต่ในยุคที่การเดินเรือยังต้องอาศัยลมเป็นหลัก การเดินเรือเช่นนี้ทำได้ไม่ง่ายนักเพราะลมไม่ได้พัดไปตามทิศทางที่เราต้องการเสมอไป ถ้าเลาะชายฝั่งของแอฟริกาลงไปจนถึงปลายแหลมได้แล้ว ตรงนั้นยิ่งยากเพราะเป็นจุดบรรจบของน้ำเย็นและน้ำอุ่นทำให้มีคลื่นลมแรง เดินเรืออ้อมแหลมยากมาก
ถ้าโชคดีผ่านจนไปถึงตะวันออกได้ ก็ต้องหาทางขนของกลับยุโรป ขาไปว่ายากแล้วแต่ขากลับยากยิ่งกว่า เพราะต้องสวนกระแสลม
สุดท้ายนักเดินเรือของโปรตุเกสก็หาทางวิธีเดินทางไปตะวันออกได้สำเร็จ (ทำได้อย่างไร ติดตามฟังต่อได้ใน episode “แมกเจลแลน เดินทางรอบโลกจริงหรือ?” (🎧 : https://bit.ly/3xo2TQj)
เมื่อสเปนเห็นว่าโปรตุเกสทำท่าจะเดินเรือไปเอเชียได้สำเร็จก็เกิดรู้สึกยอมไม่ได้ จึงรับข้อเสนอของกัปตันชาวอิตาเลียนวัย 41 ปีที่ชื่อคริสโตเฟอร์ โคมลัมบัส ซึ่งเสนอวิธีการแล่นเรือไปเอเชียในทิศตรงข้ามนั่นคือ เดินเรือไปทางซ้ายมือของเรา (ไปทางตะวันตกจนตกขอบแผนที่) เพื่ออ้อมโลกไปเอเชีย
ในยุคนั้นชาวยุโรปที่มีการศึกษาส่วนใหญ่รู้กันดีว่าโลกกลม ไม่มีใครกลัวว่าแล่นเรือไปแล้วจะตกขอบโลก แต่ความยากของแผนการเดินเรือนี้คือ
โคลัมบัสต้องล่องเรือเข้าไปในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่และเวิ้งว้าง การเดินเรือในลักษณะนี้ถือเป็นการเดินเรือที่ใหม่สำหรับชาวยุโรป เพราะการเดินเรือออกทะเลในยุคนั้นทั้งหมดจะเป็นการเดินเรือเลาะๆ ขอบแผ่นดินไป เรียกว่าตลอดระยะทางของการเดินเรือจะต้องมองเห็นฝั่งอยู่ลิบๆ ตลอดเวลา
3
ถ้ามองจากมุมมองของเรา การตัดสินใจของโคลัมบัสเป็นการตัดสินใจที่ค่อนข้างบ้าบิ่นมาก เพราะในปัจจุบันเรารู้ว่าจากยุโรปมาเอเชียเส้นทางนั้นต้องเดินเรือผ่านทั้งมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทแปซิฟิก ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาลคำถามคือ ทำไมโคลัมบัสจึงกล้าที่จะทำเช่นนั้น?
1
คำตอบคือ เขาคำนวนผิดครับ
1
โคลัมบัสไม่ใช่คนแรกที่เชื่อว่า การเดินเรือไปทางทิศตะวันตกแล้วจะไปเจอเอเชียได้ เพียงแต่ไม่มีใครรู้จริงๆ ว่ามหาสมุทรแอตแลนติกนั้นกว้างใหญ่แค่ไหน แต่โคลัมบัสเชื่อว่าเขารู้ เพราะจากข้อมูลต่างๆ ที่เขารวมรวมมาคำนวนนั้น เส้นทางเดินจากยุโรปไปเอชียทางนี้มีระยะทางแค่ประมาณ 3,680 กม. แต่ด้วยความที่การเดินเรือครั้งนี้เป็นการเดินเรือไปสู่ผืนน้ำที่ไม่มีใครเคยไปมาก่อน ลูกเรือจึงกลัวมาก โคลัมบัสถึงกับต้องทำบันทึกการเดินทางหลอกขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อหลอกไม่ให้ลูกเรือรู้ว่าเดินทางไปไกลขนาดไหน
3
วันที่ 12 ตุลาคม หรือประมาณสองเดือนกว่าๆ กลางทะเลย โคลัมบัสก็ได้เห็นแผ่นดินที่เขาเชื่อว่าเป็นเอเชีย แต่ทุกวันนี้เรารู้ว่าเขาไม่ได้ค้นพบเส้นทางไปเอเชีย แต่เขาค้นพบเส้นทางไปทวีปอเมริกา
500 กว่าปีผ่านไป ….
ในปี 1972 นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ อัลเฟรด ครอสบี้ (Alfred Crosby) ตั้งข้อสังเกตว่า นับตั้งแต่โคลัมบัสเดินเรือไปถึงอเมริกาได้นั้น การค้าขายแลกเปลี่ยนที่เดิมจำกัดอยู่แค่การเดินเท้าระหว่าสามทวีปคือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ก็กลายเป็นการค้ารอบโลกอย่างแท้จริง
1
เมื่อการเดินเรือกลายมาเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางและส่งสินค้าระหว่างทวีป มนุษย์ก็สามารถเดินทางไปที่ไหนๆ ในโลกได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่เดินทางไปทั่วโลกไม่ได้มีแต่มนุษย์เท่านั้น สัตว์ ต้นไม้ ผลไม้ พาหะนำโรคอย่าง หนู แมลงสาบ หมัด และเชื้อโรคก็เดินทางไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน
หลังจากโคลัมบัสเดินทางไปเหยียบทวีปอเมริกาได้ไม่นานนัก สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เคยจำกัดอยู่แค่ในทวีปใดทวีปหนึ่งก็สามารถพบได้เกือบทั่วโลก ครอสบี้ เรียกปรากฎการณ์ที่สิ่งมีชีวิตต่างๆกระจายไปทั่วโลก เพราะการเดินเรือในครั้งนั้นว่า The Columbian Exchange
คำถามคือ The Columbian exchange หรือการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นหลังการเดินเรือของโคลัมบัสสำคัญอย่างไร? การที่สิ่งมีชีวิตหนึึ่งเดินทางไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่สำคัญอย่างไร?
อย่างแรกที่เห็นได้ชัดและเร็วคือ การระบาดของโรค เพราะหลังจากชาวยุโรปเดินทางไปถึงทวีปอเมริกาได้ไม่นาน ชาวพื้นเมืองอเมริกาก็เริ่มป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่ไม่มีในทวีปอเมริกาอย่างรวดเร็ว เช่น โรคไข้ไทฟัส โรคคอตีบ มาลาเรีย อหิวาตกโรค ไขหวัดใหญ่ และโรคหัด เป็นต้น
ประมาณว่าหลังจากโคลัมบัสเหยียบแผ่นดินทวีปอเมริกาได้ประมาณ 150 ปี ชาวพื้นเมืองอเมริกันเสียชีวิตไปประมาณ 90% จากประชากรที่มีอยู่เดิม การเสียชีวิตอย่างมากมายนี้ มีผลให้ วัฒนธรรม ความรู้ที่อารยาธรรมต่างๆ ในทวีปอเมริกาสะสมมาเป็นหมื่นๆ ปีหายไปเกือบหมด
การเคลื่อนย้ายของอาหารทำให้เกิดอาหารใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ก่อนหน้าโคลัมบัส ทวีปอเมริกาไม่มี หมู แกะและเนื้อวัว ชาวยุโรปไม่เคยรู้จัก มันฝรั่ง ข้าวโพด และมะเขือเทศ คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เคยกินพริกขี้หนู ไม่รู้จักมะละกอที่สามารถนำมาทำเป็นส้มตำ คนฮาวายไม่รู้จักสับปะรด ชาวสวิสและเบลเยี่ยมไม่รู้จักช็อคโกแลต
1
ารเคลื่อนย้ายของอาหารพลังงานสูงจากทวีปอเมริกาไปยุโรปทำให้ชาวยุโรปซึ่งขาดแคลนอาหารมาเป็นเวลานาน มีอาหารกินมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรในยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในศตวรรษต่อมา เมื่อประชากรยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาหารที่เพิ่มขึ้นมีไม่พอ ความอดอยากจึงวนกลับมาอีกครั้ง ชาวยุโรปจำนวนมากจึงหนีความอดอยากยากไปตายเอาดาบหน้ายังทวีปอเมริกา ต่อมาประเทศแห่งเสรีภาพของคนขาว (คนดำยังเป็นทาส) ที่ชื่อ อเมริกาจึงเกิดขึ้น
2
เมื่อชาวยุโรปที่ย้ายมาอยู่ทวีปอเมริกามีที่ดินในการเพาะปลูกมากขึ้น ก็ทดลองปลูกพืชต่างๆ จนพบว่าพืชสำคัญที่ทำให้ร่ำรวยมากขึ้น การทำไร่อ้อย (เพราะยุโรปเริ่มติดรสหวาน) ก็พยายามขยายพื้นที่เพาะปลูกจนเกินกำลังของคนขาว จึงต้องหาทาสมาทำงานให้ แต่พอดีคนพื้นเมืองส่วนใหญ่ตายไปเกือบหมดแล้ว ครั้นจะเอาคนขาวด้วยกันมาเป็นทาส มันก็แยกยากว่าคนไหนเป็นทาสคนไหนเป็นคนอิสระ จึงต้องไปขนคนดำจากทวีปแอฟริกามาเป็นทาสแทน
2
ธุรกิจการค้าทาสจึงเฟื่องฟูขึ้นเรื่อยๆ ประมาณคร่าวๆ ว่าตลอดระยะเวลาของการค้าทาสนั้น มีคนดำถูกลักพาตัวออกจากทวีปแอฟริกาไปยังอเมริกาประมาณ 15 ล้านคน
4
ประชากรในยุโรปที่เพิ่มขึ้น บวกกับการค้าขายระหว่างทวีปที่มากขึ้น เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความต้องการที่จะผลิตสินค้าให้มากขึ้นจนนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา และการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเดินเรือเพื่อหาวัตถุดิบและระบายผลผลิตมากขึ้น เกิดเป็นการแข่งขันระหว่างชาติตะวันตกด้วยกัน นำไปสู่ยุคสมัยของการล่าอาณานิคม และอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมาย
หลังจากการเดินทางในอเมริการอบแรก โคลัมบัสยังเดินทางไปกลับเช่นนี้อีกหลายรอบ ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่เขาเดินทางไปอเมริกา เขาเชื่อเสมอว่าเขาค้นพบเส้นทางเดินเรือไปเอเชีย เขาจึงพลาดที่จะรับรู้ว่าสิ่งที่ค้นพบนั้นคือทวีปใหม่ที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จัก และผลของการค้นพบนั้น มีผลกระทบต่อโลก (ทั้งด้านดีและไม่ดี) ยิ่งใหญ่กว่าการค้นพบเส้นทางไปเอเชียมากนัก
1
อย่ารอช้า! ถ้าใครกำลังสนใจ Pre-order หนังสือ Best Seller เรื่องเล่าจากร่างกาย และ เหตุผลของธรรมชาติ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ปี 2022 สามารถสั่งซื้อกันได้ที่
📌 ภายใน 30 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม 2565 เท่านั้น
พร้อมจัดส่งวันที่ 9 สิงหานี้เลย ฟินๆ ก่อนใคร เรื่องเล่าจากร่างกายทุกเล่มมีแจกลายเซ็นพี่หมอเอ้วให้ด้วยนะค้า 🥳
โฆษณา