4 ส.ค. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
AWS ระบบคลาวด์ของ Amazon ที่เป็นกระดูกสันหลัง องค์กรทั่วโลก
1
ในปัจจุบัน Amazon นับเป็น 1 ใน 5 บริษัท ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 36 ล้านล้านบาท ซึ่งหลายคนคงมองว่าความสำเร็จของ Amazon เกิดมาจากการเป็นผู้นำในตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของโลก
1
แต่ในความเป็นจริงแล้ว Amazon ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
และยังเป็นธุรกิจเครื่องจักรผลิตกำไร ที่สามารถทำกำไรได้มากกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเสียอีก
นั่นก็คือ ธุรกิจคลาวด์ ที่ชื่อว่า Amazon Web Services หรือ “AWS”
1
รู้ไหมว่า ถ้าเราแยก AWS ออกมาเป็นอีกบริษัทหนึ่ง
บริษัทนี้อาจมีศักยภาพที่จะเติบโต จนมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้เช่นกัน
2
แล้วมันเพราะอะไร
AWS ถึงมีมูลค่ามหาศาลซ่อนอยู่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ย้อนกลับไปเมื่อต้นทศวรรษ 2000s บริษัท Amazon.com ที่อยู่ในช่วงการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้ประสบปัญหาเรื่องระบบฐานข้อมูล สำหรับรองรับปริมาณการซื้อขายสินค้า และจำนวนผู้ประกอบการบนเว็บไซต์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
บริษัทจึงตัดสินใจ หันมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่ใช้ในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือ ระบบคลาวด์ ขึ้นมาเอง เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
1
แต่ต่อมา Amazon เล็งเห็นว่าระบบคลาวด์น่าจะมีศักยภาพ สามารถนำมาให้บริการกับธุรกิจออนไลน์ประเภทอื่น ๆ ได้อีกมากมาย นอกเหนือจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
1
จึงนำไปสู่การก่อตั้งหน่วยธุรกิจ “Amazon Web Services” เปิดให้บริการในปี 2006 หรือราว 16 ปีก่อน โดยมีคุณ Andy Jassy ซีอีโอของ Amazon คนปัจจุบัน เป็นผู้บริหารธุรกิจคลาวด์มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก
1
เมื่อเวลาผ่านไป การเติบโตของโลกออนไลน์ ก็ทำให้ความต้องการใช้บริการคลาวด์ของ AWS เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เพราะลูกค้าสามารถเข้าถึงระบบจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องลงทุนเอง เพียงแค่จ่ายค่าบริการให้แก่ AWS เท่านั้น
1
ทำให้ AWS เป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจอินเทอร์เน็ต และมีแพลตฟอร์มหลายรายสมัครเข้าใช้บริการ
ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Netflix, Twitter, Twitch, LinkedIn, Adobe, Airbnb, Spotify, Slack และ Xiaomi
7
ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมคลาวด์ทั่วโลก มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 6.5 ล้านล้านบาท ซึ่งการที่ AWS บุกเบิกธุรกิจคลาวด์มาก่อน ทำให้สามารถครองส่วนแบ่งในตลาดเหนือกว่าคู่แข่งอย่าง Microsoft และ Google รวมกันเสียอีก
1
ส่วนแบ่งในตลาดบริการคลาวด์
อันดับ 1 Amazon Web Services ส่วนแบ่ง 33%
อันดับ 2 Microsoft Azure ส่วนแบ่ง 21%
อันดับ 3 Google Cloud ส่วนแบ่ง 10%
2
ทีนี้ เรามาลองดูผลประกอบการของธุรกิจ AWS กันบ้าง ?
1
ในปี 2021 บริษัท Amazon มีรายได้รวมอยู่ที่ 17.0 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจาก
- ธุรกิจในอเมริกาเหนือ รายได้ 10.1 ล้านล้านบาท
- ธุรกิจในต่างประเทศ รายได้ 4.6 ล้านล้านบาท
- ธุรกิจ AWS รายได้ 2.2 ล้านล้านบาท
1
ส่วนผลกำไรและขาดทุนจากการดำเนินงาน รวมอยู่ที่ 9.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
- ธุรกิจในอเมริกาเหนือ กำไร 2.6 แสนล้านบาท
- ธุรกิจในต่างประเทศ ขาดทุน 0.3 แสนล้านบาท
- ธุรกิจ AWS กำไร 6.7 แสนล้านบาท
2
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งในอเมริกาเหนือและต่างประเทศ ยังเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 87% ของบริษัท แต่จากการที่มีคู่แข่งเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้อัตรากำไรค่อนข้างต่ำ หรือกระทั่งขาดทุน
ในขณะที่ธุรกิจ AWS ซึ่งมีสัดส่วนรายได้แค่ราว 13%
แต่กลับสามารถทำกำไรได้สูงมาก จนคิดเป็นสัดส่วน 3 ใน 4 ของกำไรทั้งบริษัท เลยทีเดียว
1
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามต่อมาคือ ธุรกิจ AWS ควรมีมูลค่าเท่าไร ?
1
ถ้าสมมติให้ธุรกิจ AWS แยกตัวออกมาเป็นบริษัท
โดยคาดการณ์อัตราส่วนมูลค่าบริษัทต่อกำไร หรือ P/E ไว้ที่ประมาณ 20 เท่า
4
ซึ่งไม่มากไม่น้อยจนเกินไป สำหรับธุรกิจที่เติบโตถึง 37% ในปีที่ผ่านมา และยังเป็นเมกะเทรนด์สำคัญของโลก
เท่ากับว่าบริษัท AWS แห่งนี้ จะมีมูลค่ามากถึง 3.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 13.4 ล้านล้านบาท
ซึ่งนับเป็นบริษัทขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของโลก เลยทีเดียว
3
อย่างไรก็ตาม ทาง Amazon ยังไม่ได้มีแผนที่จะแยกธุรกิจ AWS ออกมาเป็นบริษัทในเร็ว ๆ นี้
แต่ด้วยพื้นฐานอันแข็งแกร่งของบริการคลาวด์ ก็น่าจะก้าวขึ้นมามีความสำคัญต่อผลประกอบการ และมูลค่าของบริษัท Amazon มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเลย
ในตอนนี้เมื่อพูดถึงชื่อของ Amazon คนส่วนใหญ่อาจมีภาพจำเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่
แต่สำหรับลงทุนแมนแล้ว
ภาพจำของ Amazon คือมีกำไรหลักมาจากธุรกิจคลาวด์ และมีอีคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจเสริม นั่นเอง..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
1
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา