6 ส.ค. 2022 เวลา 10:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Innovation Mixer (ตอนที่ 2)
มุมมองการทำ Digital Transformation ที่เรือใหญ่ รู้ตัวแล้วว่าต้องสร้างเรือเล็ก เพื่อฝ่าฟันมรสุม Disruption
ต่อไปนี้คือข้อสรุป ตอนที่ 2 ที่ได้จาก พี่โล่ย คุณชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร COO กลุ่มโรงพยาบาล BDMS และ CEO โรงพยาบาลสมิติเวช และพี่หมี ศานิตย์ ภู่บุบผา MD บริษัท Nexter Digital ซึ่งเป็นเรือลำเล็กของบริษัท SCG
1. เมื่อเรือใหญ่ต้องการสร้างเรือเล็ก สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ต้องหาแนวร่วม ต้องทำให้ผู้ใหญ่เชื่อก่อน ก็ต้องคุยกับเบอร์ 1 เมื่อเบอร์ 1 เห็นด้วยแล้ว ก็ต้องคุยกับผู้บริหารเลเวลถัดไป
2. สำหรับผู้บริหารเลเวลถัดไปนั้น ถ้ามี 20 คน การชักจูงให้คน 20 คนเชื่อ เป็นไปได้ยาก และใช้เวลานาน วิธีที่ดีที่สุดคือ ทำให้เขาเห็นด้วยสักจำนวนหนึ่ง เช่น ขอสัก 5 คนจาก 20 คน แล้วตั้งเป็น Growth Council เพื่อช่วยในการผลักดัน
3. กำหนดเงื่อนไขว่า Growth Council จะต้องช่วยสนับสนุนโครงการนี้ และมีเงื่อนไขว่าการเรียกประชุม Growth Council จะจัดขึ้นเมื่อไรก็ได้
4. ความท้าทายข้อถัดไป คือการเลือกคนมาลงเรือ เพราะการเลือกคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเรือใหญ่มาโดยตลอดให้มาลงเรือเล็กนั้น ต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเขา เพราะวิธีทำงานไม่เหมือนกัน ต้องเปลี่ยนจิตวิญญาณลูกจ้าง ให้เป็นเถ้าแก่น้อย (จริงๆ ตรงจุดนี้อยากถามเคล็ดลับจากวิทยากร แต่เวลาหมด เลยไม่ได้ถาม)
5. ความท้าทายอีกข้อในการเลือกคนคือ ต้องหาตัวจริงให้ได้ หลายคนอยากมาทำเพราะต้องการหนีจากงานที่ทำอยู่เดิม หรือหนีปัญหาที่เขาเผชิญอยู่
6. นอกจากนี้ยังพบว่าการเลือกคน โดยจิ้มที่คนเก่ง แล้วให้คนเก่งมาร่วมทีม ส่วนใหญ่มักจะไม่สำเร็จ ระยะหลังจึงใช้วิธีทำ Career Pitching ให้คนที่สนใจจะร่วมงานมานำเสนอเลย
7. ความท้าทายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกคนคือ เจ้านายไม่ให้มา เพราะคนที่เลือก มักจะเป็นมือหนึ่งของหน่วยงานนั้นๆ ดังนั้น ต้องให้เครดิตหน่วยงานที่ส่งคนมาด้วย ต้องถือว่า การส่งคนมาร่วมโครงการนั้น เป็น Performance ของหน่วยงานต้นสังกัดที่ส่งคนเข้ามา
8. อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้การโยกย้ายสำเร็จ คือให้ Growth Council เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการโยกย้ายคนที่ต้องการร่วมโครงการ
9. เมื่อได้คนมาแล้ว ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้เขาสามารถอยู่รอดได้ เพราะการทำ Innovation 10 อย่าง อาจจะไม่สำเร็จถึง 9 อย่าง ดังนั้น การวัดประสิทธิภาพการทำงานต้องเป็นคนละแบบกับวิธีวัดปกติ
10. ข้อคิดที่สำคัญอีกข้อคือ คนที่ทำโครงการ 9 อย่างไม่สำเร็จนั้น เขาไม่ได้ล้มเหลว แต่ความสำเร็จของเขา คือเขาพิสูจน์ให้เห็นว่า 9 อย่างนั้นทำไปก็ไม่สำเร็จ
11. ดังนั้นการวัดผล ควรใช้เป็น OKR แบ่งเป็นราย Quarter และการวัดใช้เงินเดือน + สวัสดิการตาม OKR ในแต่ละ Quarter
12. และน้องๆ ที่อยู่ในโครงการนี้ ไม่จำเป็นต้องทำงานแข่งกับเพื่อน แค่โฟกัส และทำงานแข่งกับตัวเองก็พอ คิดแค่จะทำอย่างไรให้งานตัวเองสำเร็จ
13. สำหรับโครงการที่ไม่สำเร็จนั้น มีทางเลือก 3 อย่างสำหรับคนที่ร่วมโครงการ
1. ให้ทำใหม่ นับหนึ่งใหม่
2. ให้รวมทีมกับโครงการที่สำเร็จแล้ว และกำลังจะสเกล เพราะคนที่ทำโครงการที่ไม่สำเร็จ เขารู้วิธีคิด วิธีการทำงานแล้ว การมาร่วมทีมใหม่ ก็จะไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
3. ให้กลับไปเป็น Change Agent ในเรือใหญ่
14. จะเห็นว่าการทำแบบนี้ HR สำคัญมาก ต้องมีระบบ HR ที่เอื้อต่อการทำงานลักษณะนี้ และถ้าคนของ HR ไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้ ต้อง Transform HR เป็นอันดับแรก โดยวิธีการที่ได้ผลคือ พา HR ไปหน้างาน ให้เห็นของจริง นอกจากนี้คือ การหา Talent ใน HR เองซะเลย
9-July2022
โฆษณา