12 ส.ค. 2022 เวลา 10:44 • การศึกษา
กัณฑ์ที่ ๒๒๖ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ (จุลธรรมนำใจ ๑)
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
“บุญบารมีของแต่ละคนไม่เท่ากัน”
นักเรียนเคยรู้สึกท้อ และไม่อยากอ่านหนังสือต่อมั้ยคะ
"พอแค่นี้ เอาแค่นี้ละ"
เป็นเรื่องปรกติมนุษย์ค่ะ บุญและกรรมของคนเราสร้างมาไม่เท่ากัน เราแต่ละคนทำทานมาไม่เท่ากันผลหรือความสำเร็จจึงไม่เท่ากัน ไม่อย่างนั้นในโลกเราจะมีแต่คนเก่ง คนรวย คนดี
ซึ่งเป็นไปได้ยาก ในโลกมีคนได้ดี ไม่ได้ดี สำเร็จไม่สำเร็จเป็นปรกติ
หากนักเรียนรู้สึกท้อแท้ ขี้เกียจจะสู้ ลองอ่านเรื่องนี้นะคะ
เวลาที่คนหนึ่งไปทำบุญ อีกคนหนึ่งก็ไม่อยากจะไป คนหนึ่งชอบไปกินเหล้าเมายา อีกคนก็ไม่อยากจะไป เพราะบำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน สะสมบุญบารมีมาแตกต่างกัน เพียงแต่ได้มาเจอกัน แล้วเกิดมีความจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันในชั่วขณะ
เรากินข้าวแทนกันไม่ได้ เราอิ่มแทนคนอื่นไม่ได้…
เราขยันแทนเพื่อนไม่ได้ คนเก่งหลายครั้งจึงอยู่คนเดียว เป็นเรื่องธรรมดา
เช่นเดียวกับความรู้ บางคนเหมือนภาชนะชามขนาดใหญ่ แม้จะเริ่มต้นไม่มีข้าวสักเม็ด แต่เติมได้เรื่อยๆ จนเต็มจาน ปริมาณข้าวก็มากกว่า ชามที่เล็ก แม้จะมีข้าวอยู่ในนั้นบ้างแล้วตอนเริ่มต้น แต่เติมไปมากก็ล้น หล่นทิ้ง
เช่นเดียวกับครูที่พยายามให้ความรู้กับนักเรียน อยากให้เยอะๆ แต่ถ้าคนๆนั้นคือภาชนะเล็ก นั่นหมายถึง วิสัยทัศน์แคบ ใจแคบ ให้มากกว่าล้นและหล่นทิ้งเปล่า
ดังนั้นอยากได้ข้าวเยอะๆ เปรียบเหมือนอยากได้ความรู้เยอะๆ ปรับที่ใจเราก่อน ให้มีมโนธรรม รักความเพียร ปฎิบัติตนเป็นคนดี ตื่นเช้า หมั่นเพียร ใฝ่ดี อยากก้าวหน้าเพื่อเลี้ยงพ่อแม่ เก่งตรงไหนก็ทำทานช่วยอธิบายสอนเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ แต่ถ้าเพื่อนไม่รักดี ต้องปล่อย เราต้องเลือกที่จะเห็นแก่ตัว
มนุษย์เราทุกคนเห็นแก่ตัว แต่หากความเห็นแก่ตัวไม่เดือดร้อนใครก็ทำได้ เช่นเราอยากเรียน เพื่อนในกลุ่มไม่มีใครขยันเลย เราต้องปล่อยเพื่อนไป
ครูฮ้วงมีให้เพียงแค่ความปรารถนาดี ความเข้มข้นในการบำเพ็ญเพียรของครู น่าจะดึงดูดผู้ใฝ่เพียรให้เข้าหา
บางครั้งหากเราไม่ขยัน คงต้องอาศัยการเลือกเพื่อนหรือคนใกล้ชิดที่มีความเพียรเข้มข้นสูงกว่าเรา
หากเรารู้สึกไม่ไหว สู้และเพียรต่อไม่ไหว คือเราทำบุญมาแค่นี้ ก็ต้องปล่อยวาง
เมื่อผลออกมา จะหวังให้ดีเท่าคนที่เพียรแบบเข้มข้น มีจิตสำนึกสูงไม่ได้
ครูฮ้วง
โฆษณา