Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Histofun Deluxe
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ส.ค. 2022 เวลา 12:32 • ประวัติศาสตร์
• เพื่อนจ๋า อิตาลีลาก่อน!
1
ทำไมอิตาลีตัดสินใจย้ายข้างในสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ในทวีปยุโรปได้มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรทางทหารที่สำคัญอยู่สองกลุ่มด้วยกัน
1
กลุ่มแรกคือไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ที่ก่อตั้งในปี 1882 ประกอบไปด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ ไตรภาคี (Triple Entente) ที่ก่อตั้งในปี 1907 ซึ่งประกอบไปด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัสเซีย
ภายหลังเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มพันธมิตรทั้งสองนี้ ก็ได้พัฒนากลายเป็นคู่ขัดแย้งหลักในสงคราม ไตรพันธมิตรกลายเป็นฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนไตรภาคีก็กลายเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied)
แผนที่ชาติสมาชิกของไตรพันธมิตร (สีแดง) กับไตรภาคี (สีม่วง) โดยมีตัวเลขประชากรของแต่ละชาติโดยประมาณในตอนนั้น
มีสิ่งที่น่าสนใจคือ อิตาลีที่อยู่กับไตรพันธมิตรนั้น กลับไม่ได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่กลับย้ายข้างไปอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรแทน
เมื่อสงครามโลกเริ่มต้นขึ้น อิตาลีได้ประกาศสถานะความเป็นกลาง โดยอ้างเหตุผลว่า อิตาลีจะเข้าร่วมสงครามก็ต่อเมื่อ ฝ่ายมหาอำนาจกลางถูกโจมตีก่อน
แต่ความเป็นจริงแล้ว อิตาลีได้มีความขัดแย้งและไม่ค่อยถูกกับทางออสเตรีย-ฮังการี สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาททางชายแดน แม้ว่าอิตาลีจะอยู่ร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี ในกลุ่มไตรพันธมิตรก็ตาม
ทางฝ่ายสัมพันธมิตรก็รู้ว่า อิตาลีมีสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงทำการเจรจาลับกับอิตาลี เพื่อชักชวนให้อิตาลีย้ายฝั่งมาอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร
2
ฝ่ายสัมพันธมิตรให้คำสัญญากับอิตาลีว่า ถ้าหากอิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นฝ่ายชนะในสงคราม อิตาลีจะได้รับดินแดนที่ตนเองต้องการ ได้แก่ เตรนติโน (Trentino), ทีโรลใต้ (South Tyrol) และตรีเอสเต (Trieste) ซึ่งดินแดนเหล่านี้อยู่ในการครอบครองของออสเตรีย-ฮังการี แต่มีประชากรบางส่วนเป็นชาวอิตาลี
1
นอกจากนี้ยังมีภูมิภาคแดลเมเชีย (Dalmatia อยู่ในโครเอเชีย) หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลเอเดรียติกของออสเตรีย-ฮังการี เมืองท่าวโลเรอ (Vlore) ของแอลเบเนีย รวมถึงดินแดนบางส่วนของออตโตมันด้วย
ในที่สุดเดือนเมษายน 1915 อิตาลีก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรผ่านการทำสนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London) ก่อนที่ในเดือนถัดมา อิตาลีจะประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางอย่างเป็นทางการ
อิตาลีระดมกำลังทหาร 1,200,000 นาย เพื่อเข้าสู่สงคราม แต่ยุทธโธปกรณ์ที่มีอยู่เพียงพอต่อทหารแค่ 732,000 นายเท่านั้น อิตาลีไม่ต่างอะไรกับรัสเซียในตอนนั้น ที่ยังไม่พร้อมกับสงครามอย่างจริงจัง แต่ก็ตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม
อิตาลีทำสงครามปะทะกับออสเตรีย-ฮังการี ในแนวรบอิตาลี (Italian Front) ที่ทอดยาวไปตามแม่น้ำอิซอนโซ (Isonzo) ที่คั่นกลางดินแดนทั้งสองฝ่าย
การต่อสู้ในแนวรบอิตาลี
แนวรบอิตาลีกลายเป็นการรบที่ยืดเยื้อ เกิดการปะทะของทั้งสองฝ่ายถึง 12 ครั้ง แนวรบดำเนินนานหลายปี ก่อนที่จะจบลงในเดือนพฤศจิกายน 1918 ด้วยชัยชนะของอิตาลีที่ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ แม้ว่าอิตาลีจะเป็นผู้ชนะ แต่ก็ต้องสูญเสียเงินทุนจำนวนมหาศาล รวมถึงทหารที่ล้มตายกว่า 600,000 นาย
หลังสงครามจบลง อิตาลีในฐานะฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม ก็ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ (League of Nations) องค์กรรักษาสันติภาพที่จัดตั้งขึ้นหลังสงคราม
1
แต่ทว่าสิ่งที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเคยให้คำสัญญากับอิตาลีว่า จะได้ดินแดนมากมายหลังสงครามจบลง กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น อิตาลีได้ดินแดนเหล่านี้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น อิตาลีจึงมองว่าตนเองได้ไม่คุ้มเสีย สูญเสียสิ่งต่าง ๆ มากมายแต่กลับได้ประโยชน์แค่นิดเดียว
ภายในอิตาลียังเกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ภาวะเศรษฐกิจหลังสงคราม รวมถึงยังเกิดกระแสว่า กลุ่มคอมมิวนิสต์กำลังวางแผนยึดครองประเทศ ทั้งหมดทั้งมวลจึงเปิดโอกาสให้กลุ่มฝ่ายขวาจัดที่เรียกตัวเองว่า 'ฟาสซิสต์' (Fascist) นำโดยเบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) ก่อการยึดอำนาจในอิตาลีในปี 1922
กองกำลังชุดดำของมุสโสลินีเดินขบวนเข้ายึดอำนาจในกรุงโรม
*** Reference
• History. Italy in WWI.
https://bit.ly/3JRQbje
• History. Italy declares war on Austria-Hungary.
https://bit.ly/3BZPNNB
• The World War. Italy Enters World War I.
https://bit.ly/3SHeODn
#HistofunDeluxe
1
8 บันทึก
14
8
8
14
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย