14 ส.ค. 2022 เวลา 15:45
อิตาลี อีกหนึ่งจุดเสี่ยงของยูโร 🇮🇹🇪🇺🧐
หลังจากที่อิตาลีได้คนดังอย่างคุณ Draghi อดีตผู้ว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB) เจ้าของวลีเด็ด Whatever it takes มาเป็นนายกในปี 2021 เพื่อมาตบตีกับปัญหาเศรษฐกิจต่างๆที่เป็นผลพวงจากเจ้าโควิด
ซึ่งผลที่ได้ก็ถือว่าปังมาก เพราะผลโพลต่างๆ หรือคะแนนนิยมของ Draghi เองถือว่าดีมาก อิตาลีเองสามารถเจรจากับธนาคารกลางยุโรปจนตัวเองได้สัดส่วนจากกองทุนช่วยเหลือมากที่สุดในกลุ่มยูโรโซน แถมนิตยาสารการเงินชื่อดังอย่าง The Economist ยังยกย่องให้อิตาลีถือเป็น Country of the year 2021 เพราะถือว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือการฉีดวัคซีนต่างๆ
2
แต่ปังได้ไม่ทันไร ล่าสุด Draghi เองขอลาออกตอนเดือน ก.ค. โดยยื่นหนังสือลาออกต่อ ประธานาธิบดี เนื่องด้วยเกิดปัญหาขัดแย้งกันกับพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก็คือพรรค Five Star ที่ออกมาบอยคอต Draghi
แต่กระนั้นประธานาธิบดีบอกไม่รับหนังสือลาออก ให้ไปคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลใหม่อีกรอบสิว่ายังไง ตา Draghi ก็ไปคุย แต่ก็ไม่ได้นำพาใดๆ เพราะพรรคร่วมรัฐบาลก็ยิ่งเทหนักไปกันใหญ่ สุดท้าย Draghi ก็ยื่นลาออกอีกรอบ โดยรอบนี้ประธานาธิบดีรับหนังสือลาออก และให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 25 ก.ย. นี้
4
ซึ่งวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นเนี่ย มันกระทบถึงระบบเศรษฐกิจได้ เพราะล่าสุด บริษัทจัดอันดับเรตติ้งชื่อดัง Moody's ได้ปรับมุมมองต่อประเทศอิตาลีจากได้อยู่(Stable) มาเป็น บ่ได้(Negative) และที่สำคัญถ้า Moody's ปรับเรตติ้งลงอีกละก็ ตราสารหนี้ของอิตาลีจะกลายเป็น Junk bond ทันที
2
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มันเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายเพราะรัฐบาลอิตาลีกำลังจะเปลี่ยน และเอาจริงๆนางก็เปลี่ยนบ่อยมาก เอาง่ายๆ ลุงตู่อยู่รากงอกมา8ปีละ อิตาลีคือเปลี่ยนนายกมา4คนละ และกำลังจะหาคนที่5ใหม่เนี่ยแหละ
2
ไอ้ความไม่แน่นอนของรัฐบาลมันมีประเด็นตรงที่ว่า ไอ้เงินช่วยเหลือต่างๆที่ได้รับมาจาก ECB เนี่ย นางก็ได้มาบนเงื่อนไขที่ว่าต้องมีการปฏิรูปในด้านต่างๆ เพื่อให้การเติบโตของเศรษฐกิจมันโตแบบยั่งยื่น ซึ่งตอน Draghi อยู่นางก็วางไว้แล้วว่าจะต้องปฏิรูปยังไงบ้าง แต่พอจะเปลี่ยนรัฐบาลเนี่ย เรื่องการปฏิรูปต่างๆก็จะช้า แล้วคราวนี้เงินช่วยเหลือต่างๆ ในรอบถัดๆไปมันก็จะไม่ได้นะสิ
3
แล้วเศรษฐกิจของอิตาลีเองก็ไม่ได้ดีเด่อะไร มีความเปราะบาง และต้องการความช่วยเหลืออยู่เป็นทุนเดิม ก็ดูสิ การกู้ที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับ GDP ก็เป็นน้องกรีซอยู่ไม่เท่าไหร่นะ
1
อีภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงเนี่ยแหละก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของอิตาลีสูงขึ้น โดยล่าสุดอิตาลีกู้เงินผ่านตลาดตราสารหนี้ที่อายุ5ปี ดอกเบี้ยที่ 2.82% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่วิกฤตหนี้ยุโรปช่วงปี 2013 เลยแหละ
และถ้าไปดูอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของอิตาลีในตลาดเทียบกับประเทศอื่นๆ เห็นเลยว่าปกติอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่ากรีซ แต่พอมีวิกฤตการเมืองปุ้ป อัตราดอกเบี้ยก็พุ่งสูงกว่ากรีซเลยทันที นั่นก็เพราะนักลงทุนเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การเมืองจะสร้างปัญหาให้กับอิตาลีในอนาคตได้// กรีซสิคะกรีซ
แต่กระนั้นก็เหอะ ความผันผวนของดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาด ทาง ECB ก็มีออกนโยบาย TPI ที่จะเป็นเงินเพื่อเอามาซื้อพันธบัตรของประเทศที่ราคาผันผวน ซึ่งโปรแกรมนี้จะสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดพันธบัตรของประเทศในยูโรได้
แต่ๆๆๆๆ การที่จะใช้โปรแกรมตรงนี้ได้ สิ่งที่ต้องมีก่อนคือประเทศนั้นๆจะต้องดำเนินการตามกรอบของ ECB ซึ่งนี้แหละที่มันวกกลับมาที่ปัญหาด้านการเมือง ที่อาจจะทำให้อีตาลีขาขึ้นมาก่ายหน้าผากได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วต้องบอกว่าการเมืองของอิตาลีเอง ก็วกกลับมาตีเศรษฐกิจของประเทศ มากระทบปากท้องของคนในประเทศอีกอยู่ดี
และดูจากโพลล่าสุด พรรคฝ่ายขวาน่าจะได้ที่นั่งแบบเกือบ 2ใน 3 ได้ ซึ่งที่ว่าสูงมาก มากพอที่จะเปลี่ยนกฎหมายได้เลยแหละ เพราะฉะนั้น ยูโรเอง คงจะต้องเตรียมเรื่องนี้ไว้ให้ดี และถึงแม้ว่าฝ่ายขวาของอิตาลีจะดูเงียบๆไปเรื่อง Italexit แต่ถ้าในอนาคตการพลาดเป้าในการปฏิรูปของรัฐบาลใหม่ฝ่ายขวา อาจส่งผลต่อความล่าช้าเงินช่วยเหลือจาก ECB ซึ่งท้ายที่สุด ความขัดแย้งในยูโรโซน อาจจะทำให้เราได้ยิน Italexit กลับมาหลอกหลอนเราอีกครั้ง👻
//อีพรรค Five stars ตัวดี ตั้งแต่ทำ Draghi พัง โพลก็ออกมาแย่เรื่อยๆ ไม่รู้จะกู้หน้ายังไง
ว่าที่นายกหญิงคนใหม่ Meloni จากพรรคฝ่ายขวา Brothers of Italy
Ref
โฆษณา