16 ส.ค. 2022 เวลา 11:30 • ข่าวรอบโลก
การเยือนไต้หวันรอบ 2, สมุดปกขาวจีน และนัดคุยขั้นสุดท้ายที่บาหลี
สามประเด็นหลักการมารอบที่ 2 ใน 1 เดือนนี้ เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนไต้หวันและตอบโต้การซ้อมรบของจีนรวมถึงสมุดปกขาวจีน ที่ปรับปรุงใหม่ว่าด้วยประเทศไต้หวันของจีน สุดท้ายประธานาธิบดีจีนต้องขอนัดเจอไบเดนที่บาหลี ในระหว่างประชุม G20 ที่ ประเทศอินโดนิเซียหลังจากมาเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมAPEC
ผมขอแยกเป็นสามประเด็นโดยเริ่มจากสมุดปกขาวก่อน
ผมให้เพื่อนๆได้รู้จักสมุดปกขาวและรายละเอียดว่าด้วยไต้หวันกับจีน
สมุดปกขาวมีหลายหัวข้อ แต่ที่แก้ล่าสุดคือเรื่องไต้หวันนั้นเอง
สมุดปกขาว (White Paper) คืออะไร

สมุดปกขาวเป็นเอกสารเผยแพร่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ได้มีแต่จีนเท่านั้นเพื่อรายงานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสถานการณ์ทั่วไป ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของภาครัฐ เหตุที่เรียกสมุดปกขาว เพราะปกรายงานเป็นสีขาวนั่นเอง สำหรับประเภทรายงานลับหรือรายงานผลการประชุมรัฐสภา จะจัดทำเป็นปกสีน้ำเงิน เลยเดาไดัครับว่ามันชื่อสมุดปกสีน้ำเงิน (Blue Book) นั้นเอง
กลับเข้ามาเรื่องสมุดปกขาวจีนฉบับปรับปรุงล่าสุดหลังเจ้แสบเพโลซีไปเจรจาการค้าที่ไต้หวันมา และเปิดโอกาสให้จีนเริ่มกระบวนการเร่งร่วมชาติให้ได้ก่อนปี 2049 ตามเป้าหมายเดิม ผมเคยบอกแล้วว่าจีนจะได้ประโยชน์เต็มๆจากการที่สหรัฐมายุ่งกับ status cold นี้ และเราก็เห็นดังคาดคือล่าสุดยังรุกต่อเนื่องประกาศเรื่องการปลดล็อก คำมั่นสัญญา ไม่ส่งทหารไปประจำการในไต้หวัน หากยึดครองไต้หวันสำเร็จในสมุดปกขาวไปแล้ว
บอกเลยว่านี้คือการส่งสัญญาณว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเปิดหน้ารุกเข้าใกล้ไปเรื่อยๆ และเป็นไปตามมาตรการที่ประกาศลงในสมุดปกขาวว่าด้วยจุดยืนต่อไต้หวันของจีนได้รับการเผยแพร่ไม่กี่วันหลังจากที่จีนเริ่มซ้อมรบครั้งใหญ่รอบเกาะไต้หวันเพื่อตอบโต้การเยือนของเจ๊แสบเพโลซี
ไม่รอช้าไต้หวันจัดซ้อมรบบ้างเน้นการตอบโต้การโจมตีทางทะเล และประกาศว่าการซ้อมรบนี้เป็นแผนที่จีนเตรียมรุกราน
โดยจีนมองว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีนอย่างร้ายแรง ย้อนไปก่อนหน้านี้จีนเคยระบุในสมุดปกขาวเกี่ยวกับไต้หวันในปี 1993 และ 2000 ว่าจีนจะไม่ส่งกองกำลังทหารหรือนักปกครองเข้าไปประจำในไต้หวัน หากว่าจีน ‘รวมชาติ’ ได้สำเร็จ
เป็นไงละครับเงื่อนไขดังกล่าวเป็นการให้หลักประกันว่าไต้หวันจะสามารถปกครองตนเองหลังกลายเป็นเขตบริหารพิเศษของจีน เมือถอดคำนี้ไป จีนมองว่าคนจะสามารถเข้าไปปกครองและให้ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งทันทีได้ ถ้าอยากทำ!!
นอกจากนี้ในสมุดปกขาวปี 2000 ยังระบุด้วยว่า ทุกอย่างสามารถเจรจาได้ตราบใดที่ไต้หวันยอมรับว่ามีจีนเดียวและไม่คิดแยกตัวเป็นเอกราช ซึ่งข้อความดังกล่าวก็ไม่อยู่ในเอกสารฉบับล่าสุดเช่นกันทั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเคยเสนอว่าไต้หวันสามารถกลับสู่การปกครองของจีนภายใต้โมเดล ‘1 ประเทศ 2 ระบบ’ คล้ายกับสูตรที่ใช้กับฮ่องกงเมื่อตอนที่อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่การปกครองของจีนในปี 1997 ซึ่งหมายความว่าไต้หวันจะสามารถรักษาระบบการเมืองและสังคมไว้ได้บางส่วน
เข้มข้นขึ้นทันตา แต่ผมยังยืนยันว่าปีนี้ จีนไม่บุกแน่รอเลือกตั้งผู้นำใหม่ปลายปีที่รู้ๆว่าท่านสีนอนมาแน่นอน ให้ภายในมั่นคงช่วงเปลี่ยนผ่านบ้างตำแหน่งสำคัญ แต่ปีหน้าแน่นอนคือยกระดับอีกแน่ไม่แน่ต้องดูบรรยากาศและท่าทีพันธมิตร 2 ด้านด้วย ระหว่างนี้จีนจะยังไม่ปฏิบัติการใด ๆ และอยากรอดูไต้หวันว่าจะอ่อนลงหรือไม่กับการรวมชาติกับจีน รวมทั้งการจัดการของไต้หวันในการรักษาระยะห่างและความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ
ประเด็นที่สองคือเรื่องการที่ล่าสุดอเมริกาจะส่งทีมชุด 2 ไปไต้หวัน
มาแล้วแฟนจ้า ความตึงเครียดที่น้องๆอยากได้
นำโดยเฮียมากี้คณะตัวแทนรัฐสภาสหรัฐไปเยือนไต้หวันอีกเมือวันที่ 14 สค เป็นเวลา 2 วันคาดว่าจะตามมาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ด้าน semiconductor ต่อไป ตามที่เจ้เพโลซี่ประกาศจะไม่ให้จีนมาโดดเดี่ยวไต้หวัน
เมือวันที่ 11 สค 65 จีนประกาศว่า ปฏิบัติการทางการทหารต่างๆ รวมถึงการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว หลังเปิดฉากซ้อมรบด้วยกระสุนจริง 1 สัปดาห์ แต่กองทัพจีนจะยังลาดตระเวนแถบไต้หวันต่อไปตามปกติ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ รวมทั้งจับตาความเคลื่อนไหวในช่องแคบไต้หวัน เพื่อปกป้องอธิปไตยและดินแดนของชาติ ดังนั้นการมาเยือนรอบสองนี้สหรัฐจึงแสดงออกว่ามาเพื่อตอบโต้การซ้อมรบที่ดูเหมือนเป็นการปิดล็อกไต้หวันมากกว่า
ผมมองว่าสหรัฐเดินเกมต่อเนื่องเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและรักษาดุลอำนาจในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะกับสามพันธมิตรหลักคือเกาหลีใต้ญี่ปุ่นและไต้หวันว่ายังมีความสามารถในการปกป้องคุ้มครอง
ที่สำคัญยังเป็นการกระตุ้นประเทศที่วางตัวเป็นกลางให้รักษาสถานะความเป็นกลางเอาไว้เพราะถ้าเผื่อสูญเสียประเทศที่เป็นกลางไปทางจีนแล้วแล้วก็ สหรัฐจะสูญเสียภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป เพราะไม่ว่าจะเป็น ประเทศลาวเวียดนามหรือกัมพูชาก็พึ่งการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมากในขนาดที่ประเทศไทยเองสหรัฐอเมริกาก็ยังมีช่องว่างที่ไม่สามารถต่อติดกับรัฐบาลชุดปัจจุบันที่สหรัฐอเมริกาแสดงออกเสมอว่าไม่ได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติเพราะสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติ
เรื่องที่สามการนัดพบระหว่างสองผู้นำจีนและสหรัฐอเมริกา
มาจับเข่าคุยกันนะครับ แค่นี้ผมก็หนี้บานจนต้องมาเขียนบทความหาเงินละ
ซึ่งมีข่าวหรือว่าจะเป็นที่บาหลีแต่ก็ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจากทั้งสองรัฐบาลผมมองว่าถ้าจีนมาที่กรุงเทพเพื่อเข้าร่วมประชุมAPEC ในเดือนพฤศจิกานี้ทางการไทยควรจะรีบเสนอตัวเป็นสะพานกลางในการจัดการพูดคุยครั้งสำคัญครั้งนี้เพื่อลดความตึงเครียดของทั้งสองประเทศรวมถึงภูมิภาคเอเชียด้วยเพราะผมมองว่าถ้าการคุยครั้งนี้ ไม่สามารถหาจุดสมดุลย์ร่วมกันได้น่าจะมีการตอบโต้จากจีนที่รุนแรงกว่านี้อาจจะรวมไปถึงการใช้กำลังเข้ายึดหรือโจมตีบางจุดในพื้นที่อ่อนไหว
เราอาจจะได้มากกว่าที่คิด ถ้าชิงจังหวะเป็น
ขอแถมถ้าประธานาธิบดีปูตินมาด้วยและสามารถให้เกิดการคุยสามฝ่ายได้จะเป็นผลดีไม่ใช่เคเชียแต่เป็นกับโลกนี้เลยทีเดียวก็แอบหวังลึกลึกเพราะอย่างน้อยการพูดคุยต่อหน้าย่อมดีกว่าการคุยผ่านโทรศัพท์และฟังผ่านสื่อ
ไม่รีบเสร็จมิตรสหายแน่
อีกเรื่องหนึ่งถ้าประเทศไทยได้รับการมอบหมายให้เป็นสื่อกลางจะขอให้มีกรรมการเก่งๆมานั่งตรงกลาง กาวใจที่เป็นตัวแทนจากประเทศไทยนะครับ
ดูๆแล้วตอนนี้ไต้หวันจะสวนกลับ อเมริกาก็ยั่วยุแบบจะเอาให้ได้ละครับ สงสัยคิดเหมือนคนเขียนว่าปีนี้ จีนไม่เอาแน่!
โฆษณา