22 ส.ค. 2022 เวลา 01:23
How to Stop Being a Loser ตอนที่ 1: "8 ขั้นตอนดูแลตัวเอง"
สวัสดีครับ วันนี้ผมได้พบเจอบทความดีๆ มาบทความหนึ่ง ชื่อว่า “How to Stoping Being a Loser” (วิธีการเลิกเป็นคนขี้แพ้) จากเว็บไซต์ wikihow โดยความร่วมมือกันของ Erin Conion, PCC และ JD โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ตอน ทยอยแปลเอาบทความมาลงให้อาทิตย์ละตอน สามารถติดตามได้เลยครับ
ตอนที่ 1: “8 ขั้นตอนดูแลตัวเอง”
ไม่มีใครอยากเป็นคนขี้แพ้ โชคดี! ที่ไม่มีใครไม่จำเป็นต้องเป็น “คนขี้แพ้” เหมือนก้น
ไม่ว่าคุณเป็นใคร การพลิกชีวิตกลับมาสามารถทำได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก อย่าปล่อยให้ใครมาเรียกเราว่า “ขี้แพ้” ชดเชยความใจแคบของพวกนั้นด้วยการตั้งใจเป็นคนที่ดีและมีความสุขให้มากเท่าที่คุณสามารถเป็นได้ แล้วกลับมาเป็น “ผู้ชนะ”
1. ให้ความสำคัญกับตัวเอง
ถ้ามันจะมีเพียงแค่ข้อเดียวที่คุณทำให้ตัวเองดีขึ้นได้ คุณควรลองทำสิ่งนี้
คนเราเมื่อเห็นคุณค่า และเคารพต่อตัวเองมากพอ จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกได้ คนแบบนี้อาจไม่ได้ร่าเริง และมีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา แต่ก็จะค่อยๆ แสดงความมั่นใจ และความรู้คุณค่าตัวเองออกมาโดยไม่รู้ตัว
เริ่มจากการคิดถึงสิ่งดีๆ สิ่งที่มีคุณค่าเกี่ยวกับตัวคุณเอง แล้วก็คิดต่อไปเรื่อยๆ การรับรู้ว่าคุณมีความแข็งแกร่งและความฉลาดในแบบของตัวเอง จะทำให้คุณรักตัวเองได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้คุณสนใจคนที่จะมาทำร้ายคุณน้อยลง
ถ้าคุณกำลังรู้แย่ หรือกำลังมีปัญหาในการค้นหาคุณค่าของตัวเอง ให้ลองทำแบบฝึกหัดนี้
หยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น แล้วลากเส้นคั่นตรงกลางในแนวตั้ง ที่ด้านบนสุดให้เขียนคำว่า “pros” (ข้อดี) และอีกข้างหนึ่งเขียนคำว่า “cons” (ข้อเสีย) เริ่มเขียนแง่บวกและแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองลงในแต่ละฝั่ง โดยทุกครั้งที่เขียนหนึ่งอย่างในฝั่ง “cons” ให้เขียนสองอย่างในฝั่ง “pros” เขียนต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งฝั่ง “pros” เต็ม ให้หยุดและทบทวนว่าคุณได้เขียนอะไรลงไปบ้าง ตอนนี้คุณก็มีข้อดีมากกว่าข้อเสียแล้วนะ
2. สละเวลาให้กับงานอดิเรก หรือ สิ่งที่สนใจ
คนที่ใช้เวลาทำในสิ่งที่รัก จะมีเวลารักตัวเองได้ง่ายขึ้น ความสนุกและความพึงพอใจ ที่ได้จากการหมกมุ่นกับงานอดิเรก หรือ สิ่งที่สนใจ มีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความมั่นใจ นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าของตัวเองได้อีก
แต่ถ้าหากคุณยังไม่พร้อมที่จะทำแบบนั้น ก็ให้ใช้เวลาสักเล็กน้อย ในแต่ละวันหรือสัปดาห์ ในการทำสิ่งที่สนุก เป็นบวก และคุณชอบที่จะทำ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณสามารถทำมันร่วมกับผู้อื่นได้ก็จะยิ่งดี เพื่อนของคุณอาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจจาก “สนุก” กลายมาเป็น “มาทำแบบนี้กันอีกบ่อยๆ” ได้
คำแนะนำนี้ทำได้ก็ต่อเมื่อ งาน หรือ โรงเรียนของคุณ สนับสนุน แต่เราสามารถโกงได้นิดหน่อย ด้วยการหางานเสริม หรือ เพื่อนกลุ่มใหม่ในโรงเรียน ชั่วคราวได้ เพื่อที่จะใช้เวลานิดหน่อยทุกเย็นเพื่อทำในสิ่งที่คุณรัก
ลองเพิ่มระดับด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะ ซึ่งคุณสามารถพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา แม้จะกำลังดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมอยู่ เพราะจะทำให้การพัฒนาตนเองไม่เครียดได้ด้วย
แต่ถ้าคุณไม่มีงานอดิเรกเลยจริงๆ ก็ลองทำอะไรที่สร้างสรรค์ดูแทน เช่น วาดรูป
3. ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
เชื่อหรือไม่ว่า การที่คุณดูแลร่างกายของคุณสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อวิธีที่คุณมองตัวเองได้อย่างมีนัยยะสำคัญ การออกกำลังกายถูกพิสูจน์ว่าช่วยใ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินในสมอง ซึ่งช่วยให้รู้สึกดี และมีความหวัง
การสละเวลาเล็กน้อยให้กับการบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย มั่นใจ และเปี่ยมไปด้วยพลังได้ ยิ่งไปกว่านั้นการออกกำลังกายเป็นที่รู้กันดีว่าช่วยในการรักษาภาวะซึมเศร้า สรรพคุณเหล่านี้ช่วยทำให้การออกกำลังกายเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนที่ต้องการปรับอารมณ์โดยรวม
เพื่อให้เข้าใจตรงกัน คุณไม่จำเป็นต้องมีร่างกายเหมือนนักกีฬามืออาชีพก็มีความสุขได้ ถึงแม้ว่าความต้องการในการออกกำลังกายของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ศูนย์ควบคุมโรคก็ยังแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรออกกำลังกายแแบบคาดิโอ 15 - 30 นาที ต่อสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจัง) นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มวันออกกำลังกายเป็น 2 วัน ต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้นได้ เพื่อฝึกความแข็งแกร่ง
4. ตั้งใจทำงาน และ ตั้งใจเรียน
มันง่ายที่สุดแล้วที่จะรู้สึกดีเกี่ยวกับตัวเอง เมื่อคุณบรรลุเป้าหมายส่วนตัว หรือ เป้าหมายในอาชีพ ยกเว้นซะว่าคุณจะเป็นคนส่วนน้อยที่โชคดีพอที่จะสามารถใช้ชีวิตหรูหราอย่างสุขสบายโดยไม่ต้องกังวล สิ่งที่แปลกก็คือคุณจะมีการผูกมัดเกี่ยวกับอาชีพ จงประยุกต์ใช้ตัวเองเมื่อพบว่าคุณต้องติดอยู่กับความรับผิดชอบเหล่านี้ ไม่เพียงมันช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น แต่ยังหมายถึงการได้รับเกรดดีๆ หรือ การเลื่อนตำแหน่ง อีกด้วย
ซึ่งในท้ายที่สุด คุณจะรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องฆ่าตัวตายด้วยการพยายามรู้สึกพอใจส่วนตัว แต่คุณควรสร้างนิสัยของการทำงานหนัก และ การทำงานที่ยอดเยี่ยม ในทุกสิ่งที่คุณทำ ถ้าคุณตกงานกระทันหัน ก็ไม่ต้องรู้สึกผิด แค่ตั้งใจหางานที่ดีดว่าก็แทนก็พอ จำไว้ว่า “การหางานก็คืองาน”
ให้ระวังคนที่ส่งเสริมให้คุณไม่ตั้งใจเรียน หรือ ไม่ตั้งใจทำงาน เพียงเพื่อความพึงพอใจชั่วคราว แม้ว่ากิจกรรมสันทนาการเล็กๆน้อยๆ จะเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยม แต่บางคนกลับทิ้งความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องเพียงเพื่อความเร้าใจราคาถูก คนเหล่านี้เป็น “คนขี้แพ้” อย่างไม่ต้องสงสัย
5. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม พวกเราจะมีความหมายก็ต่อเมื่อได้ใช้เวลาร่วมกับผู้อื่น โดยข้อเท็จจริงการอยู่คนเดียวถือเป็นสัญญาณหลักสำคัญของภาวะซึมเศร้า ถ้าคุณเคยรู้สึกแย่และโดดเดี่ยวเมื่อไม่นานมานี้ คุณควรออกไปพบเพื่อนหรือครอบครัวที่ไม่ได้พบมานาน การทำแบบนี้สามารถช่วยทำให้ความคิดที่เป็นลบกลับมาเข้าที่เข้าทางได้ แค่ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณสนิทสักครึ่งวันอาจทำให้คุณสามารถตั้งเป้าหมายชีวิตใหม่ได้อย่างชัดเจน
แม้ว่าการใช้เวลาดีๆร่วมกับเพื่อนจะเป็นความคิดที่ดี แต่ลองเล่าความทุกข์ตอนที่คุณอยู่กับเพื่อนดู เพื่อนที่ดีมักจะยินดีที่จะให้คำปรึกษาคุณเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ แต่การระบายปัญหาตัวเองกับเพื่อนเป็นประจำอาจก็ทำให้เพื่อนคุณเหนื่อยใจได้ ลองเปลี่ยนเป็นคุยกับครอบครัว หรือ บุคคลตัวอย่างที่คุณนับถือ เช่น ครู หัวหน้า หรือ ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพ
6. วางแผนสำหรับอนาคต
คนที่มีภาระในระยะยาวเพียงเพื่อที่จะสนุกชั่วคราวในระยะสั้น นั้นมีสาเหตุมาจากการที่พวกเขาไม่มีความกังวลมากพอเกี่ยวกับปัญหาของวันพรุ่งนี้ ถ้าคุณกำลังทำงานมีรายได้อยู่ อย่าผลัดวันประกันพุ่งเรื่องการเก็บเงินสำหรับเกษียณออกไปเลย คุณจะไม่มีเสียใจแน่ๆสำหรับการเริ่มเก็บเงินตั้งแต่หนุ่มสาว แม้ว่าคุณจะสามารเก็บได้เพียงเล็กน้อยในช่วงแรกเริ่มก็ตาม
ถ้าคุณกำลังเรียนอยู่ ก็ใช้เวลาคิดสักเล็กน้อยเกี่ยวกับแผนการของคุณหลังเรียนจบ ถามตัวคุณเองว่า “ฉันจะเรียนต่อทันทีที่เรียนจบเลยดี หรือว่าจะเริ่มหางานทำดีกว่ากัน”
ถ้าคุณได้คำตอบแล้ว ก็ให้เริ่มหางานที่คุณอยากทำหรือที่เรียนที่คุณอยากเรียนต่อได้เลย มันไม่มีคำว่าเร็วเกินไปสำหรับการเริ่มวางแผนอนาคต อีกอย่างหนึ่ง คุณสามารถเปลี่ยนแปลงแผนของคุณได้ตลอดเวลา เมื่อเริ่มรู้สึกว่าบางอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คิด
7. รายล้อมตัวเองด้วยคนที่ดี
คนที่เราคบด้วยจะช่วยล่อหลอมเรา พวกเค้าสามารถช่วยเปลี่ยนเป้าหมายของเราให้สูงขึ้น แนะนำบางสิ่งใหม่ๆแก่เรา อย่างไรก็ตาม ถ้าเราใช้เวลาจำนวนมากไปกับคนที่ไม่มีเป้าหมายชีวิต ไม่มีงานอดิเรก หรือ มีความคิดลบเกี่ยวกับชีวิต มันง่ายมากเลยที่เราจะสับสนว่าสิ่งใดสำคัญ
ถ้าคุณต้องใช้เวลาร่วมกับกลุ่มคนที่น่าสงสัย ก็ไม่ต้องกังวล คุณสามารถจำกัดเวลาที่ใช้ร่วมกับคนเหล่านี้ได้ จนกระทั่งคุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามแบบที่คุณต้องการ คุณอาจจะพบว่าเมื่อคุณมีสิ่งที่คุณต้องการทำแล้ว คุณจะอยากใช้เวลาร่วมกับคนกลุ่มนี้น้อยลงไปเอง ถ้าคุณไม่แน่ใจ ให้ลองดูทัศนคติที่ไม่เป็นประโยชน์เหล่านี้ ว่ามีอยู่ในตัวของกลุ่มคนที่คุณกำลังด้วยอยู่หรอไม่
  • มีความคิดลบเกี่ยวกับตัวเอง (เช่น พูดทำนองว่า “ทำไมชั้นทำอะไรก็ไม่ดี”)
  • มีความคิดลบเกี่ยวกับคุณ (เช่น พูดทำนองว่า “อ๊า! แกอีกแล้วเหรอ”)
  • ไม่มีงานอดิเรก หรือความสนใจส่วนตัว
  • มีงานอดิเรกหรือความสนใจที่ไม่ดี เช่น งานอดิเรกเกี่ยวกับการใช้ย้า, การโดดงาน เป็นต้น
  • ใช้ชีวิตแบบเรื่อยเปื่อย (เช่น ใช้เวลาปริมาณมากในการดูแต่โทรทัศน์ เป็นต้น)
  • ไม่มีเป้าหมายหรือทิซทาง
8. อย่าไปฟังคนที่ไม่หวังดี
ชีวิตสั้นเกินไปที่จะกังวลกับคนส่วนน้อยที่คิดเกี่ยวกับคุณ ถ้าใครบางคนทำให้คุณรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองด้วยคำพูดของเค้า คุณแค่ต้องไม่ยอมรับมัน แต่บอกพวกเค้าไปเลยว่าคุณรู้สึกยังไงกับคำพูดเหล่านั้น เช่น “เฮ้! เลิกเถอะ หยุดทำตัวปัญญาอ่อนซะที” คำพูดนี้ส่วนมากจะพอที่จะให้คนพวกเค้ารับรู้ได้ว่า เราไม่สนใจคำพูดของพวกเค้าเลย
ถ้าพวกนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงท่าที ก็เลิกคบกับพวกนั้นไปเลย คุณไม่ควรต้องถูกผูกมัดกับคนที่คุณเกลียด (ยกเว้นสถานการณ์บังคับ เช่น งานแต่ง งานวันเกิด ฯลฯ)
ในขณะที่คุณไม่ต้องการคำพูดลบๆของคนอื่น คุณไม่ได้ไม่ต้องการคำแนะนำของคนอื่นทั้งหมดเลย ถ้าบางคนที่คุณรู้จักและสำคัญกับคุณ แสดงความกังวลเกี่ยวกับตัวคุณ คุณต้องฟัง มันอาจจะไม่ได้การันตีว่าพวกเค้าจะไม่พูดคำพูดแย่ๆ แต่มันอาจจะมีทางเดียวที่จะรู้ ก็คือต้องลองฟังดู
2
อ้างอิงจาก: https://www.wikihow.com/Stop-Being-a-Loser
สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยครับ ถ้ารู้สึกอย่างไรฝากกดแสดงความรู้สึก ถ้าถูกใคฝากกดแชร์ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ยังเหลืออีกสองตอน ฝากติดตามกันต่อในอาทิตย์หน้านะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา