20 ส.ค. 2022 เวลา 06:37 • ไลฟ์สไตล์
ดูจากคำถามแล้ว ตามที่ผมเข้าใจคงไม่ได้หมายถึงเฉพาะตอนทำสมาธิสินะ ผมจะอธิบายแบบชาวบ้านแล้วกัน ... เพราะเห็นหลายคอมเม้นไปทางหลักการหมดแล้ว (เผื่อคนไม่เข้าใจศัพย์ทางธรรมหรือคนเข้าใจยาก) ... เผื่อจะช่วยกันได้
จิตเป็นสิ่งๆเดียว มันไม่มีฟุ้ง ... มีแต่คิดหลายๆเรื่องทับกันไปทับกลับมา แต่มันก็คิดได้ทีละเรื่องเท่านั้น อาจจะเรื่องละแค่เสียววินาทีก็ได้ เพราะจิตมันไวมาก
... ยกตัวอย่าง เช่น นั่งอยู่กรุงเทพฯเผลอคิดถึงแฟนที่เชียงใหม่ จิตมันก็ไปอยู่เชียงใหม่ทันทีแล้ว
[ (ภาษาบ้านๆ แบบไม่ลงลึก ”จิต” มันก็คือ ”ความคิด” นั่นเอง) ... (ยังไม่ขอพูดถึง "จิต" คือ "ตัวรู้" นะ) ].
# จะทำให้จิตสงบ ขั้นต้นเลยต้องมีที่ให้จิตยึดก่อน (การทำสมาธิ ภาวนาไม่จำเป็นต้องนั่งเสมอไป) ... หาอะไรให้มันคิดหรือสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำ เช่น กำหนดภาวนา นั่ง ยืน เดิน นอน สวดมนต์ หรือไม่ก็ใช้พวกกิเลสรอบตัวนี่แหละฝึกมันเลย เช่น ทำงานบ้าน ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ หรือจะอะไรก็ตามแต่สะดวก ...
... ถ้ามันยังคิดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องที่ทำอยู่ สำหรับผมก็มีวิธีแก้แบบง่ายๆ อยู่ 3 วิธี.
... ตอนนี้เป็นตอนที่ต้องพึ่ง "สติ" มาคอยช่วยเพื่อดูจิต ดูรู้ว่าตอนนี้มันกำลังทำอะไร ไปไหน พูดอะไร (ง่ายๆก็คือเรากำลังคิดอะไรอยู่นั่นเอง) จะได้รู้ทันและจัดการ แก้ไขมัน.
# ผมฝึกลองผิดลองถูกไล่ไปตั้งแต่ วิธีที่ 1 อยู่ประมาณ 3 ปีกว่าจะออกมาพอถูๆไถ่ๆพอไปวัดไปวากับเขาได้ ... แต่ถ้าใครถนัดแบบไหนก็ฝึกแบบนั้นเลย ไม่ต้องมาไล่เลียงวิธีอะไรให้ยุ่งยาก.
วิธีที่ 1. คอยดึงความจิตให้กลับมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ถ้ายังไม่หายคิดมากก็เปลี่ยนไปหาอย่างอื่นทำ ... แต่วิธีนี้จะทำให้จิตเก็บกด เพราะคอยข่ม คอยเถียงกับความคิดตัวเองตลอด โดยเฉพาะเวลาที่คิดเรื่องไม่ดี เช่น เรื่องด่าชาวบ้าน เรื่องลามก ฯลฯ. (ไม่เป็นผลดีสำหรับการฝึกจิตขั้นต่อไปในอนาคต).
วิธีที่ 2. ก็ปล่อยให้มันคิดต่อไปเลื่อยๆ แค่คอยดู รับรู้ว่าตอนนี้มันกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ มันอยากคิดอะไรก็ให้มันคิดไป จะเรื่องดี-เลว สุข-ทุกข์ หัวเราะ-ร้องไห้ ก็ปล่อยมันคิดไป แต่ก็ยังทำสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปด้วย (เป็นการฝึกสมาธิไปในตัว) ... ให้มันคิดไปแล้วก็กลับมาโฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่เองแบบไปๆมาๆ ไม่ฝืนดึงจิตมากเกินไป ... พอมันคิดจนเหนื่อย หรือทำงานจนเหนื่อยเดี๋ยวมันก็เลิกคิดเอง.
วิธีที่ 3. ในเมื่อมันอยากคิดก็พามันคิดไปเลย ... แต่เราเป็นคนกำหนดเรื่องคิดเอง (จิตกำหนดจิต) เช่น คิดเรื่องงาน เงิน ความรัก ครอบครัว ปัญหาชีวิต ก็คิดมันไปเลย คิดเป็นเรื่องๆ คิดเรื่องเดียวให้สุดๆ เช่น ทำไมเรื่องมันถึงเป็นแบบนี้ ปัญหามันเกิดจากอะไร ถ้าทำแบบนี้ผลที่ออกมาจะเป็นแบบไหน จะมีอะไรตามมา ฯลฯ. (เป็นการฝึกพิจารณา).
... โดยปกติตามธรรมชาติแล้ว พอมันคิดจนทะลุปรุโปร่ง มันมักจะไม่ค่อยย้อนกลับมาคิดเรื่องเดิมทึ่คิดออกแล้วอีก หรืออาจจะมีกลับมาคิดบ้าง แต่ก็ไม่บ่อยเท่าหรือคิดนานเท่าตอนแรกหรอก เมื่อหาทางออกได้ เข้าใจเหตุผล เห็นวิธีแก้ ก็จะเกิด "ปัญญา" ให้นำไปใช้ได้.
@ ปัญหาเดียวกัน วิธีคิดเหมือนกัน วิธีแก้เหมือนกัน ... แต่ต่างที่วิธีนำไปปรับใช้ ปรับไปในทางโลกก็เป็นทางโลก ปรับไปในทางธรรมก็เป็นทางธรรม ... ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็แล้วแต่.
# ไหนๆมันก็คิดแล้ว ก็ใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์ไปด้วยไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ ... เป็น
"ความคิด" อบรม "สมาธิ" และ "สมาธิ” อบรม "ปัญญา” แถมยังได้ฝึก "สติ" เพิ่มขึ้นมาด้วย ... หรือจะใช้กลับกัน เป็น
"ปัญญา” อบรม "สมาธิ" หรือจะ สลับยะงไงก็ตามแต่จริตของคน ไม่มีถูกผิด
@ สิ่งสำคัญคือ ฝึกบ่อยๆ ทำบ่อยๆ รู้ตัวบ่อยๆ รู้ตอนไหนก็ฝึกตอนนั้น จนก็ติดเป็นนิสัย เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆเปลี่ยนไปเอง เพราะความคิดยังคงอยู่กับเราตลอดเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนไปที่มุมมองที่เรารับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมัน ... แล้วจะหมดปัญหาเรื่องความคิด จิตฟุ้งซ่าน คิดเยอะ คิดน้อย คิดบ่อย ไม่คิดเลยไปเองครับ
... แถมเรื่องการ "ปล่อยวาง" ... การปล่อย ก็คือ "ลืม"
การปล่อยวางที่ดีที่สุดก็คือ การใช้ปัญญา พิจารณา ให้เข้าใจ แล้วก็ "ลืม"
... อย่าไปจำอะไรเยอะ เห็นคนก็เป็นคน เห็นฟ้าก็เป็นฟ้า เห็นหมา เอ้า!! นี่มันหมานิ!
# ทุกอย่างมันก็เป็นของมันอยู่แบบนั้นมาแต่ไหนแต่ไร
... เป็นคนดูก็ดีอยู่แล้ว อย่าลงไปเล่นเองให้เหนื่อยเลย ให้คนอื่นเล่นให้ดูต่อไปนั่นแหละดีแล้ว
โฆษณา