21 ส.ค. 2022 เวลา 10:08 • การ์ตูน
ระบบขนส่งมวลชนในญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง?
ที่ญี่ปุ่นมีระบบขนส่งมวลชนหลายประเภทมาก
ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า (電車/でんしゃ/เด็นชะ)
รถไฟใต้ดิน (地下鉄/ちかてつ/จิคะเทะสึ)
หรือ รถเมล์ (バス/บะสุ)
รถเหล่านี้จะมีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่น และจะมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเราอยู่ในบริเวณเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว โอซาก้า นาโงย่า หรือซัปโปโร จึงทำให้การเดินทางสะดวกสบายยิ่งขึ้น [ถ้าหากว่าดูรถเป็นน่ะนะ😆555]
รถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทร สายGinzaLine ที่มา:https://images.app.goo.gl/kHLkmr1UkRtWaW7v5
รถไฟฟ้าJR สายYamanote Line ที่มา:https://diamond.jp/articles/-/291638
รถเมล์ในญี่ปุ่นมีพนักงานประจำรถเพียงคนเดียวจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ワンマンカ一 เป็นคำทับศัพท์อังกฤษ 'One-Man Car' เป็นคำที่ญี่ปุ่นสร้างเอง มีความหมายว่า รถที่มีพนักงานเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ทั้งขับรถและเก็บค่าโดยสาร
รถไฟใต้ดินและโมโนเรล (モノレール) ก็เช่นกัน จะมีพนักงานประจำคนเดียว นอกจากนี้ตามเมืองใหญ่ๆ จะมีเเท็กซี่วิ่งอยู่มากมายตามหน้าสถานีจะมีจุดขึ้นแท็กซี่ ทำให้สามารถใช้บริการได้อย่างสะดวก ที่ญี่ปุ่นจะไม่มีรถตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้างอย่างในไทย ส่วนตามชนบทที่มีขนส่งมวลชนน้อย ก็จะใช้รถยนต์ส่วนตัวเเทน
ในการเดินทางไกล คนญี่ปุ่นนิยมเดินทางด้วยรถไฟชิงกันเซน (新幹線/しんかんせん) หรือเครื่องบิน (ひこうき/ฮิโควคิ) ซึ่งเจ้ารถไฟชินคันเซนเนี่ยเป็นรถไฟที่มีความเร็วสูงสุดของญี่ปุ่น ซึ่งสามารถวิ่งเร็วได้สูงสุดถึง320กม./ชม. [นับว่าเร็วแบบมากๆๆ แต่ถ้าได้ลองไปขึ้นชินคันเซนจริงๆ คุณจะสัมผัสไม่ได้เลยว่ามันเร็วขนาดนี้ เพราะมันทั้งนิ่งเเละเงียบมาก]
talk🐺✍️[เขียนมาจนถึงตรงนี้ คงจะมีบางคนสงสัยอยู่บ้างเกี่ยวกับเรื่องพนักงานคนเดียวบนรถเมล์หรือรถไฟ มันเป็นไปได้หรอ?
คำตอบคือ เป็นไปได้ค่ะ อย่างเช่นรถเมล์ที่ญี่ปุ่น จะมีแค่พนักงานขับคนเดียวที่อยู่บนรถ ต้องขอบอกก่อนว่าการขึ้นรถที่ญี่ปุ่นเนี่ย ไม่ได้ขึ้นรถแล้วค่อยจ่ายเงินเหมือนที่ไทยนะคะ แต่จะต้องซื้อตั๋วแล้ว หยอดตั๋วลงเครื่องก่อนค่ะ จึงจะขึ้นได้ เพราะฉะนั้นพนักงานขับรถคนเดียวก็เพียงพอค่ะ อันที่จริง รถเมล์บางสายของญี่ปุ่นก็ไม่มีคนขับเลยนะคะ เป็นระบบขับอัตโนมัติ ซึ่งจะมีคนขับจากสถานีระยะไกลค่ะ ]
ดังนั้นจึงเข้าสู่หัวข้อ ตั๋วรถของญี่ปุ่นนั้นเอง🎊
ที่ญี่ปุ่นเราสามารถซื้อตั๋วรถไฟได้จากเครื่องขายตั๋ว (のりこし精算機/せいさんき/โนริโคชิ เซซังคิ)
เราสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อตั๋วไปที่ไหน ซื้อกี่ใบ หลังจากนั้นจึงจะสามารถนำตั๋วที่ได้ไปเดินผ่านช่องตรวจตั๋ว (改札口/かいさつぐち/ไคสัทสึงุจิ) และมุ่งหน้าสู่ชานชะลา (のりば/โนริบะ หรือ ホーム/โฮมุ) นั้นเองค่ะ เพราะฉะนั้นบนรถไฟที่ญี่ปุ่นจึงจะมีพนักงานคนเดียวได้ค่ะ
เเต่ไม่ต้องกลัวไปนะคะ เพราะที่สถานีก็จะมีพนักงานคอยประจำจุดเพื่อช่วยเหลือผู้โดยสาร เวลามีผู้โดยสารต้องการความช่วยเหลือ บางคนอาจเคยได้ยินเรื่อง เจ้าหน้าที่ผลักผู้โดยสารเข้าขบวนรถไฟ?(押しや/おしや/โอชิยะ) อันที่จริงเป็นชื่อเรียกอาชีพนึงค่ะ พวกเขามีหน้าที่ผลักและดันผู้โดยสารที่ล้นออกมา ให้เข้าไปอยู่ในขบวนรถไฟให้ได้มากที่สุดจนสามารถปิดประตูรถไฟและเดินทางตามเวลาได้ โดยสิ่งที่พวกเขาทำก็ต้องไม่ดูเป็นการใช้ความรุนแรงจนเกินไป ซึ่งเจ้าหน้าที่มักจะเป็นคุณลุงที่สวมถุงมือสีขาวยืนอยู่หน้าประตูรถไฟนั้นแหละค่ะ
เครื่องจำหน่ายตั๋วรถไฟ ที่มา:https://images.app.goo.gl/uwX3puwf1938CMh77
ช่องตรวจตั๋ว ที่มา:https://images.app.goo.gl/8gGFUkmWq3UCfMwf6
พนักงานโอชิยะ ที่มา:https://images.app.goo.gl/XRkhqCVg9ZmJw14H8
รู้หรือไม่... 🤔
ตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมักจะมีบันไดเลื่อนไว้คอยให้บริการ แต่รู้ไหมว่ามารยาทในการใช้บันไดเลื่อนของ 2 เมืองใหญ่ระหว่างโตเกียวและโอซาก้านั้นแตกต่างกัน!!
ในชั่วโมงเร่งด่วนที่ต่างคนต่างรีบ คนที่ไม่รีบจะยืนชิดด้านใดด้านหนึ่งของบันไดเลื่อนเพื่อให้คนที่กำลังรีบสามารถเดินขึ้นหรือลงได้ โดยทั่วไปของคนญี่ปุ่นในโตเกียวจะยืนชิดซ้าย ส่วนคนญี่ปุ่นในโอซาก้าจะยืนชิดขวา ถ้ามีโอกาสไปเที่ยวทั้งสองเมืองลองสังเกตดูแล้วอย่าเผลอยืนผิดด้านล่ะ
ตู้รถไฟเฉพาะสุภาพสตรี?! รถไฟใต้ดินของบริษัทโตเกียวเมโทรจะจัดขบวนรถสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ
ในชั่วโมงเร่งด่วนยามเช้าโดยจะมีสัญลักษณ์ระบุว่ารถไฟขบวนนี้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น ข้อความในป้ายอ่านว่า (女性専用車/じょせいせんようしゃ/โจะเซเซนโยชะ)
รถไฟเฉพาะผู้หญิง ที่มา:https://images.app.goo.gl/KCZDJPhM5MyAwYGo6
มารยาททั่วไปในการโดยสารรถไฟคือ ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือและงดโทรศัพท์ขณะโดยสารรถไฟ เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้โดยสารคนอื่น และผู้ป่วยบางคนที่อาจใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตัว หรือคุณผู้หญิงจะมาแต่งหน้าเติมคิ้วบนรถไฟก็ไม่ควรเช่นกัน ถือเป็นจิตสำนึกสาธารณะที่เคร่งครัดมาก ตอนท้ายของรถไฟแต่ละตู้จะมีที่นั่งสำรองสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วย และผู้สูงอายุคอยบริการ สังเกตง่ายๆจะมีป้ายแปะไว้ ถ้าคนเหล่านี้ขึ้นมาบนรถไฟจะต้องสละที่นั่งให้ นอกจากนี้ยังห้ามใช้โทรศัพท์บริเวณนี้อีกด้วย
นี้ก็เป็นบทความที่เราตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อให้คนที่มีความสนใจทางด้านวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอ่านค่ะ หรือใครที่เคยดูเเต่อนิเมะ อยากลองมาหาความรู้ก็ดี
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านและหวังว่าทุกคนจะชอบนะคะ 🐺🙏
อ้างอิง
หนังสือあきこと友ち บทที่4
หนังสือ ぺらぺらにほんご
โฆษณา