23 ส.ค. 2022 เวลา 02:00 • การศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการเกาหลีใต้ ปรับหลักสูตรการศึกษาเน้นทักษะเทคโนโลยี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลที่โตแบบก้าวกระโดด
10
กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับกระทรวงอื่นๆ ในประเทศเกาหลีใต้ เตรียมจัดฝึกอบรมเเละผลิตบุคคลากรที่มีความสามารถด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านคนภายในปี 2026
ซึ่งจะปรับหลักสูตรการศึกษา โดยเพิ่มชั่วโมง หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 2 เท่าสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและกำหนดให้โรงเรียนดำเนินการศึกษาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1
โดยชั่วโมงเรียนจากปัจจุบัน 17 ชั่วโมงเป็น 34 ชั่วโมงในโรงเรียนประถมศึกษา และ 34 ชั่วโมงเป็น 68 ชั่วโมงในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นภายในปี 2568
1
“ในโรงเรียนประถมศึกษา นักเรียนจะได้เรียนรู้การทำความคุ้นเคยกับภาษาคอมพิวเตอร์โดยรวมผ่านกิจกรรมที่เน้นการเล่นเป็นหลัก นักเรียนมัธยมต้นจะได้เรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาในชีวิตจริงด้วยการเขียนโค้ด ในขณะที่นักเรียนมัธยมปลายจะได้รับการฝึกอบรมเพื่อสร้างอัลกอริธึม” โอ ซอก-ฮวาน ผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนและประสานงานของกระทรวงกล่าว
3
กระทรวงศึกษาธิการระบุว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลในท้องถิ่น ซึ่งรวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน ซอฟต์แวร์ทั่วไป บิ๊กดาต้า เมตาเวิร์ส คลาวด์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ 5G และ 6G รวมถึงอื่นๆ จะต้องใช้แรงงานที่มีทักษะ 738,000 คน
3
ภายใน 5 ปีถัดไปความต้องการนี้อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมอื่นๆจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแพลตฟอร์มดิจิทัลเช่นกัน
1
จากจำนวน 1 ล้านคนนั้น 160,000 คน จะเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัย 710,000 คนในระดับปริญญาตรี และ 130,000 คนในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก
เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาดิจิทัล กระทรวงจะยกเลิกการจำกัดโควต้านักเรียนในแผนกต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้โรงเรียนสามารถเปิดหรือขยายแผนกได้เพิ่มขึ้น
1
เนื่องจากอุตสาหกรรมดิจิทัลต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง กระทรวงยังวางแผนที่จะขยายบัณฑิตวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ ความเป็นจริงเสมือน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบิ๊กดาต้า
นอกจากนี้ กระทรวงยังจะแนะนำหลักสูตรติวเข้มในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในปีหน้า เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น มนุษยศาสตร์และสังคมศึกษาเพื่อการศึกษาแบบคอนเวอร์เจนซ์
โฆษณา